ปรากฎการณ์ไพดี้สู่ชุมชนเพื่อทักษะชีวิตเด็กพิเศษ


ขอบคุณทีมงานสถาบันไพดี้...ผู้ริเริ่มโครงการต้นแบบทักษะชีวิตเด็กพิเศษโดยประสานงาน เรียนรู้ และพัฒนาโปรแกรมร่วมกับผู้ปกครอง ครู และเครือข่ายทางการศึกษา สังคม และการแพทย์...และฝันที่จะขยายการบริการเครือข่ายครอบคลุมแต่ละภาคของไทยในอนาคต คลิกที่ http://www.paidi-th.com/

ปรากฎการณ์ไพดี้ คือ ปรากฎการณ์พัฒนาความคิดจากผู้ที่กำลังช่วยเหลือเด็กพิเศษในหลายบทบาทและวิชาชีพ ณ สถาบันไพดี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานเล็กๆ ที่เกิดจากความตั้งใจของผู้มีประสบการณ์นโยบาย การจัดระบบ และประสาบการณ์กับเด็กที่มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิต และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการพัฒนาความสามารถของเด็กที่มีความต้องการช่วยเหลือพิเศษ เช่น ออทิสติก สมาธิสั้นและไม่อยู่นิ่ง บกพร่องทางร่างกาย บกพร่องทางสติปัญญา บกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นต้น โดยอ้างอิง "โมเดลต้นไม้" ที่ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาจารย์กิจกรรมบำบัด ม.มหิดล (ข้างล่าง)

สถาบันไพดี้ ให้บริการพัฒนาทักษะชีวิตโดยจัดโปรแกรมฝึก ที่ผ่านการทดลองและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและผู้บำบัด เช่น โปรแกรมการเขียน โปรแกรมการแต่งกาย โปรแกรมการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เป็นต้น คุณลักษณะพิเศษของโปรแกรมเหล่านี้ คือ การลำดับกิจกรรมการฝึกต่อเนื่องกัน 3-6 สัปดาห์ด้วยหลักการทางกิจกรรมบำบัดและจิตวิทยาพัฒนาการ และให้โอกาสผู้ปกครองแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ จะเห็นว่าทีมงานสถาบันไพดี้พยายามเน้นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้เด็กพิเศษเกิดความมั่นใจและเข้าใจความต้องการในการเรียนรู้ทักษะชีวิตในลำต้น กิ่ง ใบ ในหลายบริบท (บทบาทในสถานการณ์ชีวิต) ที่บ้าน โรงเรียน และชุมชน โดยแบ่งการให้บริการแบบช่วยเหลือสังคม เช่น จัดเสวนาผู้ปกครอง ครู และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมทักษะชีวิต กับการให้บริการแบบธุรกิจ เช่น การจัดโปรแกรมการฝึกเฉพาะรายและกลุ่มสำหรับเด็กพิเศษ การให้คำปรึกษาและประเมินทักษะชีวิต การให้คำแนะนำสื่อการเรียนรู้ (อ่านด้วยสมอง) การให้คำปรึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครอง ครู และนักวิชาชีพ

ปรากฎการณ์ไพดี้เกิดขึ้นอีกครั้งกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตอบโจทย์ ทำอย่างไรที่จะขยายการให้บริการเพื่อช่วยเหลือเด็กพิเศษในเขตพื้นที่ (ระยะแรกเน้นชุมชนที่สถาบันไพดี้ตั้งอยู่ใน อ. คูคต จ. ปทุมธานี) ...ขอปรบมือให้กับผู้บริหารและผู้จัดการสถาบันไพดี้ ที่ติดต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยความรัก ความเมตตา และความมุ่งมั่น ภายในพื้นที่ อย่างน่าสนใจ

ประเด็นที่ผมเรียนรู้และได้รับจากการเป็นกระบวนกร ณ เวทีเสวนาครั้งนี้ คือ

  • การสื่อสารภายในตนเอง นั้นมีความสำคัญอย่างมาก หากแต่ละคนที่มาเสวนาไม่พยายามทบทวนบทบาท ความรู้ความเข้าใจ และความคาดหวังของตนเองอย่างเปิดใจและใส่ใจ คนเหล่านั้นจะไม่สามารถรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์นั้นได้อย่างสุขใจ
  • ผู้เชี่ยวชาญมีกรอบความคิดของตนเองสูง แต่เข้าใจและยอบรับว่า การบูรณาการความคิดแบบสหวิชาชีพเป็นเรื่องสำคัญและควร "ประสานกรอบความคิดให้เข้าใจตรงกัน...ใช้เวลานานและความอดทนสูง" โดยเฉพาะวัฒนธรรมคนไทยที่มักเกิดความเกรงใจ ความไม่แน่ใจ ความคาดหวัง ความมุ่งมั่น ความคิดเพื่อประโยชน์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ไม่ตรงกัน
  • กระบวนการทางการแพทย์อย่างมีเหตุและผล เช่น การปรับพฤติกรรมหรือกิจกรรมบำบัดกับการใช้ยาได้ผลดีที่สุด การใช้ยาดีเป็นดันดับสอง และการปรับพฤติกรรมหรือกิจกรรมบำบัดดีเป็นอันดับสาม แต่ต้องได้รับการวินิฉัยอย่างถูกต้องชัดเจน
  • กระบวนการทางการศึกษาพิเศษอย่างมีขั้นตอน เช่น การคัดกรองและการประเมินตามพัฒนาการเด็กปกติ การส่งต่อนักวิชาชีพกรณีความบกพร่องซ้ำซ้อน แบบแผนการสอนทักษะแต่ละด้าน
  • กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดอย่างมีระบบ เช่น การสำรวจความต้องการของเด็กพิเศษและผู้ช่วยเหลือ การประเมินและสร้างโปรแกรมทักษะชีวิตร่วมกันระหว่างเด็กพิเศษ ผู้ช่วยเหลือ และผู้บำบัด
  • กระบวนการทางจิตวิทยาพัฒนาการอย่างมีเทคนิค เช่น การปรับพฤติกรรมตามสิ่งแวดล้อมเน้นจัดการอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมจามพัฒนาการ
  • แต่ละกระบวนการของผู้เชี่ยวชาญ มีความเป็นอัตลักษณ์ แต่ควรประสานงานและเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้แก่ จัดการเวลา จัดการความคิด จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการสื่อสารในหลายรูปแบบเพื่อส่งต่อการให้บริการที่สร้างกำลังใจแก่เด็กพิเศษและผู้ช่วยเหลือ
  • เราใช้เวลา 2 ชม. ในการตอบโจทย์โดยพูดคุยทำความเข้าใจกระบวนการฝึกเด็กพิเศษใน 4 กรณีศึกษา (ออทิสติกเด็กเล็ก, สมาธิสั้นและไม่อยู่นิ่ง, ความสามารถพิเศษ-ไม่แน่ใจการวินิจฉัย, ออทิสติกเด็กโต) ซึ่งเป็นผู้รับบริการที่สถาบันไพดี้มานานอย่างน้อย 2 เดือน แต่หลายกลุ่มย่อยยังขาดประสบการณ์และต้องการอบรมพัฒนาความรู้เพื่อช่วยเหลือเด็กพิเศษที่บ้านและโรงเรียน คาดว่าหากได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง พวกเขาจะสามารถให้ความคิดเห็นในเรื่องการสร้างโปรแกรมร่วมกับผู้บำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญได้ (เห็นได้จากการไม่สนใจช่วยปรับโปรแกรมที่ผ่านการทดลองและค้นคว้าทางวิชาการมาแล้ว) พวกเขายึดติดกับกระบวนการคิดผ่านการป้อนความรู้ (Passive Learning)
  • เราใช้เวลาอีก 1 ชม. ในการตอบโจทย๋โดยแยกระดมความคิดในการขยายบริการและการสร้างเครือข่าย ปรากฎว่า หลายคนเห็นความสำคัญแต่ไม่ทราบว่าตนเองจะริเริ่มกระทำตามความคิดนั้นได้อย่างไร เพราะมีอุปสรรคหลายด้าน เช่น นโยบายของรัฐที่มีขั้นตอนซ้ำซ้อนและไม่อำนวยตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ช่วยเหลือเด็กพิเศษ องค์กรอิสระช่วยประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชนได้แต่ข้อมูลที่หลายหน่วยงานทางการศึกษาและการแพทย์ยังสื่อสารไม่เข้าใจกัน ผู้ปกครองและครูมีความคาดหวังสูงต่อการพัฒนาเด็กพิเศษแต่ไม่พร้อมที่จะสร้างหลักสูตรหรือโปรแกรมเฉพาะบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรมและวัดประสิทธิผลได้ นักวิชาชีพสนใจที่จะฝึกทักษะชีวิตด้วยเทคนิคเฉพาะภายในกรอบความคิดของแต่ละวิชาชีพจนไม่เปิดโอกาสตามสถานการณ์ที่เด็กพิเศษและผู้ช่วยเหลือต้องการอย่างแท้จริง
  • ข้อสรุปที่ต้องใช้เวลาอีก 2 ชม. หลังอาหารกลางวันที่อร่อยมาก เราเหลือเพียง 10 คน จากผู้เข้าฟังรอบเช้า 30 คน แต่ทุกคนมีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันต่อไป คือ สถาบันไพดี้รับผิดชอบประสานงานและเป็นศูนย์รวมเครือข่ายทางวิชาการ (ม.มหิดล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ)  ทางนโยบาย (ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ. ปทุมธานี อปท) ทางปฏิบัติการ (นักวิชาชีพส่วนบริการสถาบันไพดี้ บ้านแม่นก โรงเรียนในพื้นที่ กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครู) และทางโครงการอิสระ (ศูนย์ประสานงานเครือข่ายหนังสือเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว) ทั้งนี้แต่ละหน่วยงานจะมีเครือข่ายแตกแขนงออกไปโดยธรรมชาติแล้ว
  • สถาบันไพดี้ควรนำโมเดลและโปรแกรมทักษะชีวิตต่างๆ ที่ผ่านการกลั่นกรองวิชาการแล้วลงสู่การปฏิบัติจริง โดยเน้นกระบวนการติดตามและประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม ทั้งนี้แบ่งการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชนอย่างถูกต้องเหมาะสม แบ่งขั้นตอนการทำงานและประเมินคุณภาพการบริการให้ตรงกับความสามารถของนักวิชาชีพของสถาบันไพดี้
  • สถาบันไพดี้ควรริเริ่มโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ (แบบลงทะเบียนการเรียนรู้) ในหัวข้อที่ตรงกับความต้องการเพื่อการพัฒนาความสามารถในการช่วยเหลือเด็กพิเศษของผู้ปกครอง ครู และนักวิชาชีพ
  • สถาบันไพดี้ควรริเริ่มหาทุนจากภายนอกในการวิจัยพัฒนาโปรแกรม วิจัยพัฒนาเครื่องมือประเมิน วิจัยสำรวจจากเครื่องมือคัดกรองที่มีอยู่ วิจัยสู่ปฏิบัติการเชิงรุกในชุมชนจริง

ผมคิดว่าภาระกิจข้างต้นมีความเป็นไปได้สูง หากสถาบันไพดี้และเครือข่ายชุมชนไม่ "ทบทวนความคิดแบบวนในอ่าง" แต่ควร "ทบทวนความคิดแบบทีมงานมุ่งเป้าหมาย"

หมายเลขบันทึก: 266607เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณครับอาจารย์ป๊อป เราจะไม่พายเรือในอ่างนะ ตอนนี้ผมพายเรือไปข้างนอกแล้ว หลังจากที่อาจารย์มาให้แนวคิดต่างๆ ไพดี้และชุมชนจะเข้มแข็งและงานที่ทำอยู่เป็นที่ประจักษ์ได้ ก็ด้วยความช่วยเหลื่อจากอาจารย์ป๊อป อาจารย์อ้อม และเครือข่ายต่างๆ เป็นกำลังสำคัญครับ

ขอส่งกำลังใจให้พายเรือนำสถาบันไพดี้ไปสู่จุดหมายของการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวไทยอย่างเข็มแข็งครับ

พึงได้ยินชื่อสถาบันนี้ อยู่ที่ปทุมธานีหรือคะ สักวันคงได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสู้ๆนะคะเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบคุณครับคุณครูเบน

เพิ่งได้ยินชื่อสถาบันนี้นะคะ

สนใจมากค่ะ

ขอบคุณคะ

กิจกรรมบำบัดต่อนอกได้มั๊ยคะ?

แล้วถ้าเราเรียนจบจะไปทำงานที่ต่างประเทศอย่างเดนมาร์ก แล้วเค้าจะมีงานรองรับรึป่าว?

ระหว่างกิจกรรมกับกายภาพอันไหนหางานง่ายกว่ากันคะ...

ถ้าต่างประเทศเค้าต้องการอาชีพไหนมากกว่ากัน

หนูอยากรู้มากๆๆ เลย*

แล้วกิจกรรมกับกายภาพมันแตกต่างกันตรงไหนคะ เรียนจบมาทำงานแทนกันได้รึป่าวคะ

ขอบคุนมากนะคะ ที่ให้คำตอบหนู*

(ตอบมาในเมลหนูก้ได้นะคะ)

ขอบคุณครับคุณหนูอยากรู้

ทั้งกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัด เป็นวิชาชีพที่รายได้ดีและมีเกียรติมากในต่างประเทศ แต่น้องจะต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษและความรู้พื้นฐานในวิชาชีพตามระเบียบของประเทศนั้น

สำหรับความแตกต่างของทั้งสองวิชาชีพ คลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/248107

ขอชื่นชมที่ทีมงานสถาบันไพดี้ได้จัดกิจกรรมและโครงการที่สร้างประโยชน์แก่สังคมไทย...และในวันนี้สถาบันไพดี้ได้นำแนวคิดทักษะชีวิตมาสร้างสรรค์โครงการ "อ่านด้วยสมอง - Reading by Senses" ซึ่งได้เผยแพร่ในรายการ "ย่อหน้านี้...มีชีวิต" เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ต.ค. 2552 เวลา 14.30-15.00 น. ทางช่องสทท. (ช่อง 11 เก่า)

ติดตามอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/yongyos-travel/306102

สถานบันไพดี้เป็นตัวอย่างของการทำงานเพื่อสังคม โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการหลายหน่วยงาน เช่น ดร. ป๊อป จาก ม.มหิดล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท