KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๘๐. การประเมินแนว KM



          สคส. กำลัง “ออกแบบผลิตภัณฑ์” เอาไว้ให้บริการ    ผมจึงเอามาคิดบ้าง ในฐานะกองเชียร์    เมื่อคิดออกก็เอามาแบ่งปัน    เพื่อให้มีคนเอาไปพัฒนาต่อ   แล้วหวังว่าท่านเหล่านั้นจะแบ่งปันกลับมา    คล้ายสังคม open source

 
•   การประเมินทั่วไป เน้นประเมินเพื่อให้คะแนน  ให้เกรด ๑ – ๕  หรือให้ผลตัดสิน ได้-ตก
•   แต่การประเมินแนว KM แตกต่างโดยสิ้นเชิง    คือเน้น “การทำเหมือง”    เพื่อหาเพชร  เอาไปเจียระไน
•   เพชรในที่นี้ คือความรู้ และคนมีความรู้ ที่เมื่อส่งเสริมอย่างมีระบบ (เจียระไน) ก็จะขับเคลื่อนสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ขององค์กร    และขับเคื่อนสู่ LO – Learning Organization
•   การประเมินแนว KM จึงเป็นการประเมินหาคนเก่ง คนมีความรู้ และตัวความรู้ สำหรับเอาไปเป็นต้นทุนในอนาคต   เพื่อขยายคุณค่า (และมูลค่า) จากต้นทุนนั้น    ไปสู่ความสำเร็จขององค์กร 
•   การประเมินโดยทั่วไป เน้นประเมินตามแผนที่กำหนดตายตัว   เป็นการประเมินอดีต
•   การประเมินแนว KM เน้นประเมินเพื่อหาเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จในอนาคต   เป็นการประเมินเพื่ออนาคต เน้นอนาคต 
•   การประเมินโดยทั่วไป เน้นประเมินผล
•   การประเมินแนว KM เน้นประเมินเพื่อหาโอกาส   หาโอกาสทำฝันให้เป็นจริง
•   การประเมินแนว KM จึงเริ่มจากฝัน   หรือเอาความฝัน (Shared Vision) เป็นจุดเริ่มต้น   เอามาประเมินหาเครื่องมือสู่ฝัน

วิจารณ์ พานิช
๒๙ พ.ค.๕๒

                

หมายเลขบันทึก: 267656เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2009 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • กราบขอบพระคุณครับ
  • ผู้บริหารหลายท่าน เข้าใจว่า กระประเมิน คือ ตัวเลข หรือ KPI ครับ

ครับผม ที่ ไปรษณีย์ไทยก็เช่นกัน

ผู้บริหาร เข้าใจว่า การประเมินคือตัวเลข หรือ KPI เช่นกัน

ซึ่งตัวผู้บริหารยังไม่ทำความเข้าใจ KM

แต่ต้องการให้องค์กรประสบความสำเร็จในการเป็น LO

จักรกฤษณ์ สำราญใจ

ผมว่าเราคงต้องพิจารณาก่อนว่า เวลาใครพูดคำว่า "การประเมิน" เขาหมายถึงอะไร แค่ไหน ถ้าเราเอาคำเขามาใช้แล้วให้ความหมายที่แตกต่างหรือกว้างขวางออกไป หรือตีความหมายใหม่ จะไปพูดทำนองว่าที่ทำกันอยู่มันไม่ค่อยถูก ไม่ค่อยใช่ มันก็ยังไงอยู่ แน่นอน เรื่อง "การประเมิน" เราอาจจะเห็นที่ทำๆ กันอยู่มักจะเน้นตัวเลข ตัดสินกันอย่างผิวเผิน ก็เป็นเรื่องของผู้ใช้ที่ตีความหมายของการประเมินเพียงแค่นั้น ถ้าเราจะตีความ "การประเมิน" ในแนวใหม่คงต้องดูด้วยว่า มันไปไกลจนเป็นคนละเรื่องกับที่เขาใช้คำนี้ในกันอยู่หรือไม่ ถ้ามันไปไกลจนเป็นคนละเรี่องก็น่าจะหาคำใหม่มาใช้เสียเลยจะดีกว่า แล้วแสดงทัศนะไปในทางที่ว่าของเดิมไม่ค่อยดีเท่าไร

องค์กรขนาดใหญ่ มีระบบการประเมิณผลที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงเท่าที่ควร ทั้งนี้เนื่องจากมีบุคลากรจำนวนไม่กี่คนที่จะมีโอกาสได้พูดคุยแบบตัวต่อตัวกับผู้ประเมิน บุคลากรจึงไม่มีโอกาสชี้แจงความเป็นจริงหรือปัญหาต่างๆ รวมทั้งเรื่องผลงานจากมุมมองของตัวเอง เคยได้อ่านบทความในกรุงเทพธุรกิจ พูดถึง HR ในมุมมองของ แจ๊ค เวลช์ (CEO GE)ว่าวิชาการบริหาร HR จากเดิมที่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องผลตอบแทน และแบบฟอร์มต่างๆ กับเรื่องการจัดงานปิกนิกและปาร์ตี้ (benefits/forms/picnics & parties)แต่ละเลยงานสำคัญคือ กระบวนการพัฒนาบุคลากร/กระบวนการสร้างภาวะผู้นำ และการสร้างความมั่นใจว่าองค์กรมีมาตรฐานที่ดี และยุติธรรมในการจัดจ้างคนและให้คนออก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท