นวัตกรรมการบริหารการศึกษา


การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก  โรงเรียนวัดดอนมะปราง

ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

---------------------------

 

แนะนำชื่อเจ้าของผลงาน

 

ชื่อ                                           นายเจน   แป้นแก้ว

วัน เดือน ปีเกิด                    9   ธันวาคม  พ.ศ. 2510

ที่อยู่                                        36 / 1  หมู่ที่ 4   ตำบลนาไม้ไผ่  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา                 ประถมศึกษา  โรงเรียนชุมชนวัดสุวรรณรังษี  จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                                มัธยมศึกษา  โรงเรียนทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                                ครุศาสตรบัณฑิต  (ค.บ.)  วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช

                                                ประกาศนียบัตรบัญฑิต  สาขาบริหารการศึกษา 

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ตำแหน่งหน้าที่                    อาจารย์  1  

                                                ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ 

ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน

                                                ผู้อำนวยการโรงเรียน

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน     ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนมะปราง

                                                อำเภอชะอวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 3

E – mail   jan-pankew @  windowslive . com

ชื่อนวัตกรรม       การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก   โรงเรียนวัดดอนมะปราง

ด้วยระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

 

สนองนโยบาย     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตระหนักว่าการที่มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษา  จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก  โดยยึดหลักการว่า  การยุบรวมโรงเรียนมิใช่การแก้ไขปัญหาสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก  เพราะชุมชนส่วนใหญ่จะต่อต่อต้านไม่ยอมให้ยุบโรงเรียนด้วยเกรงว่าลูกหลานจะต้องเดินทางไกลจากบ้าน  และการมีโรงเรียนในชุมชนได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของชุมชน  นักการเมืองท้องถิ่นจึงมักเป็นแนวร่วมของชุมชนที่ต่อต้านการยุบรวมโรงเรียน  สำนักงานคณะกรรมการการขั้นพื้นฐาน  ได้ถือเป็นนโยบายที่จะไม่ยุบ  แต่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก  ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน

                                จากการวิเคราะห์คุณภาพทางการศึกษาพบว่าโรงเรียนขนาดเล็กที่รองรับนักเรียนที่มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ยากจนมีข้อเสียเปรียบหลายประการ  จากการประเมินมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)  พบว่าโรงเรียนขนาดเล็ก  ร้อยละ  70.00  ที่ไม่ผ่านมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เมื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พบข้อมูลที่สอดคล้องกัน  กล่าวคือ  นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กทุกช่วงชั้น  ทุกพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่านักเรียนจากโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่    

 

สภาพปัญหาและความจำเป็นที่พัฒนา

                                โรงเรียนวัดดอนมะปรางเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก  จัดการเรียนการสอน  2  ระดับ  คือ ระดับการศึกษาปฐมวัย  และ ระดับการประถมศึกษา รวม  8 ห้องเรียน มีครูจำนวน 6 คน ซึ่งโรงเรียนประสบปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ดังนี้

                                1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนจัดการเรียนการสอน 8 ชั้นเรียน มีครู 6 คน  ทำให้มีครูไม่ครบชั้น

                                2. ปัญหาด้านการเรียนการสอน  ครูส่วนใหญ่จบการศึกษา วิชาเอกการประถมศึกษา จึงประสบกับปัญหาขาดครูที่มีความถนัดเฉพาะทาง

                                3. ปัญหาด้านความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน  การจัดสรรบุคลากร งบประมาณ  วัสดุ  ครุภัณฑ์  สิ่งก่อสร้าง  ใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์  โรงเรียนจึงได้รับปัจจัยสนับสนุนน้อย

                                4. ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ชุมชน  ผู้ปกครอง  มีฐานะยากจน  ไม่สามารถส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนและการเรียนของบุตรหลานได้เท่าที่ควร 

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อแก้ไขปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน

2. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูที่มีความสามารถเฉพาะทาง

3. เพื่อระดมทรัพยากรจากหน่วยงาน  องค์กร  ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดการศึกษา

4. เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  โรงเรียน  ให้ได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

แนวคิด ในการนำนวัตกรรมมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา

การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวภูมิพลอดุยเดช  ทรงประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารโดยจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

 

วิธีดำเนินการ / ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมและนำนวัตกรรมไปใช้

                                1.  ศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบถ่ายทอดสัญญาน

                                2. ศึกษาวิธีการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทาง  ที่ได้ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

                                3. กำหนดรูปแบบ  วิธีการ  และจัดทำแผนการดำเนินงานในโรงเรียน

                                4. ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานในโรงเรียน

4.1 ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง  ประชาชน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  หน่วยงาน  องค์กร ต่างๆ  ในการจัดซื้อติดตั้งจานดาวเทียมและอุปกรณ์  จำนวน  7  ชุด  

4.2 แจ้งขอเข้าร่วมโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  โรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์                 

4.3 โรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตอบรับเข้าร่วมโครงและจัดส่งเอกสารคู่มือโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ให้โรงเรียน

4.4 การมอบหมายการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้

                                            4.4.1 ช่วงชั้นที่ 1  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3   จัดครูเข้าสอน  2  คน

                                              4.4.2 ช่วงชั้นที่ 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6   จัดครูเข้าสอน  3  คน

4.5 ครูผู้สอนศึกษาเอกสารคู่มือ แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย  เตรียมวัสดุอุปกรณ์ตามแผนการจัดการเรียนรู้

4.6 จัดให้นักเรียนเข้าเรียนตามตารางเรียนที่โรงเรียนวังไกลกังวล   กำหนด  โดยมีครูที่มอบหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาคอยดูแลช่วยเหลือนักเรียน 

4.7 ครูผู้สอน  สอนเสริมให้นักเรียน  ก่อนเลิกเรียนวันละ 1 ชั่วโมง ทุกวัน

4.8 หน่วยงาน  องค์กรภายนอก  สนับสนุน  บุคลากรที่มีความถนัดเฉพาะทาง  สอนเสริม  และร่วมจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน

                                5. การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล

5.1 ประเมินการดำเนินงานแต่ละภาคเรียน

5.2 ประเมินการดำเนินงานสิ้นปีการศึกษา

                                6. นำผลการประเมินมาพัฒนา  ปรับปรุง  ในภาคเรียน  ปีการศึกษา  ถัดไป

 

งบประมาณ

                                1. เงินอุดหนุนการศึกษา   จำนวน  50,000  บาท                       

2. ระดมทรัพยากรจากผู้ปกครอง  ประชาชน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  หน่วยงาน  องค์กร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง   จำนวน   70,000  บาท

 

ผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้

1. โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา   ถึงแม้ครูไม่ครบชั้นเรียน

2. โรงเรียนจัดให้นักเรียนได้ศึกษาจากระบบทางไกลผ่านดาวเทียม  ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูที่มีความสามารถเฉพาะทาง

3. หน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดการศึกษา โดยการสนับสนุนงบประมาณ  บุคลากรที่มีความถนัดเฉพาะทาง  

4. โรงเรียนได้รับรองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จากการประเมินมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)  รอบสอง

 

ผลกระทบ ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

1. ครูได้ศึกษาเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน  ในรายวิชาที่ไม่ถนัด

2. เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี กับผู้สอนโรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

 

การเผยแพร่ นำไปใช้ประโยชน์

1. เผยแพร่   http://gotoknow.org/blog/donmaprang

2. ได้นำไปเผยแพร่กับบุคลากรโรงเรียนขนาดเล็ก   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต  3     ตามโครงการการอบรมพัฒนาบุคลากรโรงเรียนขนาดเล็ก   วันที่    13   พฤษภาคม  2552    ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

 

ความรู้สึก ความคิดเห็นและข้อคิดของผู้พัฒนานวัตกรรม

การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   นักเรียนต้องร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนเหมือนกับนักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   มิใช่นั่งดูอย่างเดียว 

หมายเลขบันทึก: 268848เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท