วิธีการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน


"วิถีการดูแลสุขภาพของตัวเอง และคนใกล้ตัวในปัจจุบันนี้ กำลังมุ่งเข้าสู่หนทางที่ตีบตันเข้าไปทุกที"
      เศรษฐกิจที่ตกต่ำ อัตราการเลิกจ้างงานสูง ทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน
นายจ้างไม่สามารถหางานมาทำเพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างไม่รู้จะไปหางานทำที่ไหน เพื่อให้เพียงพอต่อรายจ่ายในครอบครัว ความเครียดย่อมเกิดขึ้น ความเจ็บป่วยก็ตามมาแน่นอน แล้วจะเอาเงินที่ไหนเพียงพอจ่ายค่ารักษา เพราะเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน มีพอแค่การกินอยู่ในครอบครัวเท่านั้น บางคนที่มีบัตรทอง 30 บาท หรือบัตรประกันสังคม ซึ่งก็มีคนไข้เข้ารับการรักษามากจนผู้ถือบัตรไม่กล้าป่วย ถ้าหากคนป่วยเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ไม่มีบัตรรักษา ก็จะตกเป็นภาระแก่ลูกหลาน คนใกล้ตัว ที่จะต้องหาเงินมารักษา เนื่องจากระบบการรักษาของโรงพยาบาล คนไข้ต้องเผชิญกับการรักษาที่ซับซ้อน, ค่าอุปกรณ์, เครื่องมือรักษา, ยาเคมี ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง หลังจากเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้นแก้ไขให้ดีขึ้น เศรษฐกิจก็ต้องฟื้น การแพทย์ การรักษาก็ต้องทันสมัยขึ้น ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาก็ต้องเพิ่มขึ้น แต่รายได้ที่ได้รับนั้น อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เพียงพอแค่การกินอยู่ในครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้มีเพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษาโรค ที่เหนือความคาดหมาย เช่น โรคหัวใจ, เนื้องอก, มะเร็ง, อัมพาต แค่โรคที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ก็เป็นเงินที่ต้องเจียดจากเงินออม ครอบครัวไหนไม่มีเงินออม ก็ต้องกู้หนี้ยืมสินมาจากผู้อื่น เราจะเห็นว่าวิถีการดูแลสุขภาพของตัวเอง และคนใกล้ตัวในปัจจุบันนี้ กำลังมุ่งเข้าสู่หนทางที่ตีบตันเข้าไปทุกที ถ้าเราปล่อยให้ร่างกายป่วย เราจะไม่มีเงินออมเหลือไว้ใช้ยามเกษียณ หรือยามที่เราไม่สามารถทำงานได้อีกเลย เราจึงต้องทำให้ตัวเอง และบุคคลในครอบครัวไม่ป่วยเลย นอกจากนี้ เพื่อความปลอดภัยก็ยังต้องทำให้คนรู้จัก คนรอบข้าง ไม่ป่วยด้วย เพราะหากคนใกล้ตัวป่วย เขาก็อาจจะต้องหยิบยืมเงินเราไปรักษาอาการป่วยอยู่ดี แล้วเราจะทำให้ไม่ป่วยได้อย่างไร เป็นไปได้จริงหรือ ? บทความนี้เป็น บทนำของหนังสือ "ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น"
ที่มา : www.saranae.com
คำสำคัญ (Tags): #kmanw3
หมายเลขบันทึก: 268806เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท