ขยาย franchise “SHA” ระดับภูมิภาค


การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

สวัสดีทุกท่านค่ะ

หลังจากที่เราเปิดตัวโครงการ SHA แบบ grand opening ในส่วนกลางแล้ว ในเดือนมิถุนายน เดือนหน้านี้แล้วค่ะ สมาชิก SHA ทั่วประเทศ รอพบกับทีมวิทยากร-ขั้นเทพจากพรพ.และภาคีได้เลยค่ะ เราจะมาช่วยกันคิด ช่วยกันหา สูตรชง SHA ให้หวานมันกลมกล่อมตามใจชอบตามสไตล์ของแต่ละพื้นที่ค่ะ ในช่วงระหว่างรอการเดินสาย เราได้เชิญชวนสมาชิก SHA มาเรียนรู้เครื่องมือ ชง SHA ชั้นยอดสองอย่างคือ Outcome mapping และ narrative medicine ที่แม่ต้อยเล่าให้ฟังไปแล้วค่ะ เมื่อพร้อมแล้วเราจะออกเดินสายทันทีค่ะ  โดยเริ่มจากใต้ก่อนค่ะ

ครั้งที่ 1 (ภาคใต้) วันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2552 ที่รร.เจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา  ขอเรียนเชิญสมาชิกของรพ.ที่เข้าอบรม OM และหลักสูตร Narrative medicine พบปะ ร่วมเป็นวิทยากรในวันดังกล่าวด้วยค่ะ

ครั้งที่ 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) วันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2552 จัดที่ รร.พูลแมน จ.ขอนแก่น ค่ะ ขอเรียนเชิญสมาชิกของรพ.ที่เข้าอบรม OM และหลักสูตร Narrative medicine พบปะ ร่วมเป็นวิทยากรในวันดังกล่าวเช่นกันค่ะ ที่ขอนแก่นนี้ พี่กุ้ง สุธีรา..พิมพ์รสจากหอผู้ป่วย สาม ง. รพ.ศรีนครินทร์ จะมาร่วมเล่าประสบการณ์การจัดการหลังการสูญเสียค่ะ( Bereavement  care)  พอลล่าขอแจ้งประเด็นการพูดคุยในเวทีของพี่กุ้งทางบล็อกนะคะ รายละเอียดเพิ่มเติมน้องๆในทีมจะประสานงานพี่กุ้งไปนะคะ ขอบคุณค่ะ

“ขอให้พี่กุ้งเน้นกระบวนการรับรู้ความรู้สึกของญาติ มากกว่าวิธีการทำค่ะ หากพี่กุ้งเชื่อมโยงเข้ากันได้เนียน ก็จะดูดีมากค่ะ อิอิ...เราคาดหวังให้เกิดการรับรู้ความรู้สึก การซึมซับความรู้สึกจากญาติและผู้เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขให้มากขึ้นค่ะ ” (มีอะไรที่ผลักดันให้พี่กุ้งทำเรื่องนี้ค่ะ จุดเปลี่ยนของความคิดอยู่ที่ไหนคะ) 

พี่กุ้งเคยเขียนไว้แล้วค่ะ แต่ขอให้พี่รวบรวมและเน้นย้ำด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลของพี่ นะคะ ฟังแล้วเกิดกระตุกต่อมคิดและหัวใจคนฟังเลยค่ะ จริงๆแล้วพอลล่าชอบกลอนของคุณลุงมากๆค่ะ ได้ใจสุดๆค่ะ

ครั้งที่ 3 (ภาคเหนือ) วันที่ 25 – 26 มิถุนายน 2552 จัดที่ รร.เซ็นทรัล ดวงตะวัน เชียงใหม่ค่ะ ขอเชิญ รพ.ที่อยู่ในภูที่อยู่ในโครงการฯภูมิภาคนี้เข้าร่วมค่ะ

ครั้งที่ 4 (ภาคกลาง) วันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2552 ค่ะ ที่รร.หลุยส์แทเวิร์น ถ.วิภาวดี รังสิต จ.กรุงเทพ ค่ะ

ลองดูกำหนดการ กันก่อนนะคะ

            กำหนดการวันแรก

 

เวลา

กำหนดการ

วิทยากร

0900 - 0930

วัตถุประสงค์โครงการฯ

การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน

นพ.อนุวัฒน์  ศุภชุติกุล ผอ.สถาบันฯ

อ.ดวงสมร บุญผดุง รองผอ.สถาบันฯ

0930 -1030

การเชื่อมโยง  HA สู่ SHA   (Workshop)

 

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล   ผอ.สถาบันฯ

.ดวงสมร   บุญผดุง  รองผอ. สถาบันฯ

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิพงษ์  รพ.มหาราชนครราชสีมา

. เรวดี    ศิรินคร  ผู้เยี่ยมสำรวจ พรพ.

1030 -1100

พักรับประทานอาหารว่าง

 

1100 - 1200

การเชื่อมโยง  HA สู่ SHA  (Workshop) (ต่อ)

 

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล  ผอ.สถาบันฯ

.ดวงสมร   บุญผดุง  รองผอ.สถาบันฯ

นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิพงษ์ รพ.มหาราชนครราชสีมา

. เรวดี     ศิรินคร ผู้เยี่ยมสำรวจ พรพ.

1200 -1300

รับประทานกลางวัน

 

1300- 1400

 

หลักการให้บริการผู้ป่วยด้วย มิติทางด้านจิตวิญญาณ

กรณีศึกษา  : การดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย  ( Bereavement  care)

คุณสุธีรา  พิมพ์รส รพ.ศรีนครินทร์  จ.ขอนแก่น

1400 – 1630

เขาทำกันอย่างไร….ให้สู่  SHA

·       เศรษฐกิจพอเพียง  การสร้างเสริมสุขภาพ 

และ การทำงานกับชุมชน

 

·       Humanized  health  care

 

คุณชญานิษฐ์  บุตรดี  รพ.อุบลรัตน์  . ขอนแก่น

 

 

นพ. นิวัฒน์ชัย  นามวิชัยศิริกุล

รพ. ประทาย จ. นครราชสีมา

 

 

กำหนดการวันที่ สอง

 

เวลา

กำหนดการ

วิทยากร

0900 -1200

สร้างความฝัน ผลักดันให้เกิด  SHA (Work shop) 

.ดวงสมร  บุญผดุง  รองผอ.สถาบันฯ

นพ. วราวุธ   สุรพฤกษ์  พรพ.

ทีมวิทยากร พรพ. และวิทยากรพื้นที่

1200-1300

พักรับประทานอาหารกลางวัน

 

1300-1630

สร้างความฝัน….. ผลักดันให้เกิด  SHA  (Work shop)  ต่อ

.ดวงสมร  บุญผดุง รองผอ.สถาบันฯ

 นพ. วราวุธ   สุรพฤกษ์  พรพ.

ทีมวิทยากร พรพ. และวิทยากรพื้นที่

 

สมาชิก เพื่อน ๆ พี่ๆ น้องๆ อยู่ใกล้ ไกล ก็สามารถมาทักทายกันได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 264648เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

พอลล่าจ๋าพี่กุ้งมารับงานเเล้วค่ะ สิ่งที่พี่กุ้งจะต้องพูดให้เตรียมเป็นสไลด์ใช่มั๊ยคะ

มีการตั้งวงเเลกเปลี่ยนหรือไม่ ที่สำคัญเท่าที่พี่กุ้งฟังเเม่ต้อย

มิติจิตวิญญาณจะเป็น partนึงเนาะ เเล้วก็ bereavement จะเป็นอีก part

เเสดงว่าให้เวลาพี่กุ้ง part ละ 30 นาที o.k.นะ จะพยายามทำให้ดีที่สุดเด้อพอลล่า

พี่กุ้งคะ

bereavement เป็นเรื่องเดียวกับ เป็นการสร้างมิติทางจิตวิญญาณค่ะ1 ชม.เลยค่ะ ทำ PPT แล้วแต่พี่กุ้งถนัดค่ะ

พี่กุ้งทำได้ค่ะ สู้ๆๆ

พอลล่าลืมถามพี่ไปว่า...พี่คุยกับแม่ต้อยไว้แบบไหนคะ อิอิ

เเม่ต้อยว่าอย่างนี้ค่ะพอลล่า ให้พี่กุ้งพูดเน้นย้ำในเรื่องความต้องการในมิติจิตวิญญาณใน

คนที่มารับบริการส่วนของ OPD ด้วย ER ด้วยหรือจุดอื่นที่ไม่เฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ถ้าเเบบนี้เหมือนจะให้พี่กุ้งเเยกคนละส่วน เพราะ

Bereavement care จะเป็นเรื่องการดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสียคราวนี้ถ้าอย่างพอลล่าพูดเหมือนจะให้พี่กุ้งพูดในเเนวดูแลด้วยจิตวิญญาณ ดูแลด้วยหัวใจใน Bereavement care คือเฉพาะกลุ่มสูญเสีย

เอาดีดีนะพอลล่าเดี่ยวพี่กุ้งหน้าเเตก ยิ่งเห็น schedule แล้วเกิดอาการเครียดขึ้นมาซะอย่างงั้น

พี่กุ้งคะ สรุปอย่างนี้ดีไหมคะ

เป็นเรื่องมิติความต้องการทางจิตวิญญาณ การรับรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ และพี่ยกตัวอย่างเรื่องการดูแลเพื่อให้ผ่านพ้นระยะเศร้าโศก เป็นกรณีตัวอย่างค่ะ พอลล่าอาจจะอธิบายไม่เข้าใจ เพราะอาจจะเป็นภาษาเขียน เอาเป็นว่า วันจันทร์จะโทรหานะคะ

อย่าเครียดค่ะ อย่าเครียด สบายๆ

สวัสดีค่ะ ขอแจมด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาแลกเปลี่ยนนะคะ

เรื่องที่ดูแลหลังการสูญเสียเป็นเรื่องที่ทำเป็นทีมและขบวนการ

ต้องเริ่มตั้งแต่ที่รู้การวินิจฉัย...การคาดการณ์...การพยากรณ์โรค

ต้องดูแลแบบให้ได้ใจ...ให้มีความรู้สึกดีๆต่อกัน....

ความปวดจัดการอย่างไร...ไม่ไห้เขาทุกข์ทรมาน...

ดูแลใส่ใจเรื่องจิตใจ...ห่วงใย...ถามไถ่...

แม้ลูกจากไปก็ยังเป็นความรู้สึกดีๆ...

เขาจะปรับตัวได้เร็ว...

ใช่แล้วค่ะพี่เเดง อาจารย์ชาตรีจะพูดอยู่เสมอนะคะ bereavement care ต้องเริ่มตั้งเเต่ beaking bad news เเละกุ้งเองก็พูดอยู่เสมอเเละพี่เกศก็สอนตลอดค่ะว่างานทุกอย่างที่ช่วยเหลือคนไข้เราก็ทำเป็นทีม เเต่เรื่อง bereavement care ทีมจะให้การสนับสนุนและเชื่อมโยงกุ้งจะทำหน้าที่ bereavement co-ordinator เพราะจะคุยกันในที่ประชุม palliative care ทุกครั้ง และกุ้งก็บันทึกส่งต่อให้กับทีมการพยาบาลใน ward 3ง เชื่อมโยงอยู่นะคะ

พอลล่าวันจันทร์พี่กุ้งจะรอรับโทรศัพท์นะ

สวัสดีคะ พี่ครูป้อม P. KRUPOM

ดีจังค่ะ มาแจมบ่อยๆนะคะ พี่

ขอบคุณนะคะ จุ๊ฟฟฟ

สวัสดีค่ะ พี่แดง P. แดง

ขอบพระคุณพี่แดง ผู้มากมีประสบการณ์ค่ะ

หวังว่าคงได้เรียนรู้ร่วมกันอีกนะคะ พี่สาว

จะรอต้อนรับแม่ต้อยและน้องพอลล่าคะ

สวัสดีค่ะ

จะรอต้อนรับด้วยไมตรีจิตของคนขอนแก่นค่ะ

อยากเจอแม่ต้อย...ได้ข่าวแว่วๆว่า สวยและใจดีสุดๆ

สวัสดีค่ะ คุณพี่สาวP. ประกาย~natachoei ที่~natadee

น้องๆ พอลล่าก็ไปค่ะ

ต้อนรับด้วยนะคะ

คิดถึงทุกคนเลย อยากไป สาม ง อีกค่ะ

สวัสดีคะ พี่แดง P. แดง

ขอไปสามง อีกครั้งค่ะ

ไปเยี่ยมน้องๆ ค่ะ

สวัสดีคะน้องพอลล่า

มา สาม ง อีกนะคะ จะพาไปถึงเตียงผู้ป่วยนะคะ

และพาไปเยี่ยมผู้ป่วยผู้ใหญ่ด้วย

พี่สอบถามนิดหนึ่งนะคะ ว่าใครได้เข้าเรียนบ้าง คะ

พี่จะแอบไปเรียน โดยลาพักร้อนดีไหม

สวัสดีคะ คุณพี่ประกาย P. ประกาย~natachoei ที่~natadee

ไม่ต้องแอบค่ะ มาได้เร้ย อิอิ

สวัสดีคะน้องพลอลล่า

งานนี้สงสัยจะแห้ว ไม่รู้จะได้ไปเรียนด้วยไหม

คนที่หนึ่งไปอบรมไกล

อีกคนบอกต้องไปช่วยอบรม SHA

เหลือพี่อยู่สำนักงาน พี่จะแอบแวบไปดูเป็นระยะ

เรียน อ.ดวงสมรและทีมงาน SHA

            เปิ้ลและทีมงาน รพ.บ้านลาดได้เข้าร่วมโครงการ สร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน เปิ้ลคิดว่าการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนนั้นมองได้ 2 ด้าน คือ

  1. ด้านบุคลากรสาธารณสุข / ทีมงานจาก รพ. ต้องเปลี่ยนแนวคิด (Concept) และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลงสู่การปฏิบัติ (Act) โดยทีมงานของโรงพยาบาลต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) ก่อนเป็นอันดับแรก ที่จะไปชวนประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายที่อยู่ในชุมชน ซึ่งต้องมีบุคคลที่มีพลังสร้างสรรค์ (Creative) และพลังความสามารถ (Synergy)  เป็นบุคคลที่ประชาชนในชุมชนให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ นับถือ เข้าใจในความหวังดีและเป็นบุคคลที่พร้อมร่วมทุกข์ ร่วมคลุก ร่วมสุข พร้อมกับจูงมือชุมชนเพื่อลงไปร่วมกันแก้ปัญหาให้กับชุมชนและยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสาร(Communication) การเจรจาต่อรอง เพื่อให้ภาคีเครือข่าย เช่นองค์การต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อาสาสมัคร สาธารณสุขชุมชน ฯลฯ เข้ามาร่วมงานของชุมชนให้เกิดเป็นรูปธรรมหรือเกิดโครงการที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
  2. ด้านประชาชนและกลุ่มภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ผู้ที่เป็นจิตอาสาที่จะร่วมพัฒนาโครงการ (Project) หรือกิจกรรม (Activity) ให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนที่ฝังติดแน่นไว้กับชุมชนตลอดไป ซึ่งจะเกิดเป็นจริงได้ต้องเกิดจากกระบวนการ (Process) พูดคุยของคนในชุมชน  ที่แสดงออกถึงความต้องการทั้ง Want และ Need ของชุมชน หรือกลุ่มคนที่มีความต้องการร่วม ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการ การมีส่วนร่วม ซึ่งประกอบไปด้วย

1.      ร่วมคิด (พูด  คุย  ปรึกษา  หารือ) สิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น สิ่งที่อยากจะเห็น อยากจะให้เป็นตามที่ต้องการ

2.      ร่วมทำ / ร่วมปฏิบัติ (ลงมือทำร่วมกัน ซึ่งอาจจะแบ่งหน้าที่กันทำ ตามความถนัดของแต่ละบุคคลเพื่อให้งานบรรลุได้ในเวลาไม่ยาวนานมากนัก เห็นผลลัพธ์)

3.      ร่วมทุน (อาจจะไม่ใช่เงินอย่างเดียว)  ทุนทางเวลาที่มาประชุม พูดคุยกัน ทุนแนวคิดเพื่อแก้ปัญหา วัสดุอุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้ รวมถึงสถานที่และสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน

4.      ร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ  กิจกรรมเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามกำหนด  มีความครบถ้วน  ความสมบูรณ์  ตลอดจนปัญหาข้อขัดข้องที่จะทำให้การทำงานไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

5.      ร่วมประเมินผลลัพธ์จากการทำงาน  ซึ่งการประเมินผลอาจจะเริ่มจากก่อนนำโครงการสู่การปฏิบัติ  ระหว่างการปฏิบัติ หลังปฏิบัติ  ซึ่งอาจจะตรวจสอบเป็นระยะ ๆ ตามมติที่ประชุมได้คาดหวังไว้

6.      ร่วมรับผลประโยชน์

 

เปิ้ลคิดว่า Outcome mapping คือ การส่งเสริม การเติมเต็มให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง  และยั่งยืนอยู่บนความสามารถของชุมชนโดยนำปัญหา  ความต้องการการพัฒนาเป็นตัวตั้ง (เป้าหมายการทำงาน)  โดยทีมจาก รพ. เป็นผู้กระตุ้น ยั่วยุ  สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายที่เป็น  Direct  Partnership มาร่วมมือ  ลงมาคลุก  ลงมือทำ  ลงมือแก้ไขและถ้ามีปัญหาก็ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ตลอดเวลา เพื่อให้งานสำเร็จ  และเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Change  ประชาชนที่เป็นผู้รับผลการเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Leaning) สุดท้ายความสุข ความสมหวังก็จะเกิดกับทุก ๆ คนนะคะ

 

สมศรี  นวรัตน์  รพ.บ้านลาด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท