อยากทราบความคิดเห็นค่ะ


จะเป็นอย่างไร ท่านคิด หรือมีความคิดเห็นอย่างไร หากเกิด พ.ร.บ. การจัดการปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน/พ.ร.บ.ควบคุมยาเสพติด/พ.ร.บ. ความมั่นคงของชุมชนและกองทุนภาคประชาชน ในฐานะเจ้าของปัญหา จะร่วมกันทำเพื่อลูกหลาน และบ้านของเขาเอง ด้วยวิถีทางแห่งเขาเอง ไม่ใช่ใครใช้

ในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมีหน่วยงานหลากหลายที่รับผิดชอบ และดำเนินการอยู่ โดยผลการป้องกันและแก้ไขกลับไม่สอดรับกับความเป็นไปของหมู่บ้าน/ชุมชน เพราะท้ายสุดของปัญหากลับตกอยู่ที่พื้นที่ ไม่ว่ามาตรการการปราบ การจับ หรือการกวาดล้าง นี่คือมาตรการทางกฎหมาย แต่ในสังคมของเราการใช้มาตรการทางกฎหมายไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ ในบางครั้งกลับเป็นการเพิ่มหรือสาดน้ำมันให้ลุกมากยิ่งขึ้น แล้วหนทางไหนล่ะที่จะแก้ไขได้หากไม่ใช่การแก้โดยการใช้วิธีแห่งชุมชน ที่ คน คน และคนในชุมชนร่วมกันคิดและร่วมกันแก้ไขปัญหาของตนเอง ในฐานะเจ้าของปัญหาใช่หรือไม่

 

ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คิดหรือกล่าวมาข้างต้น จะเป็นอย่างไร ท่านคิด หรือมีความคิดเห็นอย่างไร หากเกิด พ.ร.บ. การจัดการปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน/พ.ร.บ.ควบคุมยาเสพติด/พ.ร.บ. ความมั่นคงของชุมชนและกองทุนภาคประชาชน ในฐานะเจ้าของปัญหา จะร่วมกันทำเพื่อลูกหลาน และบ้านของเขาเอง ด้วยวิถีทางแห่งเขาเอง ไม่ใช่ใครใช้   

 

 

ในฐานะที่ทำงานด้านนี้จึงอยากทราบความคิดเห็นจากทุกท่าน...............

หมายเลขบันทึก: 265687เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

น้องทำงานด้านนี้ค่ะและอยากทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโดยยึดชุมชนเป็นฐานของการดำเนินงานอย่างแท้จริง จึงได้เขียนข้อความเพื่ออยากทราบว่าทุกคนคิดอย่างไรกับการแก้ไขปัญหาในรูปแบบนี้

อยากเชิญชวนทุกท่านที่ได้อ่านแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะคะเพื่อเป็นประโยชน์กับงานป้องกัน

น้องครับ เข้ามาจับจองพื้นที่

  • สำหรับความเห็นนั้น เห็นด้วยมากครับ 
  • และขอแสดงความเห็นด้วยโครงการที่กำลังดำเนินการเขียนนะครับ
  • กำลังยกร่าง "โครงการพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้ (KM-CoP Development) เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติดของภาคประชาชนในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง"
  • บอกเล่าความคืบหน้าตอนนี้ "ได้ทีมนำฯ ของโครงการครบแล้วนะครับ"

ขอบคุณค่ะสำหรับความคิดเห็นและพบกันวันที่ 9 นะค่ะ น้องนัดพี่ที่ทำ สกว.ด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • หลายฝ่ายหลายคนบอกว่า ชุมชนทำเองจะยั่งยืนนะคะ
  • เห็นด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความคิดเห็นที่ 5 ของ pa daeng ถือเป็นประโยชน์กับงาน

น้องครับ เห็นด้วยครับ หลายอบต.เขาออกกฎระเบียบภายในดำเนินการแล้วได้ผล กำนันแดงควนรูคุยให้ฟังว่าเขาใช้กระบวนของอปพร.เป็นตัวสกัดกั้นครับ

สวัสดีคะ เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ

หากได้รับการสนับสนุนจากส่วนอื่นก็จะเสริมแรงได้อย่างดีเชียวนะคะ

ขอบคุณค่ะบังหีมและพี่ปูที่ร่วมแสดงความคิดเห็นกับการต่อสู้ของประชาชนตัวจริง ของจริงไม่ใช้แสตนอินเลยจริง

ปัญหายาเสพติดนั้นมีรากลึกมากกว่าการอยากรู้อยากลองของวัยรุ่น, เสพแล้วติด, หรือแค่มันมีผลประโยชน์มหาศาลอยู่เบื้องหลังเท่านั้น แต่แท้ที่จริงหากเราไปพิจารณาเงื่อนไขของวัยรุ่น หรือผู้เสพว่าทำไมเขาจึงเสพ เราอาจพบว่าพวกเขาเหล่านั้นมีปัญหาทางด้านจิตใจที่เกิดจากความเป็นอยู่ สภาพความสัมพันธ์ภายในครอบครัว จากสังคมที่ลักลั่น (ระหว่างระบบชุมชนแบบเดิมกับสถานการณ์แบบใหม่) เป็นแรงกดดันให้เขาหาทางออกที่ไม่พึงปรารถนาของสังคม แต่มันเป็นทางออกของตัวเขาเอง

ทีนี้หากเรามามองสภาพของครอบครัว, ชุมชน, สังคมในปัจจุบันทุกคนต่างอยู่ในสภาวะที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอดจากภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัด ความเร่งรีบร้อนรนในการทำมาหากิน และความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เสื่อมถอยลง เมื่อมาเผชิญกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะกระแสโลกา(วินาศ)ภิวัฒน์ และการกระตุ้นการซื้อ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยภาคธุรกิจตั้งแต่ระดับโลกลงมาถึงระดับชุมชน ทำให้สิ่งยั่วยุต่าง ๆ โหมกระหน่ำเข้ามาสู่ผู้คนในสังคมด้วยรูปแบบวิธีการต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า เป้าหมายที่ต้องบรรลุคือการบริโภคสินค้าเหล่านั้น และแน่นอนว่าคงต้องได้มาด้วยการใช้เงิน ภาระในการหาเงินจึงต้องเพิ่มขึ้น ดังนั้นอะไรที่ไม่เป็นเงินก็เอาไว้ทีหลัง มีเงินพอแล้วค่อยว่ากันอีกที และความสัมพันธ์ ความห่วงใยเอื้ออาทรกันในสังคมต้องไปต่อแถวอยู่ข้างหลัง เมื่อปากท้องยังหิว! และคุณภาพชีวิตต้องแลกมาด้วยการมีเงิน การเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงก็คงเป็นเรื่องยาก แต่คงได้แค่เรียนรู้เพื่อจะอยู่รอดในระบบโลกา(วินาศ)ภิวัฒน์มากกว่า

แล้วเมื่อคนในสังคมอยู่กันในสภาพแบบนี้ คงไม่มีเวลามาดูแลผู้อ่อนแอ(ทางจิต) เพราะคนพวกนี้เป็นตัวถ่วง เป็นภาระของสังคมที่ต้องเร่งรีบร้อนรนทำมาหาเงินมาให้พอกับรายจ่าย (ไม่ใช่ตัดรายจ่ายให้พอดีกับเงินที่ได้มา) แต่ลืมนึกไปว่า ชีวิตที่"เร่งรีบ ร้อนรน" มันก็กลายเป็นการ "ละเลย" อะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรจะต้องรักษาให้คงไว้ หรือต้องปรับปรุง พัฒนาไปด้วยพร้อม ๆ กัน

เมื่อย้อนกลับมาดูวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหญ่ของขบวนการค้ายาเสพติด ชีวิตของพวกเขากลับเคว้งคว้าง ว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ พ่อแม่ของพวกเขา(ส่วนใหญ่)ต้องดิ้นรนทำมาหาเงินมาให้พอกับรายจ่าย ไม่มีเวลามาใส่ใจดูแลจิตใจของพวกเขา ไม่เข้าใจเขา แต่มี"เงิน"มาให้แทนความรักความเข้าใจ แทนการดูแลจิตใจ ทางออกของพวกเขาจะเป็นอย่างไร เขาจะชดเชยความเหงา ความว้าเหว่ของพวกเขาด้วยอะไร? ถ้าไม่ใช่การเที่ยวเตร่ เล่นเกมส์ ซิ่งรถ มั่วเพศ และ....ยาเสพติด ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มันมีรากเดียวกัน! คือครอบครัวไม่อบอุ่น สังคมอ่อนแอ อยู่แบบตัวใครตัวมัน

การปราบปรามอย่างรุนแรงนั้นอาจได้ผลเข้าตากรรมการ แต่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ รวมทั้งจะสร้างผลกระทบที่รุนแรงตามมาอีกด้วย! การปราบปรามนั้นก็แค่การตัดเงื่อนไขบางอย่างของปัญหาเท่านั้น แต่ไม่ใช่การไปแก้ปัญหาที่สาเหตุ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าเมื่อยาบ้าถูกสะกัดกั้น ยาเสพติดอื่น ๆ ก็จะถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เช่น 4คูณร้อย ฯลฯ เพื่อมาทดแทนสิ่งที่หาได้ยาก (และราคาก็แพงขึ้นไปอีกหลายเท่า) ทั้งนี้ก็เพราะรากของปัญหามันยังอยู่

ดังนั้นพ.ร.บ.ยาเสพติด ขออย่าได้เน้นที่การปราบปรามเพียงอย่างเดียว แต่ขอให้พิจารณาถึงรากของปัญหาที่รอบด้านมากกว่าการค้า การเสพ และการบำบัดทางร่างกายเท่านั้น! และอยากให้กฏหมาย(รวมถึงกระบวนการทำงาน)เอื้อให้มีการเชื่อมโยงการทำงานไปถึงการสร้างเงื่อนไขให้ครอบครัวอบอุ่น สังคมเข้มแข็ง เอื้ออาทรกัน รู้จักความพอดี พอเพียง มีอยู่มีกิน มีคุณภาพชีวิต (ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง) และเป็นรั้วอันอบอุ่นล้อมรอบลูกหลานของเราไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และมีแนวทางในการเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ เป็นคนรุ่นต่อไปที่จะนำพาชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ไม่ตกไปเป็นทาสของยาเสพติด และทาสของกระแสโลกา(วินาศ)ภิวัฒน์ และที่สำคัญก็คือทำยังไงจะให้ชุมชนเกิดความตระหนักรากของปัญหาที่เกิดขึ้น และเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีประสิทธืภาพมากกว่าคนภายนอกมาแก้ให้ แต่เข้าไปช่วยให้เขาเข้มแข็งขึ้น และมีวิธีการจัดการกับปัญหาในแบบที่เขาจะต้องอยู่ร่วมกันต่อไป ไม่ใช่แก้ปัญหายาเสพติด แต่กลับไปสร้างปัญหาใหม่แบบคนภายนอกเข้าไปทำ

นี่เป็นมุมมองหนึ่ง(ของคนที่เคยพยายามจะเข้ามาช่วย) และเชื่อว่ายังมีอีกหลาย ๆ มุมมองที่น่าสนใจครับ

ด้วยความนับถือ

ดินดำ

ขอบคุณค่ะคุณดินดำที่เสนอความคิดเห็นมา มีค่ามากค่ะสำหรับความคิดเห็นนี่ในฐานะคนคุ้นเคยกัน

หากมีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้อีกก็ยินดีนะครับ

แต่ระหว่างนี้อยากให้ทีมงานศึกษาเรื่อง "ระบบชุมชน"

ให้มาก ๆ เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงาน

ส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนจัดการกับปัญหาของตัวเอง

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ "เนียน" ครับ

ตัวอย่าง...ระบบชุมชน

ภายในชุมชนจะมีความสัมพันธ์กันทั้งแนวตั้งและแนวนอน

(เป็นญาติทางสายเลือด/แต่งงาน และเป็นเพื่อนเป็นเกลอกัน)

การเคารพนับถือกันทั้งในฐานะผู้อาวุโส, ฐานะ, ผู้มีความสามารถ,

ผู้มีบทบาททางสังคม ฯลฯ (สังคมมิติ)

ภายในชุมชนความสัมพันธ์ทั้งสองแนวนี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลา

ทั้งในการประกอบอาชีพ การทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ยามที่

เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งหากคนทำงานมองเห็น+เข้าใจระบบชุมชนนี้ เมื่อ

นำมารวมกับการเข้าใจจารีตประเพณี วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน

ก็จะสามารถนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น..

ดินดำ

ขอบคุณค่ะ คำแนะนำนี้เป็นเรื่องที่ ส.ศรัณ ต้องคิดและนึกอยู่ตลอดเวลาในการทำงานชุมชน เพราะชุมชนเป็นของมีชีวิตและรวมสิ่งมีชีวิตอยู่ทำให้มันมีหลายมิติ หลายมุม หลายเหลี่ยมและหลาย ๆๆๆๆ ที่เราเองหรือแม้แต่พื้นที่หรือคนในชุมชนเองบางคนก็มองเรื่องนี้ไม่ถึงว่า "มันคืออะไร" ส.ศรัณคงต้องศึกษาเรื่องหลากหลายเหล่านี้อีกนานค่ะ หากยังมีโอกาสได้เรียนรู้ และหากแม้ไม่ได้ทำงานนี้อีกก้ตามแต่ ส.ศรัณ เป็นคนที่อยากรู้(เรียน)อยาก(เห็น)ตลอดค่ะ สำคัญสุดคือ ชีวิตคือการเรียนรู้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท