มองลาว...ผ่านไทย


วินาทีต่อจากนี้ไปก็๕อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน...เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยและลาว

มองลาว...ผ่านไทย[1]

           

            เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 นั้น เป็นอีกวันหนึ่งในช่วงปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย แต่สำหรับคณะมดงานของเราแล้ว (มันช่างเหนื่อยอะไรอย่างนี้...555) ก็เพราะว่าไม่ได้หยุดแบบคนอื่นเค้าสิครับ เพราะอะไรพวกเราถึงไม่หยุด ???

            ตอบได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยนะครับ ก็เพราะว่า เราต้องการความเชี่ยวชาญในการทำงาน และเพิ่มพูนประสบการณ์ความรู้ในวิชาชีพ ซึ่งการตัดสินใจในหลายๆครั้งของผมมันช่างผิดพลาดไปแบบไม่น่าให้อภัย แต่ก็เป็นที่น่ายินดีสำหรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของผมที่ว่า การตัดสินใจของผมในครั้งนี้มันไม่ผิดพลาดเลยครับ อะไรเล่า???

            ผมหมายถึงการที่เราหลุดเข้ามาในประชาคมทางวิชาการแห่งนี้นี่เอง ตั้งแต่เรียนปี 1 มาผมก็คิดว่าแต่ว่าเรียนเพื่อจะให้จบ ๆ ไป สอบผู้ช่วยผู้พิพากษาตามใจพ่อแม่พี่ป้าน้าอา เพราะว่าสายนิติศาสตร์นี่ เป็นมาตั้งแต่ต้นตระกูลรุ่นพ่อแม่ผมนั่นเอง ลุง 2 คนเป็นอัยการ คนหนึ่งเป็นรองอัยการสูงสุด พี่และป้าก็เป็นผู้พิพากษากันไปแล้ว และมีลูกพี่ลูกน้อง เจริญรอยตามเข้านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์มาตั้ง 5 คน เนี่ยก็โดนกดดันเสมอมา

แต่แล้วก็มีอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าทำไมท่านถึงเจ้ากี้เจ้าการกับผมนัก และก็ไม่รู้ว่าทำไมผมถึงได้เชื่อมั่นและศรัทธาในตัวท่านมากนัก อาจเป็นเพราะวิธีคิดและการทำงานมั้ง!!!!

ซึ่งท่านก็ได้เปลี่ยนวิธีคิดและการทำงาน ทำให้ผมคิดว่าสักวันหนึ่งอยากจะยืนอยู่บนเส้นทางสายวิชาการที่มีเพื่อสังคม (หรูไฮมาก...การช่วยสังคมนี่เป็นสุขอิ่มเอมใจนะครับ...แต่บางครั้งก็อาจจะไม่ค่อยอิ่มท้องเท่าไร เพราะเราช่วยฟรี ๆ อ่าครับ)

            อาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร ท่านี้เองครับที่คอยช่วยอบรมบ่มนิสัย (จนเหนื่อย แต่คิดเอาเองว่าคงจะไม่หน่าย ...เอาสิครับอาจารย์ถ้าไม่หมดแรงพูด ผมก็ไม่ฟหมดแรงฟัง) และสอนวิธีการทำงาน และมีลูกทีมที่คอยกระหนาบผมก็คือพี่ไหม พี่มิว พี่ด๋าว พี่รัตน์ ซึ่งวันนี้มันทำให้ผมรู้ว่าการที่เราเข้ามาในที่แห่งนี้ ผมภูมิใจ และสง่างามมาก (แม้ว่าค่อนข้างจะดื้อสักหน่อย แต่ทำไมทุกคนไม่ท้อกับผมเลยนะ...)

            เอาหล่ะครับผมพล่ามมามากแล้ว ที่จะบอกก็คือว่า ผมต้องทำงานให้เป็นระบบภายในเดือนนี้ เพื่อที่จะอยู่รอดในระบบนี้ต่อไป และเพื่อต่อไปจะได้ร่วมงานกับอาจารย์อีก (ถ้าท่านไม่เบื่อผมนะ)

            ตกเย็นวันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา พวกเรานัดประชุมงานไปดูงานที่สปป.ลาว โรงการนี้มีการเลื่อน และอาจจะล้มเหลวในช่วงแรก แต่ยังไม่เขียนนะครับเอาไว้ทีหลัง พอก้าวเข้าห้องประชุมก็รู้สึกว่า...แปลกๆแฮะ!!!!  แปลกอะไรนะ????

            ผมพบชายวัยกลางคนท่านหนึ่ง (สงสัยว่าคงจะเป็นบริษัททัวร์หล่ะสิ...ว่าแต่ว่า ลุงคนนี้ไม่วัยรุ่นแบบทัวร์อื่นเลย ...ง่าๆๆ) จากนั้นก็งง ๆ และนั่งลง อาจารย์ก็แนะนำว่า นี่คือ พี่สถาพร ลิ้มมณี (โอ้วจ๊อดดดดดดดดดดดด.... อยากให้พี่รู้ไว้นะครับ ว่าผมเคยได้ยินชื่อพี่ และกิตติศัพท์พี่ จนทำให้อยากเจอมากๆเลยนะครับ จริงๆนะเนี่ย ผมรอที่จะพบพี่ให้ได้สักวันหนึ่ง) ส่วนเค้าเป็นใครนั้น เอาง่ายๆก่อนก็คือว่า เค้าเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์วิญญูชน และเดือนตุลา มากไปกว่านั้น ผู้นี้ก็คือผู้ที่มีบทบาทผลักดันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งสำคัญด้วย พี่เค้ามีความหลังเรื่องการเมืองที่ต้องต่อสู้เพื่อประชาธิไตยเป็นอันมาก ผมจำไม่ได้ว่า 14 หรือ 16 ตุลานี่แหล่ะครับ

            แล้วเค้าเป็นอะไรกับลาว...............????

            เมื่อได้พูดคุยกับพี่สถาพรแล้วทำให้รู้สึกว่า ท่านผู้นี้มีประวัติที่น่าสนใจ และมีความผูกพันกับ สปป.ลาวมาก จนพูดไดว่า ชีวิตนี้มีเพื่อลาว ทำไม ??? พี่เค้ารักประเทศลาวมาก สนใจและใส่ใจกับพี่น้องชาวลาว เพราะว่าตอนนั้น ท่านเข้าป่าครับ ไปอยู่ที่ลาว ผมคิดว่าคงจะเหมือนกับท่าโฮ หรือลุงโฮ ที่หนีมาอยู่สกลนคร ซึ่งคนเวียดนามก็มาแวะเวียนมาท่องเที่ยวที่บ้านลุงโฮกันเป็นจำนวนมาก แน่แหล่ะครับ การเมืองของไทยตั้งแต่หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาค่อนข้างที่จะกระท่อนกระแท่นมาก (ไม่ขอกล่าวต่อนะครับ)

            จากนั้นเราก็แนะนำตัวกันจนครบพี่สถาพรก็ได้พูดถึงประเทศลาวในหลาย ๆ เรื่อง และวงสนทนาก็มีต่อจนไปรับประทานอาหารค่ำ และต่อมาถึงบนรถติ๊งที่ส่งจนถึงปากซอยของบ้านพี่สถาพร

พอจะจับใจความได้ก็คือว่า ประเทศญี่ปุ่น จีน เวียนนาม เกาหลีนั้นมีอิทธิพลในประเทศลาวมาก และคนลาวก็รักทั้ง 4 ประเทศ (ประเด็นนี้ในสมัยประชุมรัฐสภาของไทยเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 52 ก็ได้กล่าวถึงเรื่องที่ว่าเหตุใดรถบัส หรือรถทัวร์ที่วิ่งประจำทางของไทยจึงวิ่งเข้าประเทศลาวต่อไปในเส้นทาง R 3 ไม่ได้ ถ้าเข้าไปก็เสียภาษี เสียค่าใช้จ่ายยิบย่อย แต่รถจากจีน เวียดนามวิ่งได้โดยมารับถึงประเทศลาวในส่วนที่ต่อจากไปได้เลย...แปลกไหมครับ ???) เป็นไปได้ไหมครับว่า ทั้ง 4 ประเทศนี้นั้น ให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวอย่างจริงใจ และช่วยจริงๆ แต่ก็ไม่แน่นะครับ เพราะว่านักธุรกิจจีนที่รวย ๆ นั้นได้ขอเช่าที่จากประเทศลาว และพม่า ซึ่งประกอบธุรกิจทำบ่อนการพนัน และสถานบริการทางเพศ (ซ่อง) ซึ่งมีทั่วไปหลายแห่งในจังหวัดที่จีนเช่า ทั้งลาวและพม่าด้วย ซึ่งผู้หญิงที่ถูกค้าบริการก็จะเป็นคนลาว คน พม่า คนสิบสองปันนา คนพื้นเมืองก็มี (....ตรงนี้น่าสงสัยนะครับ) พี่สถาพรและผมก็ตั้งประเด็นว่าที่ประเทศจีนซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์นั้นทำไม่ได้ แต่ทำไมถึงมาทำที่ประเทศเพื่อนบ้าน (น่าจะมีหลักมนุษยธรรมสักนิดนะครับ...ตรงนี้ผมกลัวมากว่าต่อไปประเทศลาวและพม่าที่มีวัฒธรรมอันดีงาม สังคมจะล่มสลายได้)

 ต่อมาก็พูดถึง คนไทยในลาว ซึ่งหมายถึงว่ามีหลายประเภทด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมได้รับทราบมาจากพี่สถาพรก็คือ คนไทยที่ตกหล่น หรือตกค้างในสปป.ลาว ส่วนหนึ่งหลบหนีกลับมาไทย กล่าวคือ ในสมัยที่มีพวกคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ถูกกวาดล้าง คนส่วนใหญ่ก็หนีตายเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน และหนึ่งนั้นก็คือ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันนี้กลับประเทศไทยไม่ทัน แต่ก็มีบางส่วนที่แอบหลบหนีกลับเข้ามาในประเทศไทย ทำให้บางคนมีบัตรประชาชน 2 ใบ 2 ประเทศ ซึ่งคนที่ตกค้างอยู่ในสปป.ลาวนี้ ส่วนหนึ่งก็มีอาชีพเลี้ยงช้าง ความเป็นอยู่ก็ลำบากมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้มีสิทธิในสัญชาติไทย แต่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ ลูกที่เกิดมาส่วนใหญ่ก็จะแต่งงานกับทหารลาว คนไทยที่กลับไทยไม่ทัน หรือคนไทยตกค้างในลาวนั้น คนลาวเรียกว่า ไทยเหมา  ตรงนี้น่าศึกษามากนะครับ แต่พี่สถาพรก็ได้ติงมานิดหนึ่งว่า ต้องระวังเรื่องความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (แม้กระทั่งเรื่องม้งลาวนี่ พี่สถาพรซึ่งเป็นผู้ที่ท่องเที่ยวถึงลำไส้ของลาว และรู้ซึ้งในความคิด ภาษา วัฒนธรรม สังคมของสปป.ลาวก็ได้ท้วงติงมาเช่นกันว่า ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรเป็นเรื่องที่สนทนากับคนลาว) เพราะที่สปป.ลาวนั้นการเมืองแรงมาก และประชาชนจะไม่พูดถึงเรื่องการเมืองเด็ดขาด แต่เป็นข้อที่น่าสังเกตว่า สถานีโทรทัศน์ของสปป.ลาวมี 2 ช่อง คือสถานีของรัฐบาล หรือสถานีแห่งชาติ (อะไรนี่แหล่ะครับ) กับสถานีลาวสตาร์ (ช่องนี้ผมชอบดู เพราะที่บ้านรับได้ แบบบว่าขอนอกเรื่องสักนิดนะครับ ว่าช่องนี้คิดใหม่ ทำใหม่ ฉีกแนวจริง ๆ แต่น่าเสียดายนะครับ เพราะว่า มีการเล่นเกมส์โชว์ มีการรายงานข่าวแบบตะวันตก และที่สำคัญก็คือว่า มีนักร้องที่แต่งตัว และแนวเพลงแบบสากลมากขึ้น เหมือนเพลงไทยสากลที่ร้องเป็นภาษาลาว ถ้าเทียบกับเมืองไทยนี่ก็เป็นแนวเพลงที่นิยมในวัยรุ่นสมัยนี้ แบบแรง ๆ ตรงจุดนี้น่ากลัวมากนะครับ กลัววัฒนธรรมลาวจะเสียไป)

          ซึ่งทั้ง 2 ช่องนี้นั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมจากคนลาวมากนัก เนื่องจากว่าคนลาวชอบดูโทรทัศน์จากเมืองไทยมาก พวกเค้าชอบดูการเมืองมากเลยครับ (สงสัยว่าคงจะงง!!!ว่า เอ๊ะ!!!ประเทศไทยนี่ เล้นกี่ฬาสีกันหรือเปล่านะ...ฮ่วย!!!มันสิหลายสีเหลือเกิน ข่อยสิตาลายเบิ้ด) เค้าอินมาก อินกับการเมืองไทยจนเครียดไปตาม ๆ กัน (มีข้อน่าสังเกตอีกว่า สปป.ลาวดูทีวีไทย สื่อไทยได้ทุกช่อง แต่ไทยกับไม่รับสื่อประเทศเพื่อนบ้านมาบ้าง ตรงนี้น่ากลัวอีกนะครับ...เพราะว่าเขารู้เรา แต่เราไม่รู้เขาเลย อย่างนี้การที่จะมีพัฒนาการร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศก็ค่อนข้างจะยากสักนิด แต่ว่าภาษาและวัฒนธรรมไม่ไกลกันมาก ก็คงจะไปกันได้) แต่เพราะว่าการบริโภคสื่อของไทยมาก (ก็น่าจะรู้นะครับว่าละครไทยนั้นเป้นอย่างไร มีแต่ความรุนแรง ตบตี แย่งชิง วางแผนฆ่า ตัวร้ายจ้องทำลายคนดี นางเอกไม่สู้ดูโง่ๆ ตัวร้ายขัดใจแม่ กรี๊ดๆ มีแต่อารมณ์ ไม่มีความกตัญญู แย่งคู่ครอง ชิงสมบัติ จิกหัวคนใช้ ใช้ถ้อยคำรุนแรง แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม การดูหมิ่นดูถูกกัน)

         ทำให้คนลาวเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ไป กล่าวคือ สังคมลาวกำลังจะกลายเป็น สังคมบริโภคนิยม แต่เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ตามไม่ทัน จึงทำให้เกิปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา ขอยกตัวอย่างสักเรื่องนะครับ คือว่า ช่วงหลัง ๆ นี้ ขโมยที่ลาวมีเยอะ เนื่องจากว่าต้องการใช้เงิน แต่ว่าไม่มีเงินจะให้ใช้จึงต้องไปลักเล็ก ขโมยน้อย ไปจนถึงขโมยใหญ่ อย่างเช่น ที่หลวงพระบางนั้นมีวัดเยอะมาก มีโบราณสถาน โบราณวัตถุก็เยอะ คนที่ชอบเที่ยวที่หลวงพระบางก็จะต้องชอบวัฒนธรรม ศิลปกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ไม่มีแสงสี ซึ่งวัดแต่ละวัดนั้นสามารถเดินทะลุถึงกันได้หมด จะไปไหนก็เดินทางสะดวก แต่เดี๋ยวนี้ต้องมีประตูกัน มีการจัดการกับเรื่องการแก้ปัญหาการลักขโมยทั้งวัดและบ้านเรือน เพราะขโมยชุกชุมมาก เนื่องจากคนต้องการใช้เงิน แต่อาจจะหาเงินไม่ได้ หรือไม่พอใช้ก็ตามแต่  เมื่อเกิดปัญหาอย่างนี้ก็แย่สิครับ แล้วเราจะขายความร่ำรวย ความดีงาม ความงดงามทางวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร เพราะว่าดูตัวอย่างของประเทศเกาหลีสิครับ ทำไมสื่อเค้าถึงสร้างสรรค์และมีวัฒนธรรมที่ครอบงำโลกได้ด้วย ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศอุตสหกรรมด้วย แสดงว่ามีการจัดการสื่อที่น่าทึ่งมาก ไม่ว่าทั้งไทยและต่างประเทศต่างก็ให้ความสนใจกับเกาหลีมาก ถึงขนาดบินไปศัลยกรรมให้หน้าเหมือนเกาหลี เครื่องสำอางค์ก็ BB เกาหลี หนัง ละคร เพลง แนวเพลง การเต้น (นี่เปิดโรงเรียนสอนเต้นแบบเกาหลีเลยนะครับ) ทุกอย่างดูจะเป็นเกาหลีไปหมด และเดี๋ยวนี้ดารานักร้องไทยก็ยังแต่งตัว และแนวเพลงก็เป็นแบบเกาหลี (ส่วนหมูย่างก็เกาหลีนี่คาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาบ้าง แต่นำมาดัดแปลง เพราะที่เกาหลีนั้นกินหมูย่างไม่เหมือนกับคนไทย ไม่ว่าอะไรก็ตาม ชื่อก็ยังมีคำว่า เกาหลี อยู่ด้วย)

อย่างไรก็ตาม สำหรับผมมือใหม่ในเวทีลาวศึกษาก็คงจะต้องทำการศึกษาในหลายๆด้าน โดยเฉพาะกฎหมายในสปป.ลาวต่อไป ถ้าหากมีท่านผู้รู้ผู้ใดสนใจจะให้คำแนะนำก็ยินดีนะครับผม

 

 

 



[1] บทความนี้เขียนขึ้นมาจากการสนทนาระหว่างผู้เขียนกับคุณสถาพร ลิ้มมณี โดยที่ผู้เขียนได้แทรกทัศนะ และข้อคิดเห็นส่วนตัวในบางเรื่องเองด้วย

หมายเลขบันทึก: 266902เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณเรื่องราวจากประเทศลาวมาเล่าสูกันฟัง

ได้รับความรู้มากขึ้นมากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท