โครงการพัฒนาบุคคลากรสายสนับสนุนมืออาชีพ "การพัฒนาการสื่อสารด้วยเอ็นเนียแกรม" ตอนที่ 1


โครงการพัฒนาบุคคลากรสายสนับสนุนมืออาชีพ "การพัฒนาการสื่อสารด้วยเอ็นเนียแกรม" ตอนที่ 1

              เมื่อวันที่ 8 - 9 มิถุนายน 2552 กระผมได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาบุคคลากรสายสนับสนุนมืออาชีพ "การพัฒนาการสื่อสารด้วยเอ็นเนียแกรม" ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารและบริการคณะสหเวชศาสตร์ ผมขอชมจากใจเป็นโครงการที่ดีมาก และขอขอบคุณพี่บอย ที่ทำให้ผมได้ค้นพบตัวเอง ว่าผมเป็นเอ็นเนียแกรมสไตล์เบอร์อะไร..โดยเริ่มจากกิจกรรมแรกคือ รู้จักสไตล์เอ็นเนียแกรมของผู้เข้าร่วม..โดยวิทยากรได้ให้ทุกคนทำแบบทดสอบ ตอนแรกผมคิดไม่ออก..ว่าจะเขียนอย่างไร..ก็ใช้เวลาพอสมควร..โดยเป็นแบบทดสอบดังนี้

Warm-Up Activity

               กิจกรรมต่อไปนี้ช่วยให้ท่านได้ทบทวนตัวเองเพื่อจะได้ค้นหาสไตล์ฯ ของคุณได้ง่ายขึ้น ขอให้พยายามตั้งใจทำเพื่อคุณจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการสัมมนาครั้งนี้ ไม่มีสิ่งใดถูกหรือผิด ดี/ไม่ดี กรุณาเขียนให้เสร็จแล้วส่งก่อนเวลาเบรกในช่วงเช้า

1. ฉันคือ ? ลองคิดถึงวิถีของคุณที่ผ่านมาจนกลายมาเป็นตัวตนที่แท้จริงของคุณแล้วลองอุปมาว่า เหมือนกับ อะไร และเขียนบรรยายความเป็นตัวตนดังกล่าวออกมาว่า เหมือนอย่างไร เหมือนตรงไหน (เป็นอะไรก็ได้ สิ่งมีชีสวิต นามธรรม รูปธรรม ฯลฯ) 10 บรรทัด (ผมใช้เวลานานมากหรืออาจยังไม่นิ่ง..อาจจะยังไม่มีสมาธิ..ผมยอมรับว่าผมคิดไม่ออกว่าผมเหมือนไร..แต่ผมเขียนบบรรยายก่อนแล้ว..มานึกว่าผมเหมือนอะไร..)

ตัวตนของฉันคือ.......เต่า......

                 ผมชอบไปเรื่อยๆ ไปไหนไปกันไม่ชอบอยู่ที่เดิม ชอบช่วยเหลือสังคม ไม่ชอบเห็นคนเจ็บปวด (ซึ่งผมได้เขียนแค่นี้...ยังไม่ถึงบรรทัดเลยครับ..)

 

2.  เหรียญสองด้าน ทุกคนมีเรื่องที่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง และเรื่องที่ไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเองไม่มากก็น้อย ลงทบทวนดูตัวคุณว่า มีคุณสมบัติหรือลักษณะนิสัย ฯลฯ ที่ชอบและไม่ชอบอย่างไร

  เรื่องดี" ที่คุณชอบเกี่ยวกับตัวเอง                     เรื่องที่คุณไม่ค่อยชอบเกี่ยวกับตัวเอง

     1. ชอบช่วยเหลือสังคม                                            1. เป็นคนใจร้อน

     2. เป็นคนรักเพื่อน                                                   2. ขี้โมโห

                                                                               3.  หงุดหงิดง่าย

ค้นหาสไตล์เอ็นเนียแกรมของคุณ (รอฟังคำอธบาย)

     สไตล์ฯ ที่ตรงกับฉันค่อนข้างมากเรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ถ้าประมาณได้ ให้น้ำหนักสำหรับแต่ละสไตล์ด้วย (รวมทั้งหมด = 100%) (หลังจากนั้นวิทยากรให้เดินดูใบเบอร์ 1 - 9 โดยติดไว้รอบร้องประชุมว่าเราเหมือนเบอร์ไหน โดยเรียงจากมากไปน้อย โดยผมได้ค้นพบดังนี้)

      อันดับหนึ่ง...8....,70%          อันดับสอง...7....,20%           อันดับหนึ่ง...2....,10

      วันนี้ไว้แค่นี้ก่อนครับ..พรุ่งนี้ผมจะมาพูดเรื่อง แรงจูงใจ จุดแข็ง จุดอ่อนของคนสไตล์เอ็นเนียแกรมของผมต่อครับ.....

คำสำคัญ (Tags): #งานธุรการ
หมายเลขบันทึก: 267076เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เล่าได้เยี่ยมยอดมากค่ะ....  อยากอ่านต่อ.....  อยากอ่านต่อ..... 

อยากให้ทุกท่านที่เข้าร่วมอบรม เขียน Blog เล่าอย่างคุณชรินทร์บ้างจัง !!

confirm เลย ค่ะว่าคุณชรินทร์ ชอบช่วยเหลือสังคม เพราะมีรถกู้ภัยขับประจำด้วย 

ใครอยู่ใกล้คุณชรินทร์ จะรู้สึกอบอุ่นใจ  จะรู้สึกปลอดภัย หายห่วง

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

ผมเองทำงานด้าน HR อยู่

กำลังสนใจ สำหรับประเมินพัฒนาตัวเอง และทีมงานอยู่ครับ

ขอติดตามผลงานนะครับ

* เสียดายที่ไม่มีทุนทรัพย์ สำหรับการไปอบรมฯ

หากมีแนวทางการวิเคราะห์ตัวเองได้ คงต้องขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ความเห็นของผมจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ ขอให้ท่านคณบดีช่วยตัดสินด้วย

*ผมเป็นคนนอก ม.อ.เมื่อสมัยหนุ่มเคยมีประสบการด้านพัฒนาบุคลากรมามากในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคล(Personnel Management) ต่อมาเปลี่ยนเป็น HR เพราะ Personnel ได้เปลี่ยนเป็นตัว Resource โดยมี Leadership เป็นตัวขับเคลื่อน(Drive)ระบบ 3 ระบบ(Resources) ได้แก่(1)ระบบยุทธศาสตร์(Strategy Process) (2)ระบบปฏิบัติงาน(Operation Process)และ(3)ระบบบริหารคน(HR.หรือ People Process)อำนาจ Personnel Management เปลี่ยนไป..กลับกลายเป็นเพียง "ระบบResource"อันหนึ่งเท่านั้นที่ถูกบริหารโดย Leadership

มีการประกาศเปลี่ยนแปลงการบริหารอย่างใหญ่โตเมื่อปี 1978 ด้วยฝีมือ ISO โดยการสนับสนุนของ UN ที่เรียกว่า"โลกาภิวัตน์"การบริหาร(Globalizarion)เปลี่ยนจากการบริหาร"คน"มาบริหาร"ระบบ" แม้การบริหารคนยังมีอยู่ก็ต้องทำเป็นระบบ(Documented Procedures)โดยนักออกแบบระบบ Process Owner.

"ระบบ"ที่ว่านี้ คือ วิธีปฏิบัติของการบริหารที่ชัดเจน(Set of Management Practices) ดังความหมายของการบริหารสมัยใหม่ TQM มีดังนี้ "The heart of TQM is a set of management practices designed to continuous improve the performance of organization processes to profitably satisfy customers.

การบริหารทุกเรื่องต้องมี"ระบบ"เพื่อเป็นฐานในการปรับปรุงให้สามารถแข่งกับชาวบ้าน

ขอแก้ไขปี ค.ศ. การเปลี่ยแปลงการบริหารครั้งยิ่งใหญ่ของโลกที่เปลี่ยนจากการบริหารคนมาบริหารระบบเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1987 มิใช่ 1978

องค์กรใหญ่ๆในกรุงเทพฯจำนวนหนึ่งที่มองเห็นคุณค่าของการพัฒนาบุคลากรและดำเนินการพัฒนาอย่างได้ผลจริงจังและคุ้มค่า โดยพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีการ Identify เพื่อปรับปรุงระบบ

แต่องค์กรส่วนมากเกือบ 100% ยังเห็นว่าการพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องการสูญเสียเงินค่าใช้จ่ายหรือเป็นแฟชั่น

ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น เพราะการฝีกอบรมส่วนมากขาด"ระบบ"รองรับ ผลที่ได้รับคือการไปแลกเปลี่ยนความรู้กันในหรือนอกสถานที่..ผลที่ได้รับคือการส่งเสริมการท่องเที่ยวเท่านั้น

การพัฒนาบุคลากรจะทำได้ผลดีต้องเรื่มที่"การออกแบบระบบ"(System design)เพื่อใช้เป็นรากฐานในการพัฒนาปรับปรุงระบบ(Process Improvement)อันเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องและได้ผลคุ้มค่า

ปัญหาของประเทศไทยคือปัญหาการออกแบบระบบ..เพราะองค์กรส่วนมากยังออกแบบระบบกันไม่เป็น มีนักบริหารน้อยมากที่รู้จักการใช้ประโยชน์ของ Process Owner

การพัฒนาตำแหน่ง Process Owner จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาบุคลากรในทุกสาขาอาชีพ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก

การบริหารสมัยใหม่ของโลกที่เรียกว่าการบริหารคุณภาพ Quality Management หรือ TQM สร้างความสับสนที่ยากต่อความเข้าใจในสังคมไทย แต่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ได้ เพราะมันหมายถึงการอยู่รอดของชาติ เนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่สามารถปฏิรูปการบริหารให้มีคุณภาพ

รัฐบาลสหรัฐออกกฏหมาย Public Law 100-107 ปี 1987 เพื่อสนับสนุนให้การบริหารภาคเอกชน(รวมทั้งภาครัฐบาล)ใช้การบริหารคุณภาพ โดยเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยน(Change)หรือปฏิรูปการบริหารโดยบันทึกแนบกฏหมาย 100-107 ว่า "คุณภาพหมายถึงความอยู่รอด"..Quality means survival

การบริหารคุณภาพไม่ยากหากจับประเด็นได้และปล่อยวางไม่ยึดติดกับการบริหารคน HR. เพระการบริหารคุณภาพเป็นการบริหาร"ระบบ" การบริหารคนก็ยังมีความสำคัญ..แต่ก็ต้องสร้างวิธีบริหารคนให้เป็น"ระบบ"

"ระบบ"ในที่นี้คือระบบวิธีปฏิบัติ(Set of management practices)เรียกชื่อแตกต่างกันไปแต่ละสังคม แต่มีความหมายเป็นระบบวิธีปฏิบัติหมือนกัน เช่น สายการเกษตรเรียกว่า G.A.P(Good Agricultural Practices) ISO. เรียก QMS.ภาคเอกชนสหรัฐและ องค์กรการเงินระหว่างประเทศ IMF.เรียกว่า Good Governance รัฐบาลสหรัฐโดยกฏหมาย 100-107 ดังกล่าวเรียกระบบนี้ว่า "มาตรฐานการปฏิบัติงานดีเลิศ"

Criteria for Performance Excellence"

การปฏิรูปการบริหารของรัฐบาลไทยให้มีการบริหารระบบต้องใช้เวลาอีกนานหลายสิบปี เพราะยังสับสนกันอยู่ เช่น รัฐบาลยังแปล Good Governance ว่า ธรรมาภิบาล สำนักนายกฯและ ก.พ.ร.ก้าวไกลกว่า แปลคำนี้ว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...หมายความว่ายังไม่รู้กันว่า "ระบบ"หรือ Set of management practices คืออะไร

ชาติไทยน่าเป็นห่วงเรื่อความอยู่รอด เพราะทั้งเขมรและเวียตนามมีความรู้เรื่อง Quality Management เป็นอย่างดี

ทำไมผมจึงให้ความสนใจ ม.อ.

ที่สนใจเพราะมีจุดเด่นเหมือน Super-man คือ กระโดดอันดับโลกได้หลายร้อยอันดับเมื่อ 2 ปีก่อนในการจัดอันดับของ Webometrics Ranking

อย่างไรก็ตาม ม.ที่สามารถทะลุต่ำกว่าอันดับ 100 (Par ของผม) เป็นมหาวิทยาลัยแรกไทยน่าจะได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการจัดอันดับของ THE-QS ซึ่งขณะนี้จุฬาฯเฉียดพาร์แล้ว โดยอยู่ในอันดับที่ 116 เชื่อว่าต้นปีหน้า(2553)น่าจะเทิร์นโปรได้ เพราะอันดับจะต่ำกว่าพาร์ 100

ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะจุฬาฯพัฒนาตนเองได้ถูกทางโดยเน้นที่พัฒนาการบริหาร เพราะได้เริ่มใช้มาตรฐาน Education Critetia for Performance Excellence เมื่อต้นปี 2552 THE-QS ให้คะแนนการบริหารสูงมาก เช่น Peer Review Score(40%)และ Recruiter Review เป็นต้น

สาเหตุที่อันดับโลกของจุฬาฯในอดีตอยู่ในอันดับไม่ดีมาตลอด(อันดับ 161, 223 และ 166)สาเหตุเป็นเพราะยึดติดอยู่กับมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาแบบไทย ไทย(Thailand Educational Criteria)ที่บกพร่องเรื่องระบบ (Set of management practices) เนื่องจากการศึกษาของประเทศไทยยังไม่รู้จักนักออกแบบระบบ Process Owner ที่เป็นผู้ออกแบบระบบ(System design)ที่ได้มาตรฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท