ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

พี่ ๆทำไมคางผมบวม เจ็บด้วยใช่คางทูมไหม


         มีโรคไหนที่ทีม SRRT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ไม่ได้สอบสวนโรค จะมีบ้างไหม เวลารายงานการระบาดทีไร จะมองหน้ากันกับนักวิชาการสาธารณสุข ที่รับผิดชอบเป็นผู้ช่วยรายงานและสอบสวนโรค

         เหตุเกิดครั้งนี้กับน้องนักศึกษาแพทย์ปีที่ 1 และปี 2 เป็นไปได้ว่าโรคนี้ยังมี เพราะเด็ก ๆได้รับวัคซีนป้องกันโรคคางทูมกันแล้ว ซึ่งในปัจจุบันจะเป็นวัคซีนชนิดรวม เรียกว่า MMR  ประกอบด้วยวัคซีน ป้องกันโรคหัด Measles  คางทูมMump หัดเยอรมัน Rublla

        จะเริ่มให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-15 เดือน หลังจากนั้นจะกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-7 ปี แต่ถ้าใครยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน MMR เข็มที่สองกระตุ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับผิดชอบอนามัยโรงเรียนจะฉีดวัคซีนให้อีกครั้งเป็นนโยบายและข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เด็กไทยจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วนและตามกำหนดเวลา

        เริ่มสงสัยเกิดได้อย่างไร ใครเป็นผู้ป่วยรายแรก แล้วแพร่เชื้อต่อให้เพื่อนอย่างไร ขบวนการค้นหา สอบสวนโรคเริ่มต้นขึ้น Index case ได้แต่ชื่อเล่นอยู่ชั้นปี 2 เป็นคางทูม กำลังมีอาการคางบวมตุ๋ย แล้วน้องไม่ทราบ มาร่วมรับน้องใหม่ เข้าห้องเชียร์ ดูแลน้องนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระบบการรับน้อง พี่จะดูแลน้องเป็นสายรหัส เข้าห้องเชียร์ แจกข้าว น้ำ มีกิจกรรมร่วมกัน น้องจึงติดเชื้อป่วยตามมาอีกหลายราย ขบวนการให้คำแนะนำ การแจกผ้าปิดปากปิดจมูก การสอนวิธีใส่ จึงเริ่มตามมา รวมทั้งรณรงค์ฉีดวัคซีนกระตุ้นMMR ครั้งที่สอง ในรายที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน

              
                                           คางทูม (Mumps/ Epidemic parotitis)
                 คางทูม เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหู (parotid glands) พบมากในเด็กอายุ 6-10 ปี มักไม่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี อาจพบระบาดได้เป็นครั้งคราว
สาเหตุ
                 เกิดจากเชื้อคางทูม ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus) เชื้อจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสถูกมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ (เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม ฯลฯ) ที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด (1)  ระยะฟักตัว 14-20 วัน
อาการ
                 มักมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลียและปวดในรูหูหรือหลังหู ขณะเคี้ยวหรือกลืนนำมาก่อน 1-3 วัน ต่อมาพบบริเวณข้างหูหรือขากรรไกร มีอาการปวด บวม และกดเจ็บ ผิวหนังบริเวณนั้นอาจมีลักษณะแดง ร้อน และตึง ผู้ป่วยมักรู้สึกปวดร้าวที่หูขณะกลืน เคี้ยว หรืออ้าปาก บางรายอาจมีอาการบวมที่ใต้คางร่วมด้วย  2 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบของต่อมน้ำลาย 2 ข้าง โดยห่างกันประมาณ 4-5 วัน บางรายอาจมีอาการขากรรไกรบวม โดยไม่มีอาการอื่นนำมาก่อน หรือมีเพียงไข้ โดยขากรรไกรไม่บวมก็ได้
สิ่งตรวจพบ
              ไข้ 38-40o ซ. บางรายอาจไม่มีไข้ บริเวณขากรรไกรบวม ข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
 รูเปิดของท่อน้ำลายในกระพุ้งแก้ม (บริเวณตรงกับฟันกรามซี่ที่ 2) อาจมีอาการบวมเล็กน้อย
อาการแทรกซ้อน
                 ส่วนมากจะหายได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ อัณฑะอักเสบ (orchiitis) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาจากแอนติบอดี (ที่ถุกกระตุ้นด้วยเชื้อคางทูม )จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น อัณฑะปวดและบวม (จะปวดมากใน 1-2 วันแรก ) มักพบหลังเป็นคางทูม 7-10 วัน แต่อาจพบก่อนหรือพร้อม ๆ กับคางทูมก็ได้  ส่วนใหญ่เป็นเพียงข้างเดียวและน้อยรายที่จะกลายเป็นหมันมักพบหลังวัยแตกเนื้อหนุ่ม ( อาจพบได้ประมาณร้อยละ 25 )ในเด็กอาจพบได้บ้าง  แต่น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก  อาจพบรังไข่อักเสบ ( oophoritis ) ซึ่งจะมีอาการไข้และปวดท้องน้อย  มักพบในวันแตกเนื้อสาวอาจพบเนื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุดมักจะมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง  ส่วนสมองอักเสบ  อาจพบได้บ้าง  แต่น้อยมาก  ถ้าพบอาจมีอาการรุนแรงถึงตายได้นอกจากนี้  ยังอาจพบตับอ่อนอักเสบ  หูชั้นในอักเสบ  ประสาทหูอักเสบ  ( อาจทำให้หูตึงหูหนวกได้ ) ไตอักเสบ  ต่อมไทรอยด์อักเสบ  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ  แต่ล้วนเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก
การรักษา
1. ให้การักษาตามอาการเช่น  ให้นอนพัก  ดื่มน้ำมาก ๆ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง  ให้ยาลดไข้แก้ปวด  ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณที่เป็นคางทูม  ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ
2. ถ้ามีอัณฑะอักเสบแทรก  ให้ประคบด้วยน้ำแข็ง ให้ยาลดไข้แก้ปวด   และให้เพร็ดนิโซโลน  ผู้ใหญ่ให้กินครั้งแรก 12 เม็ด (เด็กให้ขนาด 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน )  ต่อไปให้วันละครั้งโดยค่อย ๆ ลดขนาดลงทีละน้อยจนเหลื่อวันละ 5-10 มิลลิกรัมภายในประมาณ 5-7 วัน  ควรให้ยาลดกรดกินควบด้วยเพื่อป้องกันโรคกระเพาะ
3. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง  หรือซึมไม่ค่อยรู้สึกตัวให้ส่งโรงพยาบาล  อาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม  และให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้เกิดจากไวรัส  ถือเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์  โดยไม่ต้องฉีดยาหรือให้ยาจำเพาะแต่อย่างใด  การที่ชาวบ้านนิยมเขียน "เสือ" ด้วยตัวหนังสือจีนที่แก้มทั้ง 2 ข้าง  หรือใช้ปูนป้ายแล้วหายได้นั้นก็เพราะเหตุนี้
2. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหากจนกว่าคางจะยุบบวม
3. ควรเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน  โดยเฉพาะในผู้ใหญ่  หากสงสัยควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
4. เมื่อเป็นแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก
5. อาการคางบวม  อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ได้ควรซักถามอาการและตรวจร่างกายให้ถี่ถ้วน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจดูภายในปากและลำคอ

การป้องกัน
 โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน มักทำรวมในเข็มเดียวกันกับวัคซีนป้องกันหัดและหัดเยอรมันที่มีชื่อว่าเอ็มเอ็มอาร์ (MMR) มักจะฉีดเมื่อเด็กอายุได้ 9-15 เดือน

 

                                       

คำสำคัญ (Tags): #คางทูม
หมายเลขบันทึก: 268353เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • มาสวัสดียามเย็นครับ พี่ประกาย สุดสวย
  • สุขกายสบายใจดีนะครับ
  • อิอิ
  • ค่าชมด้วยครับ
  • อือม์
  • พอดีมีเด็กนักเรียนเป็นคางทูมพอดีครับ
  • เลยบอกเด็กไปว่า อย่าไปใช้ปากเป่าอะไรนัก เดี๋ยวมันจะแตกนะ
  • ได้ผลครับ
  • เด็กกลัวจนร้องไห้เลย เหอๆ
  • สุขกายสบายใจดีนะครับ

อ้าวจองไม่ทันซะแล้วค่ะ

เปลี่ยนรูปแทนตัวแล้วเหรอค่ะ พี่ประกาย

แวะมาทักทาย..แถมไม่ได้กลับมือเปล่า ได้ความรู้ประดับสมองด้วยค่ะ..

ขอบคุณนะคะ.พี่ประกาย ^^

สวัสดีค่ะ

* ตอนเด็กๆ ครุพรรณา เคยเป็นคางทูม

* เตี่ยเขียนเสือที่แก้มให้ ๑ ตัว ๒ วันก็หาย

* เดี๋ยวนี้ยังนิยมเขียนกันอยู่หรือเปล่านะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ประกาย

พอลล่าเคยเป็นแล้วค่ะ ตอนเด็กๆ ปวดมากๆ เลยค่ะ

สวัสดีคะน้องเอ๊ะ

พี่ประกายยังงงอยู่เลยคะ เห็นแต่เด็กเป็นนี่นักศึกษาปี 1 ปี 2

สอนเด้กให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกและล้างมือด้วยนะคะ

สวัสดีคะคุณน้องP 2. berger0123 

 เปลี่ยนรูปแล้วคะ คุณเอกถ่ายภาพให้คะ พี่ว่าสวยดี

แต่ชอบรูปเดิมมากกว่าคะสีสดกว่า  

 

P 4. คุณครูแอ๊ว

สวัสดีคะครูแอ๊ว

 ตอนเขียนบันทึกพี่ประกายยังอยู่ที่ทำงาน คุยกับน้องนักศึกษาแพทย์แล้วรีบบันทึก รายละเอียดยังไม่ได้มาก

กลับมาถึงบ้าน หลังจากไปรับน้องแตม สองทุ่มกว่า อาบน้ำแล้วนอนเล่นดูข่าว หลับไปเลยแบบไม่ได้แก้ไขบันทึก ตื่นมาแก้ไขบันทึกอีกที

มาที่บันทึกพี่ประกายต้องนำความรู้ไปบอกเด็กนักเรียนต่อนะคะ

P 5. นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)
 

สวัสดีคะครูพรรณา

เดี่ยวนี้ไม่เห็นเขียนเสือคะ คนเขียนเป็นและมีคาถาคงจะเริ่มหมดไปนะคะ ที่หมู่บ้านจะมีอยู่หนึ่งคนคะ ยังเขียนเป็นอยู่คะ สงสัยนะคะว่าเขียนแล้ว 2 วันยุบไป น้องนักศึกษาหลายวันแล้วยังไม่ยุบเลยคะ

P 6. ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
สวัสดีคะน้องพอลล่า

พี่ประกายไม่เคยเป็นคะ น้องพอลล่าเป็นคางทูมกี่วันหายคะ ตรงกับทฤษฏีไหม พี่ก็อยากทราบนะคะ เจอกันนะคะ ได้หนังสือเชิญเข้าร่วมSHA แล้วคะ จะวางแผนไปทั้งตอนเช้าและช่วงบ่ายให้ได้คะ

P 7. umi
สวัสดีคะอาจารย์ยูมิ

อาจารย์สบายดีนะคะหลานได้ฉีดวัคซีน MMRกระตุ้นครั้งที่สองหรือยังคะ

สวัสดีค่ะ  มีความสุขนะคะ

ห่วงใย

สวัสดีค่ะพี่ประกาย

  • จำได้ค่ะว่าตอนเด็กๆ เพื่อนมันเคยเป็นคางทูม...ไอ้เราก็กลัวใหญ่เลย...กลัวจะติดจากเพื่อน(กลัวไม่สวยตรงคาง 555)
  • แต่บันทึกนี้เข้าใจละเอียดเลยค่ะพี่
  • อ้า...พี่ประกายคุ้นๆ พี่พิชัย  เทพี..ใช่มั๊ยคะพี่
  • พี่พิชัย  เป็นญาติๆ น้องเองคะ  เจอพี่พิชัยจะเล่าเรื่องเวอร์ไพร๊สนี้ให้เค้าฟังค่ะ
  • ว่าแต่พี่ประกายคุ้นๆ ได้ย่างไรคะ  รู้จักกันด้วยมั๊ยคะ
  • แต่ยังไงซะ...หนูก็ขอให้พี่ดูแลสุขภาพด้วยะคะ
  • งานออกจะเยอะ...ไหนจะหน้าที่ประจำ  ไหนจะเป็นวิทยากรอีก อิอิอิ
  • ดูแลกายใจให้เปี่ยมสุขนะคะพี่สาวคนเก่ง

P 14. KRUPOM
สวัสดีคะครูป้อม

ขอบคุณนะคะ ดูแลสุขภาพนะคะ ระวังไข้หวัดคะ

ฝนตกที่ขอนแก่นคะ ตอนนี้

P 15. Lioness_ann
สวัสดีคะครูแอน

ครูแอนอ่านแล้วเข้าใจเรื่องโรคคางทูม เด็ก ๆจะไม่เป็นคางทูมกันแล้วคะ ฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่จะมีวัยรุ่นนะคะที่บางคนจะยังไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้น MMR ครั้งที่ 2

สวัสดีค่ะ  กรุงเทพท้องฟ้าแจ่มใส  แต่โรงเรียนไม่ปิด  ไม่มีนักเรียนเสียสละซักครเลย  จะได้ปิดโรงเรียน

มีความสุขนะคะ

P 18. KRUPOM
 สวัสดีคะครูป้อม

น้องสาวพี่อยากปิดโรงเรียน ให้นักเรียนเสียสละ คุณน้องน่าจะเสียสละเองเน๊าะ ข่าวดังเลยคะ คุณครูติดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่

พี่ไม่เห็นด้วยกับการปิดโรงเรียนคะ คนป่วยน่าจะหยุดพักอยู่บ้าน ป้องกันไม่ให้คนอื่นติด ถ้าปิดเรียนจะมีนักเรียนบางส่วนจะไม่อยู่เฉพาะที่บ้าน แต่จะไปเที่ยวห้าง ร้านเกมส์ โดอกาสเสี่ยง ควบคุมยาก นักเรียนมาเรียนยังได้ตรวจสอบ อาการไข้ สังเกตอาการได้ง่ายกว่าอยู๋ที่บ้าน ถ้ามีนักเรียนป่วย จะได้ตรวจรักษา ให้คำแนะนำได้ง่ายกว่าคะ 

สวัสดีค่ะ

*แวะมาเยี่ยมค่ะ

* น้องเป็นหลายวันคางยังไม่ยุบ..ซั่งซี้มันต้องทุบ...อิอิล้อเล่นค่ะ

* สงสัยว่าน้องไม่ค่อยพักผ่อน  อาจเป็นเพราะอาการปวด และวิตกังวลหลายเรื่อง

* สมัยเราเด็กๆ พอหมอเขียนเสือให้แล้วก็เป่าพ้วง เป่าพ้วง  นี่แหละสร้างความมั่นใจได้ชะงัดนักล่ะ มันแปลว่าหายแน่นอน  เราก็สบายใจไร้กังวล  นอนหลับพักผ่อนเต็มที่  โรคก็หายเร็ววัน

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีคะครูพรรณา

นักศึกษายังมีป่วยอยู่เลยคะ

โรคนี้ระยะฟักตัวนานไปหน่อยนะคะ

และอาการเริ่มแรกเหมือนกับไข้หวัด

บางทีเด็กจะแยกไม่ออกจน คางบวมโตนะคะ

ตอนนี้สบายดีคะ หลับเร็วมากเหนื่อยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท