ฤาษีดัดตน กับการดูแลสุขภาพกายและใจ


การไม่มีโรค....เป็นลาภอันประเสริฐ

ในชีวิตประจำวันนั้น  เราสามารถพบเจอเรื่องราวต่างๆ หรืออุปสรรคปัญหามากมาย  และอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน  ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ทั้งทางกายและทางใจ  เกิดความเบื่อหน่าย  ไม่กระฉับกระเฉง  เราลองหาสิ่งแปลกใหม่ที่เรายังไม่เคยทำ  ลองทำดูบ้างดีไหมคะ  เช่นการออกกำลังกายหรือการบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนที่เป็นภูมิปัญญาชาติ  เป็นท่าปฏิบัติง่ายๆอันเป็นกลอุบายของคนไทยโบราณที่ฝึกให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและเหยียดยืดควบคู่กับการหายใจเข้า - ออกอย่างช้าตามหลักสมาธิ  และท่าทางในการฝึกและออกกำลังกายนี้ได้ผ่านการรับรองจากสภาบันแพทย์แผนไทยว่าเป็นกายบริหารที่ปลอดภัยและเหมาะสม  ซึ่งจะได้นำมาเป็นแบบฝึกในการนำไปใช้บริหารร่างกายและใจซึ่งจะขอนำเสนอในจำนวน  12  ท่า  ซึ่งท่าทางเหล่านี้ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์แสวง ทวีคุณ ที่ได้ให้โอกาสในการฝึกกันเมื่อตอนท่านมาเป็นวิทยากรอบรมแม่ไม้มวยไทยที่จังหวัดสระแก้วค่ะ  สำหรับวันนี้ขอนำเสนอถึงประวัติและความเป็นมาของฤาษีดัดตน
        ความหมาย
                          ฤาษี  หมายถึง  นักบวชพวกหนึ่งมีมาก่อนพุทธกาล  สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ฐฃญพรตตามป่าเขา  เพื่อแสวงหาความสงบ  ห่างไกลจากกิเลส
         ความเป็นมา
                          ในตำนานหรือนิทานโบราณมักเรียกนักพรตที่อยู่ตามป่าเขาว่า  ฤาษี  เมื่อบำเพ็ญเพียรสมาธินานๆอาจมีอาการเมื่อยจึงได้ยืดงอและเกร็งตัวเกิดเป็นท่าฤาษีดัดตน
                          สำหรับรูปปั้นฤาษีคนไทยเคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์  การั้นและระบุชื่อฤาษีอาจเป็นกลวิธีให้เกิดความขลัง  เปรียบเสมือนได้ฝึกกับครู
                           มีความพยายามเชื่อมโยงว่าคนไทยเรียนแบบมาจากท่าโยคะของอินเดียแล้วนำไปเปรียบเทียบเคียงกันแล้ว  พบว่าไม่เหมือนกัน  ท่าฤาษีดัดตนของไทย  ไม่ใช่ท่าผาดโผนจนเกินไป  ส่วนใหญ่เป็นท่าอริยาบถของคนไทย  คนทั่วไปสามารถทำได้  ในจำนวนท่าฤาษีดัดตน  80  ท่า  มีท่าจีน 1 ท่า  ท่าแขก 1 ท่า  ท่าดัดคู้ 1 ท่า  แสดงถึงการแลกเปลี่ยนความรู้กัน  มีการระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นของต่างชาติ
          ท่าฤาษีดัดตน
                           ท่าฤาษีดัดตนตามแบบดั้งเดิมมีประมาณ  127  ท่า  แต่ในปัจจุบันมีหลายสถาบันที่นำองค์ความรู้นี้มาพัฒนาเป็นท่าออกกำลังกาย  เช่น  สถาบันการแพทย์ไทย  โรงเรียนแพทย์แผนไทยวัดพระเชตุพนฯ(วัดโพธิ์) เป็นต้น  ซึ่งแต่ละสถาบันจะมีรูปแบบและสไตล์ที่แตกต่างกันไป

ท่าการฝึกฤาษีดัดตนแบบเหยียดยืดในลักษณะยืน

ท่าการฝึกฤาษีดัดตนในลักษณะนั่ง

ท่าการฝึกฤาษีดัดตนในลักษณะนอน

    แล้วในบันทึกต่อไปจะนำเสนอเรื่องราวของการไหว้ครูฤาษี  การฝึดหัดท่าฤาษีดัดตน  และการฝึกสมาธิเพื่อการกำหนดลมหายใจต่อค่ะ
                

คำสำคัญ (Tags): #คือเรา
หมายเลขบันทึก: 266401เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท