นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา


บทความ

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

 

ชื่อ.....คุณาพร  ไชยโรจน์

ชื่อเล่น.....เเดง

เกิด........17 พฤษภาคม 2520

ที่อยู่.....บ้านเลขที่ 10 ซอย 14 ถนนศรีภูวนารถ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

ที่ทำงาน.....วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่,บ้าน,เเละสถานที่อื่นๆ(เเล้วเเต่จะไป)

ประวัติการศึกษา.....ช่างตกเเต่งภายใน,ศิลปศึกษา,ไทยคดีศึกษา  เเละ......?

ปรัชญาในการเขียนบทความในห้องนี้.....ไม่มีอะไรมาก  นึกจะเขียนก็เขียน  นึกจะหยุดก็หยุด  เหนื่อยเราก็ไม่เหนื่อย  เมื่อยเราก็ไม่เมื่อย เราเขียนไปเรื่อยๆ เราไม่เมื่อยเราไม่เหนื่อย

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 266338เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เปิดกรุต้นตำนานเทวดาอารักษ์ประจำถิ่น “ทวดงู” (animism : sacred snake)

“ความเชื่อ” (belief) คือรูปแบบของความคิดอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นประเภทคิดแบบยึดมั่นถือมั่นหรือเข้าใจอย่างหนักแน่นว่าน่าที่จะเป็นเฉกเช่นนั้น หากความเชื่อดังกล่าวเชื่อกันมากๆเข้าก็จะถูกยกระดับเป็น “คตินิยม” ซึ่งหมายถึงแบบอย่างทางความคิด ความเชื่ออันมีวิธีการคิดร่วมกันในแนวทางเดียวกันของคนหมู่มาก เห็นพ้องต้องกันโดยองค์รวม กล่าวกันว่ารากเหง้าของความเชื่อนั้นต่างฝังอยู่คู่กับมวลมนุษยชาติเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว

รากเหง้าทางความเชื่อในระยะเเรกเริ่มเดิมทีมนุษย์ล้วนเชื่อกันว่ามีดวงวิญญาณแฝงเร้นสถิตอยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นในต้นไม้ ก้อนหิน แม่น้ำ สัตว์ หรือแม้แต่ป่าเขาก็ล้วนมีดวงวิญญาณสิงสถิตอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งกรอบแนวคิดและความเชื่อดังกล่าวมีลักษณะสอดคล้องสัมพันธ์กันในรูปของ “วิญญาณนิยม” (animism) หรือ “คติถือผีสางเทวดา” อันหมายถึงความเชื่อที่ว่ารูปวัตถุบางสิ่งบางอย่างมีชีวิต ต่อมาดวงวิญญาณเหล่านี้ได้รับการยกระดับหรือยกสถานะให้สูงขึ้นเป็นผีฟ้า หรือเทวดา กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการบูชาสืบเนื่องมาจวบจนปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่อย่างมากมาย

“ทวด” (tuad) หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อของชาวไทยถิ่นใต้และคนในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ในหมู่ของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยอันเรียกตนเองว่า “ไทยสยาม” ดังมีความเชื่อร่วมกันว่า “ทวด” เป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ พ่อ แม่ ของปู่ย่าตายาย บรรพชน หรือผู้มีบุญวาสนาที่ล่วงลับดับสูญไปแล้ว และรวมถึงเทวดากึ่งสัตว์ ประเภทพญาสัตว์ อันมีลักษณะพิเศษที่สง่าและน่ายำเกรงกว่าบรรดาสัตว์สามัญปกติโดยทั่วไป มีความเชื่อร่วมกันว่าหากเซ่นสรวงบูชาแก่ทวดแล้วจะก่อให้เกิดความรุ่งเรืองและได้รับความคุ้มครองตามมา แต่หากมีการลบหลู่ดูหมิ่นก็จะได้รับโทษ ผลเสีย รวมถึงความวิบัติตามมาในไม่ช้า

ทวดในวัฒนธรรมทางความเชื่อของชาวไทยถิ่นใต้มีปรากฏให้ได้พบเห็นอยู่อย่างมากมาย อาทิ ทวดในรูปคน ทวดในรูปต้นไม้ ทวดไร้รูป นอกจากนี้ยังปรากฏทวดในรูปสัตว์ อันเป็นทวดที่เชื่อกันว่าดำรงตนอยู่ในรูปแบบ “กึ่งเทวดากึ่งสัตว์” เป็นพญาสัตว์มีความสามารถและเดชานุภาพให้คุณและให้โทษได้ เช่น ทวดงู ทวดจระเข้ ทวดช้าง และทวดเสือ เป็นต้น

กล่าวกันว่า “ทวด” เปรียบได้ดั่งเทวดาอารักษ์ประจำถิ่น ซึ่งมีฤทธิ์ อำนาจ สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้ใดก็ได้ ซึ่งในเรื่องนี้ เอมอร บุญช่วย ได้ศึกษาไว้พอที่จะสรุปได้ว่า ทวด หมายถึง ดวงวิญญาณอันมีเดชานุภาพสูง ต้องมีการปฏิบัติบูชาเอาใจจึงจะให้คุณ และให้โทษหากมีการล่วงละเมิด ทวด แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปคน เช่น ทวดคำแก้ว ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นต้น

2. ทวดที่เชื่อว่าไม่มีรูป เช่น ทวดสระโพธิ์ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

3. ทวดที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์ เช่น ทวดแหลมจาก(ทวดจระเข้) ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา และทวดตาหลวงรอง(ทวดงู หรือ งูทวด)ตำบลสะทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นต้น(เอมอร บุญช่วย.2544 : 93)

รูปแบบความเชื่อในเรื่อง “ทวด ที่เชื่อว่าเป็นรูปสัตว์” หรือ “ทวด ในรูปสัตว์” ถือกันว่าเป็นรูปแบบทางความเชื่ออีกรูปแบบหนึ่ง ที่กล่าวกันว่ามีเทวดาอารักษ์ประจำถิ่นในรูปสัตว์ชนิดต่างๆคอยป้องปกรักษาอยู่ซึ่งในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ได้แสดงทรรศนะเอาไว้ว่า ในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติและพงศวดารของมนุษย์ต่างๆ เรามักจะพบความจริงอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ในสมัยโบราณนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับสัตว์มาอย่างใกล้ชิดมาก บางชาตินับถือสัตว์เป็นเทพเจ้า บางชาตินับถือสัตว์เป็นต้นตระกูลของตน ความเชื่ออันนี้ได้สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนานแม้ในเวลานี้ก็ยังมีคนเชื่อถือกันอยู่(สมบัติ พลายน้อย.2541 : 3)

ดังที่กล่าวมาว่า “บางชาตินับถือสัตว์เป็นเทพเจ้า” นี้เองอาจเข้าเค้ากับคติความเชื่อในรูปแบบที่ว่ามีดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ในสัตว์หรือสิ่งที่ตนนับถือ สอดคล้องกับที่

สุจิตรา อ่อนค้อม ได้ศึกษาไว้สรุปได้ว่า การเข้าใจและถือว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์อยู่ในสิ่งที่ตนนับถือ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้นไม้ใหญ่ ภูเขา เป็นต้น เป็นความเชื่อที่มีมาก่อนยุคพระเวทในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กล่าวกันว่าเป็นลักษณะของ “วิญญาณนิยม” (animism) วิญญาณเช่นนี้เองที่สามารถจะให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้(สุจิตรา อ่อนค้อม.2542 : 13)

ภาพ : งูทวดพ่อตาหลวงรอง หรือทวดตารอง วัดโลการาม บ้านสทิ้งหม้อ ตำบลสทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

/ถ่ายภาพ : คุณาพร ไชยโรจน์-กิตติพร ไชยโรจน์

ภาพ : งูบองหลา หรืองูจงอาง สถานที่เขารูปช้าง สงขลา/ถ่ายภาพ : คุณาพร ไชยโรจน์-กิตติพร ไชยโรจน์

ภาพ : งูบองหลาไฟ หรืองูจงอางไฟ สถานที่เขารูปช้าง สงขลา/ถ่ายภาพ : คุณาพร ไชยโรจน์-กิตติพร ไชยโรจน์

คุณกำลังอธิบายที่มาของศาสนาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก

เดี๋ยวว่างๆจะเข้ามาเขียนต่อครับ............ ^ - ^

ปล. เว็บบอร์ดส่วนตัวของผมอีก 1 เเห่ง ที่นี่เลยครับ

http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

พี่คะ เมื่อวันอาทิตย์ไม่ไก้เข้าเรียน ติดภาระกิจ ไม่ทราบว่าวันเสาร์ที่จะถึงนี้เริ่มเรียนกี่โมงคะ 8 หรือ 9 โมงคะ จะเข้าเรียนให้ทันเวลา เพราะเข้าไปช้ามันเขินนะคะ

ตอบน้องจารุโส........วันเสาร์เข้าเรียนเวลา 8.30 น. ครับ เข้าช้าได้ไม่เกิด 9.00 น.

ปล. เเต่พี่เข้าเวลา 8.30 - 8.45 น. เพราะเป็นเวลาประจำ อิอิ ^ - ^

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สู่ความสำเร็จได้อย่าง..........

จีวรกันยุงสมุนไพรไทยปลอดสารเคมี

โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 08:48 น.

เป็นอีกหนึ่งงานที่น่าภาคภูมิใจจากฝีมือคนไทย ที่นำสมุนไพรในครัวเรือนมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนได้เป็นสารสมุนไพรกันยุง นำมาเคลือบบนผ้าจีวร ของพระสงฆ์ ในนามของ เมตตาคุณ

นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ร่วมกับ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการกลุ่มโครงการคลัสเตอร์สิ่งทอเพชรเกษม ทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อกันยุงสมุนไพรไทยปลอดภัยจากสารเคมีเป็นรายแรกของไทย สามารถป้องกันยุงได้ถึง 97% ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขแล้ว จึงนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อการปฏิบัติธรรม คือ ผลิตภัณฑ์ “จีวรกันยุง” ภายใต้แบรนด์ “เมตตาคุณ” โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ตามนิกาย เป็น 3 สี ได้แก่ สีราชนิยม สีเหลืองทอง และสีกรัก/แก่นขนุน

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพเสื้อกันยุงเพื่อให้ได้มาตรฐาน คือ ใช้ผ้าที่สวมแขน ข้างหนึ่งเป็นผ้าธรรมดา อีกข้างหนึ่งเป็นผ้าที่เคลือบสารสมุนไพรกันยุง ใช้ยุงสองกรงเป็นยุงตัวเมียจำนวน 250 ตัว มีอายุ 3-5 วัน เมื่อวางแขนเข้าไปในกรงยุงจะจับเวลา 3 นาที เมื่อครบ 3 นาทีจะนับจำนวนยุงที่เกาะบนผ้าธรรมดาเปรียบเทียบกับที่เกาะบนผ้าเคลือบสารสมุน ไพรกันยุง ทำทุกครึ่งชั่วโมง เปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเกาะผ้า ซึ่งผลที่ได้ผ้ากันยุงลดการเกาะได้ดีกว่าผ้าธรรมดา

“ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากันยุงไม่ใช่ของใหม่ ขณะนี้มีหลายประเทศที่ผลิตแต่ใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ชอบ จึงนำสมุนไพรไทยมาใช้เพราะในประเทศไทยมีสมุนไพรที่แมลงและยุงไม่ชอบ เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า และมะกรูด เป็นสารที่ได้จากสมุนไพร 100% ได้สูตรที่ดีที่สุด 11 สูตร จากข้อมูลปี พ.ศ. 2550 พบว่า มีประชากร ไทยประมาณ 54,000 คน ที่ต้องเจ็บป่วยโดยมีสาเหตุมาจากยุง และ 72 คนต้องเสียชีวิต” นาย วิรัตน์ กล่าว

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาห กรรมสิ่งทอ กล่าวว่า นวัตกรรมสิ่งทอไล่ยุงใช้เทคโนโลยีไบโอแคปซูลในการแตกตัวของกลิ่นสมุนไพรเพื่อไล่ยุง ซึ่งการที่ยุงกัดคนเพราะได้กลิ่นจากคาร์บอนไดออกไซด์ และกลิ่นเหงื่อ นวัตกรรมสิ่งทอใหม่นี้เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ส่วนประกอบของสมุนไพร 100% และมีคุณสมบัติในการไล่ยุงได้ถึง 97% โดยน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรจะระเหยออกมาจากเส้นใยเพื่อรบกวนประสาทการรับรู้ของยุงทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าภายใต้ผ้ากันยุงเป็นผิวหนังของมนุษย์ โดยสมุนไพรไล่ยุงที่เคลือบอยู่ในผ้าจะมีอายุการใช้งาน 1 ปี ซักได้ประมาณ 20-30 ครั้ง และไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่

ด้าน นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด เจ้าของแนวคิดและผลิตภัณฑ์จีวรกันยุง กล่าวว่า จากการศึกษาตัวเลขบุคลากรทางศาสนาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 313,267 รูป แบ่งเป็น พระภิกษุ 250,437 รูป สามเณร 62,830 รูป และพุทธศาสนิกชน จำนวน 46,902,100 คน โดยพระภิกษุ 1 รูป จะมีผ้าจีวรอย่างน้อย 2 ชุด และอย่างมาก 5-7 ชุด จึงมีมูลค่าตลาดอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ไม่นับรวมวัดไทยในต่างประเทศที่มีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรอยู่ประจำวัด

ล่าสุด พม่าและอินเดียได้มีการติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และมีการตั้งเป้าจะผลิต ผลิตภัณฑ์กันยุงในผ้าขาว ซึ่งสามารถนำมาตัดเย็บเป็นชุดปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน รวมทั้ง ชุดละหมาดของมุสลิมได้ สำหรับจีวรกันยุงจะมีราคาแพงกว่าจีวรทั่วไปประมาณ 10-20% ประมาณ 1,850 บาท

นักวิจัยใช้เวลาการคิดค้นจีวรกันยุงนาน 8 เดือน ใช้เงินไปกว่า 1 ล้านบาท

และในอนาคตเราจะได้ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับกันยุงด้วย.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท