มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

รัฐ-เอกชน พร้อม ต่อยอดโครงการ หนึ่งห้องเรียน หนึ่งคอมพิวเตอร์


 

                นางสาวเกศรา อมรวุฒิวร ผู้จัดการหน่วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเยาวชน สถาบันคีนันแห่งเอเชีย กล่าวว่า จากการสัมมนาสรุปโครงการ หนึ่งห้องเรียนหนึ่งคอมพิวเตอร์หรือ OCC ในวันที่ 2 พ.ค. ซึ่งเป็นโครงการต่อยอดมาจากโครงการพัฒนาการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ SEQI นั้น นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เห็นได้จากอาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและพัฒนากิจกรรม การเรียนการสอน เพื่อให้เด็กรู้จักเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดขั้นสูง รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์และให้การสนับสนุนการดำเนิน โครงการเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นการจุดประกายให้สถานศึกษาอื่นๆ เกิดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ อีกด้วย

 

                ผู้ จัดการ หน่วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อเยาวชน สถาบันคีนันฯ กล่าวต่อว่า โครงการดังกล่าวเป็นลักษณะการทดลองวิจัย โดยมีอาจารย์เข้าร่วมทั้งสิ้น 12 คน จาก 11 โรงเรียน มีหลักการสำคัญคือ การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยทักษะการคิดขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยทางสถาบันฯ ได้จัดอบรมให้แก่อาจารย์ รวมถึงมอบคุรุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ทางโรงเรียน และติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

                นายพอล วิเด็ล กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันคีนันฯ กล่าวว่า นับว่าโครงการประสบผลสัมฤทธิ์ตามแนวคิดของสถาบันคีนันฯ อย่างยิ่ง กล่าวคือ คีนันมีเป้าหมายให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาประเทศจะเป็นไปโดยไม่มีการพัฒนาคนไม่ได้ และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเด็ก เพราะเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง แต่ต้องเน้นให้เด็กรู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่ามากกว่า

 

                กรรมการ ผู้อำนวยการ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย กล่าวต่อว่า ความคาดหวังต่อโครงการนี้ คือการขยายผลต่อยอด และอยากให้ทางกระทรวงศึกษาธิการผลักดัน OCC อย่าง เป็นทางการ นอกจากนี้ ภาครัฐควรหันมาให้ความสนใจกับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลให้มากขึ้น เพราะโรงเรียนใหญ่สามารถดูแลตัวเองได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ การขาดแคลนครูผู้สอน อุปกรณ์ด้านไอที และยังมีความขัดข้องในเรื่องของอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่ได้คุณภาพและมีราคา สูงอีกด้วย

 

                สำหรับ การสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปนั้น เนื่องจากสถาบันคีนันเป็นองค์การสาธารณกุศลได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่างๆ แต่ในขณะนี้องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งอเมริกา United States Agency for International Development หรือ USAID มองว่าประเทศไทยสามารถพัฒนาตัวเองได้แล้ว จึงไม่ได้ให้เงินช่วยเหลืออีก ดังนั้น โครงการ OCC จึงมีทางเลือก 2 ประการ คือ ประการแรก ถ้าหากกระทรวงฯ เห็นว่ามีประโยชน์ก็คงให้การสนับสนุนต่อไป และ ประการที่สองคือ ภาคเอกชนในประเทศไทยที่สนใจด้านการพัฒนาการศึกษาด้วย IT เข้ามาส่งเสริมให้มีการขยายผลต่อเนื่องออกไป ทั้งนี้ อาจเป็นความช่วยเหลือพร้อมกันทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ นายพอล กล่าว

 

                ด้าน ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า โครงการ OCC นับ เป็นโครงการที่มีประโยชน์ในการเปิดโลกการเรียนการสอนอย่างไม่มีขีดจำกัดและ สพฐ. จะพิจารณาในเรื่องการสนับสนุนด้านการพัฒนาความรู้ของครูผู้สอน รวมถึงความจำเป็นในด้านซอฟท์แวร์ต่างๆ ต่อไป ทั้งนี้ การจัดสรรคอมพิวเตอร์ในระยะแรกให้เพียงพอแก่ทุกโรงเรียนคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าใช้หลักคิดแบบ OCC ความเป็นไปได้ที่จะกระจายคุรุภัณฑ์ดังกล่าวก็ง่ายขึ้น และเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งจะต้องช่วยกันหาแนวทางต่อไปว่า ต้องใช้คอมพิวเตอร์เท่าใดจึงจะถือเป็นจำนวนขั้นต่ำที่พอเพียง

 

                นาย สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการศึกษา บริษัท ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากที่ไมโครซอฟต์ได้ร่วมมือกับคีนันฯ มาโดยตลอด จึงมีความสนใจในการต่อยอดโครงการ OCC และ อาจประสานกับธนาคารกรุงเทพมาช่วยสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนประมาณ 300 เครื่อง ส่วนบริษัทจะช่วยขยายผลด้านการอบรมครูผู้สอน เนื่องจากมีโครงการอบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับครูอยู่แล้ว โดยขณะนี้มีครูที่ได้รับการอบรมจากไมโครซอฟต์ราว 20,000 คนทั่วประเทศ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมให้ครูมีแนวคิดก่อนว่าจะจัดการคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างไร โดยให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม เพราะถ้ามีแล้วตั้งทิ้งไว้ก็ไม่เกิดประโยชน์

  

 ที่มา

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

ที่มา :: http://www.thailandictalliance.net/
</span> <hr width="100%" size="2" /> แล้วโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (โอเอส) โอเพนซอร์ส ลีนุกซ์ ทะเล จะไปอยู่ที่ไหน..

หมายเลขบันทึก: 26702เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2014 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เลาะรั้วโรงเรียน “ธิงค์ ดอทคอม” เด็กบ้านนาเรียนผ่านไอที ตอนที่ 1
http://www.bcoms.net/article/detail.asp?id=216
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท