การพัฒนาแบบมีส่วร่วม


การพัฒนาครูภาษาไทยแบบมีส่วนร่วม

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0in; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:16.0pt; font-family:"Angsana New"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:8.5in 11.0in; margin:1.0in 1.25in 1.0in 1.25in; mso-header-margin:.5in; mso-footer-margin:.5in; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาครูภาษาไทยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่

ส่งผลต่อเจตคติการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่  1- 2    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า    นางสาวพัชรี  ยันตรีสิงห์

ปีที่ศึกษา               2550

บทคัดย่อ

 

                             การพัฒนาครูภาษาไทยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผล  ต่อเจตคติการเรียนรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่  1 – 2  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม   เขต 2

มีวัตถุประสงค์เพื่อ     1)  ศึกษาผลการพัฒนาครูภาษาไทยด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ    

2)  ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูภาษาไทย     3)   ศึกษาความคิดเห็นของครูภาษาไทยที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ     4)  ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบบูรณาการ    กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า   ประกอบด้วย    ผู้ศึกษาค้นคว้า    ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า  ซึ่งเป็นครูวิชาการในโรงเรียนที่กลุ่มเป้าหมายสอน จำนวน 8  คน และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครูภาษาไทยสอนช่วงชั้นที่1 – 2  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต 2  ซึ่งสมัครใจเข้าร่วมศึกษาค้นคว้า    จำนวน   8   คน   ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าดำเนินการเป็น   2   ระยะ    ระยะแรก    พัฒนาความรู้ครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูณาการ     ระยะที่สอง   พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

                                ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า   กลุ่มเป้าหมายจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการได้   8  หน่วยการเรียนรู้  จำแนกเป็น 4  ประเภท  ได้แก่  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับแหล่งเรียนรู้    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการคิดและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับโครงงาน    ผลการนำหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้ไปใช้  พบว่า  พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับดี  (ระดับ 3)  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในระดับ 3   และ ระดับ 4    รวมกันคิดเป็นร้อยละ   75   จากนักเรียนที่กลุ่มเป้าหมายสอนจำนวน  176  คน  นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้แบบบูรณาการในระดับมากและมากที่สุด   โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง  (X = 4.20 – 4.57)   และกลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นด้วยกับการเรียนรู้แบบบูรณาการในระดับมากและมากที่สุด   โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง  ( X= 4.38 – 4.63)  

 

หมายเลขบันทึก: 266506เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท