ประชาพิจัย หนึ่งในวิชาที่ต้องเรียนของ "ม.ชีวิต"


๑.งานวิจัยประชาชน แก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน....เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน

เนื้อหาอะไร?ในโครงการ"มหาวิทยาลัยชีวิต"

๑.งานประชาพิจัย(PR&D) ในการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองของท้องถิ่น

ที่ผ่านมา ชาวบ้านในชุมชนเข้มแข็งทั้งหลาย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ เป็นต้นมา คิดแล้วทำ..ทันที... เพราะเนื่องจากรอภาคต่าง ๆ ต่อไปไม่ไว้

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ในด้านทุน,การเงิน,การคลัง,การค้า และเศรษฐกิจระหว่างประเทศไปไม่มีเครดิต ในสายตาชาวโลก ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยุบตัว บรรษัทเงินทุนต่าง ๆ ทยอยปิดตัวลง เงินคงคลังของประเทศหมด จน IMF ต้องเข้ามาดูแลแทนเกือบทั้งหมดเศรษฐกิจเมืองใหญ่ถูกกระทบ ชาวบ้านระส่ำระสาย ไป เพราะ การบริหารการปกครองภาครัฐ ขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนเงินท้องถิ่น.....

ไทยเรารอดจากวิกฤตคราวนั้นอย่างไร?  ไม่ใช่เพราะรัฐ ไม่ใช่เพราะซีพี ไม่ใช่เพราะIMF ไม่ใช่เพราะSIF หรือแผนแม่บทชุมชนที่ดำเนินการโดย UNDP แต่เป็นเพราะการกลับตัวของชาวบ้าน ต่างหาก ....

วันนี้ชาวบ้านกลับตัวเพราะรู้ว่า ปลูกมัน...ก็เจ๊ง ปลูกข้าว ...ก็เจ็ง ปลูกยาง...ก็เจ๊ง ปลูกปาล์มน้ำมัน...ก็เจ๊ง ปลูกมังคุด...ก็เจ๊ง ปลูกยางนา...ก็เจ๊ง เลี้ยงไก่ซีพี...ก็เจ๊ง..เลี้ยงปลานิล...ก็เจ๊ง เลี้ยงกุ้งกุลาดำ....ก็เจ๊ง  เลี้ยงวัวนม...ก็เจ๊ง  เลี้ยงหมู...ก็เจ๊ง    แต่ถ้าปลูกทุกอย่างเลี้ยงผสมผสานกันไปหล่ะ ...ไม่เจ๊ง นี่คือข้อสรุปของชาวบ้าน.....

วันนี้ชาวบ้านเริ่มทำ "ประชาพิจัย" คือชาวบ้านเริ่มเก็บข้อมุลของตนเองขึ้นมา...อยากรู้ว่า หมู่บ้านเราตำบลเรา เป็นหนี้สินเท่าไหร่ก็ไปเก็บข้อมูลมา....เป็นหนี้เพราะอะไร ก็ดูสถิติจากปีที่แล้ว กับปีนี้ว่า เราใช้จ่ายอะไรเพิ่มขึ้น....

มาจากต้นตอที่ไหน? หรือหาสาเหตุว่าเกิดขึ้นได้เพราะอะไร? หรือที่ผ่านมาเราลงทุนไปกับอะไรมาก (ทำเองได้ไหม?) .....เกิดวิสาหกิจชุมชนเรื่องต่าง ๆ (อาหาร,ข้าว,เครื่องใช้,ปุ๋ย,ยาเคมี)....วันนี้ อบต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดปุ๋ยผักบุ้งอัดเม็ด,ปุ๋ยน้ำสูตรต่างจากหอยเชอรี เพื่อใส่นาธรรมชาติของชาวบ้าน ให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

ทุนของหมู่บ้านเราคือ อะไร? ทุนเงิน,ทุนทางปัญญา,ทางสังคม,ทุนโภคทรัพย์ มีอะไรบ้าง เมื่อหาทุนได้แล้ว ก็มีกำลังใจว่าไม่ต้องไปรอส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำโครงการ แต่ทำไปได้เลย บ้านเรามีข้าว แต่ชาวบ้านไม่พอกิน ก็จัดทำเป็นธนาคารข้าวกัน....

อินแปง มีพันธุ์ไม้เยอะก็ให้ทุกคนมายืมไปปลูก แล้วพอตัวเองเพาะพันธุ์ได้ก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน ที่ปลูกมันก็ลดลง ไว้ปลูกหวายขายหน่อบ้าง ไว้ปลูกหมากเม่าบ้านละ ๔-๕ ต้น ไว้ปลูกยางนา ไว้ปลูกข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก เพื่อให้ไม่ต้องซื้อ ทุกคนมีกินเพราะปลูกกันเอง มีไก่บ้านไว้แกงกับหน่อหวาย มีหมูกระโดนไว้ทำพิธี ในแต่ละปีของชาวกระเลิง เหล่านี้เป็นต้น

อินแปงสำรวจข้อมูลว่า ปีหนึ่งเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน กินน้ำอัดลม ปี ละ ๒ - ๓ ล้านบาท ก็รณรงค์ไม่ทานน้ำอัดลม ผลิตน้ำหมากเม่าพร้อมดื่ม ไว้แทนน้ำอัดลม (วิสาหกิจชุมชนที่ผสานความรู้เดิมกับสากลสร้างเป็นนวัตกรรมของชุมชนได้)....น้ำหมากเม่า ทานแล้วได้คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินต่าง ๆ สูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ(มะเร็ง) เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายได้ดี......

อินแปงสำรวจข้อมูล ต่อไปอีกว่า ผงชูรส เป็น อะไรที่ไม่มีประโยชน์แก่ร่างกาย แต่ชาวบ้านนิยมทานเป็นอันดับหนึ่ง ปีละ ๔ - ๕ ล้านบาท(สำรวจในตำบลกุดบาก) ชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาดั่งเดิม จึงคิดว่าที่เราเป็นเบาหวานกันมาก ๆ เพราะผงชูรสนั้นเอง จึงคิด เรื่องแก้ปัญหาผงชูรสกัน โดยผลิต "ผงนัว"ขึ้นมา ทดรองชิม ทดลองใช้กัน และจัดให้มีการอบรมเพื่อทำ "ผงนัว"ทดแทนผงชูรส ในหมู่บ้าน ในตำบล เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง......

ผงนัว ที่ว่านี้ ประกอบ ใบไม้ที่มีคุณค่า จำนวน ๗ - ๑๓ ชนิด นำมาตากแห้ง ตำผสมกับข้าวเหนียวที่ตากแห้งแล้วเช่นกัน เมื่อนำมาประกอบอาหาร ได้ข้อสรุปว่า อร่อยไม่แพ้ผงชูรสที่เดียว ขณะนี้ ชาวอินแปงหันมาทาน "ผงนัว" แทน"ผงชูรส"แทนทุกครัวเรือน....

 ปัจจุบัน สมาคมแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ได้มาสั่งให้อินแปงผลิตเพื่อนำไปบริโภคในประเทศพร้อมวางขายที่ญี่ปุ่นด้วย.....กลายเป็นอาหารและสินค้าไปในตัว ได้ทั้งสุขภาพดี และมีเงินใช้ไปในตัว....ครับ

ผลของการทำ"ประชาพิจัย" ชาวบ้าน ไม่ได้ลงทุนลงแรงอะไรมากมาย กลุ่มอินแปงเอง ได้เงิน จาก สปก. ๑,๕๐๐ บาท เพื่อจัดประชุม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สรุป ได้เป็นเงินสำหรับ ถ่ายเอกสาร แบบสอบถาม เพื่อสำรวจข้อมูลพันธุ์ไม้ต่าง ๆ และค่าใช้จ่ายเป็นประเด็น ไป....ผลประโยชน์สำหรับหน่วยงานอาจจะไม่เท่าไหร่ เพราะเป็นเพียง จุดหนึ่งของแผนใหญ่ในพื้นที่ สปก. แต่สำหรับ อินแปง แล้ว กลายเป็นการค้นพบ ประเด็นอื่น ต่างไป.....เช่น น้ำยาบ้วนปาก จากต้นเหมือดแอ๋ เป็นต้น

วันนี้ การทำประชาพิจัย  จึงเป็นยุทธศาสตร์การวิจัย โดยประชาชน เป็น"จุดเปลี่ยน" เป็นการปฏิวัติของภาคประชาชน ที่ควรจะเริ่มทำให้เกิด ทำให้มี ในทุกชุมชนทั่วประเทศ 

หลักสูตร การทำประชาพิจัย เป็นวิชาหนึ่ง ที่เรียนในภาคทฤษฏี และปฏิบัติไปในชุมชน โดยการปฏิบัติจริง ที่จะทำให้นักศึกษาในโครงการ "มหาวิทยาลัยชีวิต" ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ในชุมชน จากฐานของชุมชน โดยการวิจัยของประชาชนเอง อย่างถูกต้อง ตรงแนวของชุมชนอย่างมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 266863เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2009 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท