๑๑๓.จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของระบบการศึกษาไทย


จุดมุ่งหมายและจุดมุ่งเน้น กับระบบการศึกษาไทย มีสภาพเช่นไรในปัจจุบัน

                                                                               

 

                                     

            

                  จุดมุ่งหมายของการศึกษาไทย  โดยทั่วไปก็คือการสร้างพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ  เป็นการศึกษาในภาพรวม  แต่ถ้าจะมุ่งเน้นเฉพาะกระบวนการที่จะทำให้เกิดความรู้ในวิทยาการ   จุดมุ่งเน้นของการศึกษาจะประกอบไปด้วยตัวแปรต่างๆ  5 ข้อ ดังต่อไปนี้

          
 1 การศึกษาคือกระบวนการให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (data or information) ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่อยู่ในสังคมจำเป็นต้องมีการเข้าถึง หรือทราบข่าวสารข้อมูลเบื้องต้น  มิฉะนั้นจะเป็นการล้มเหลวของการศึกษาทันที  ระบบการศึกษาใด  หากคิดว่าการให้ข้อมูลข่
าวสารกับผู้เรียน  คือ  การให้ความรู้นั้น  ถือเป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่งค่ะ ซ้ำร้ายหากการประเมินผลมุ่งเน้นการทดสอบความสามารถในการท่องจำ คนเก่งคือคนที่ท่องตำราเก่ง การมีความคิดเป็นของตัวเองจึงเปล่าประโยชน์  เพราะมันจะขจัดความคิดริเริ่มเป็นการทำลายพัฒนาการของบุคคลด้วยระบบการศึกษาอย่างน่าเสียดาย   

            2  การศึกษามุ่งเน้นให้คนคิดเป็น คือมีความสามารถในการวิเคราะห์ ซึ่งต้องเริ่มจากการสร้างจิตวิเคราะห์ (analytical mind) คือ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ตั้งคำถามและใช้หลักตรรกในการหาคำตอบเบื้องต้น เป็นกุญแจที่นำไปสู่ความรู้ โดยการนำข้อมูลมาสัมพันธ์กันด้วยเหตุและผล นี่แหละค่ะเรียกว่า  " การเกิดความรู้ "             
            
            3  การรู้จักวิเคราะห์  และการมีข้อมู
ลข่าวสารเบื้องต้น ต้องเสริมด้วยการหาข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อทำให้การวิเคราะห์น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นั่นคือ ได้ข้อมูลใหม่และข้อมูลเพิ่มเติมมายืนยันการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อการวางแผนแก้ปัญหา  ประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของนโยบายการแก้ปัญหา  นั่นคือ การวิจัย  บวกกับความสามารถในการวิเคราะห์ คือ  การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในวงวิชาการ                                                                  

             4  การสร้างทฤษฎี การเก็บข้อมูลจากการวิจัย การวิเคราะห์ที่มีผลออกมาซ้ำกันหลายๆครั้ง ย่อมนำไปสู่ความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง เป็นการสร้างทฤษฎีจากการวิจัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างความรู้ใหม่  ผู้เรียนคนใดมีจิตวิเคราะห์ มีการวิจัยหาข้อมูลใหม่ๆ ย่อมสร้างทฤษฎีได้ทั้งสิ้น  ไม่จำเป็นต้องอ้างปรมาจารย์ของต่างประเทศเสมอไป                         

              5  ส่วนสำคัญของการวิเคราะห์ วิจัย นำไปสู่การสร้างทฤษฎี  เพื่อนำไปประยุกต์ ซึ่งการประยุกต์  เป็นการนำเอาความรู้มาเป็นฐานของการวางนโยบายเพื่อแก้ปัญหา  การวางนโยบายโดยไร้ข้อมูล ไม่มีความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว  ย่อมเกิดความสำเร็จน้อย การแก้ปัญหาในสมัยใหม่  ต้องมีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง      

              สรุปได้ว่า  ระบบการศึกษาจึงต้องคลอบคลุมทั้ง 5 มิติ มิใช่มุ่งเน้นเฉพาะการท่องจำ จนคิดไม่เป็น ส่วนของคุณธรรมประจำใจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ  เป็นส่วนสำคัญของการสร้างมนุษย์  ที่ต้องอยู่บนร่างกายที่สมบูรณ์ สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยได้นั่นเอง.                                                               

 

                   **********************************                                                

 

 ที่มา : ลิขิต ธีรเวคิน.(2548).คนไทยในอุดมคติ. กรุงเทพฯ : แม็ค,       

  

หมายเลขบันทึก: 268003เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีตอนดึกๆครับ คุณครูแป๋ม

  • ผมแวะมาเยี่ยมมาทักทาย มาทำความรู้จักเป็นเพื่อนคนนอนดึกครับ
  • มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องราวของการศึกษาไทยเรา
  • เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากครับ
  • ครูแป๋มนอนดึกจังเลย
  • อย่าลืมรักษาสุขภาพนะครับ
  • คืนนี้นอนหลับฝันดีนะครับ

      อาจารยฺลิขิต เป็นนักประวัติศาสตร์ครับ  ท่านมีบทความดีๆที่น่าสนใจ  โดยเฉพาะการวิเคราะห์เรื่องการศึกษา  ท่านวิเคราะห์ออกมาได้ตรงประเด็น  ตรงจุด

      ขอบคุณครับที่นำมาฝาก

  • สวัสดีค่ะ คุณครู ท.ณเมืองกาฬ
  • ดีใจและขอบคุณที่ผู้สอนจะใช้ที่นี่
  • เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • แป๋มนอนหลับแล้วค่ะตั้งแต่หัวค่ำ
  • เวลาจากนี้ก็จะทำงานวิจัยต่อ
  • ขอบคุณที่เป็นห่วงค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ท่านรองฯวิชชา
  • มีนักการศึกษาหลายท่านที่แป๋มชื่นชอบ
  • และได้ติดตามการวิเคราะห์สภาพปัญหา
  • จากมุมมองของทุกท่านมาผนวกกัน
  • แล้วหลอมรวมกันเป็นองค์ความรู้ใหม่
  • จากพื้นฐานข้อมูลจากกูรูทุกท่าน
  • ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณท่านรองฯวิชชาที่เมตตาแวะมาเสมอๆค่ะ.

สวัสดีครับ คุณครูแป๋ม

ไม่ได้ร่วมแลกเปลียนเรียนรู้กันซะนานเลยนะครับ

ช่วงหลังผมก็ชักจะซาๆ ไปเหมือนกัน ไม่ค่อยมีเวลาเลยครับ วันๆ หมดไปกับงานที่เริ่มยุ่ง และครอบครัว พร้อมเด็กน้อยสองคนที่ต้องดูแล

.....

ขอเข้าประเด็นดีกว่าครับ

ชั่งใจอยู่นานว่าจะเขียนดีไหม

กลัวเหมือนกัน (ตอนนี้ใจยังเต้นตึกตักอยู่เลยครับ)

.....

ก่อนอื่นต้องขออนุญาต และขออภัยในความเห็นที่แสดงออกไป ผมมิได้มีเจตนาจะก้าวล่วงในผู้ใด ทั้งในตัวท่าน อ.ลิขิต รวมทั้งคุณครูแป๋ม  เพียงแต่ผมอยากสะท้อนมุมมองของผมบ้างนะครับ

ผมคิดว่า จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษา ควรเน้นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม  ทั้งในด้านร่างกาย สมอง และจิตวิญญาณ 

ผมคิดว่า หากเราพัฒนาทั้งสามองค์ประกอบได้อย่างสมดุล ไม่เน้นหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เราน่าจะได้คนที่มีคุณภาพในแบบที่ต่างออกไปจากสังคมปัจจุบันครับ

เราน่าจะได้ทั้งคนเก่ง ดี มีความสุข และสุขภาพแข็งแรง เป็นคนที่มีคุณภาพของประเทศ และของโลกได้ครับ

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณซวง
  • ค่ะรับทราบ การหายไปเป็นพักๆ
  • ของมนุษย์งานอย่างเราๆท่านๆ
  • อีกมุมมองที่คุณสะท้อนออกมา
  • มีคุณค่ายิ่งนัก เฉกเช่นคนไทยทุกคน
  • ที่จะมาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ในมุมมองของท่าน ยอมรับและเคารพ
  • ในความคิดกันและกัน หลังจากนั้น
  • นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์หาปัญหา
  • ที่แท้จริง วางแผนแก้ปัญหา ประเมินผล
  • นำไปประยุกต์ใช้ เป็นข้อมูลประเด็นอื่นๆ
  • ด้วยใจที่มุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศ
  • โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมดวงใจ
  • ของเราทุกคน...ขอบคุณค่ะ.

สวัสดีครับ...

การศึกษา ต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักเครื่องมือในการแสวงหาความรู้...และรู้จักคิดด้วยระบบต่างๆ  ทั้งสังเคราะห์ (ใช้) ...ตีความ ..หรืออื่นๆ

แต่ทั้งปวงนั้น  ต้องบูชาหัวใจครูทั้งแผ่นดินนั่นแหละครับ ที่ยังคงต้องแบกรับกระบวนการเช่นนี้อยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง...

ระลึกถึงและเป็นกำลังใจให้นะครับ

  • ค่ะ คุณแผ่นดิน
  • ขอบคุณที่แนะว่าต้องสอนเด็กให้รู้จัก
  • เครื่องมือในการแสวงหาความรู้...
  • อืม..ต่อยอดจากคุณคือ...
  • ต้องสอนให้เขานำมาใช้ประโยชน์ให้เป็นด้วย..
  • ขอบคุณและระลึกถึงเช่นกันค่ะ.

ต้องแก้ที่ครูนั่นแหละ ไม่ต้องโทษใคร ครูก็ไม่ต้องโทษกัน เอาเวลาคิดแก้ปีญหาดีกว่า

  • สวัสดีค่ะ คุณคนไทย
  • ขอบคุณที่เมนท์ถึงสาเหตุ
  • ในมุมมองของคุณ
  • ครูเราเองก็มีส่วนมากค่ะ.
  • แล้วแวะมาอีกนะคะ.

       

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท