การจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ


ถึงแม้ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานภัยธรรมชาติก็ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไปจงได้ สำหรับอำเภอท่าฉางมีเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติด้านพืช ปี 2550/2551 มีจำนวน 387 ราย  เงินช่วยเหลือ 1,819,548.00(หนึ่งล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันห้าร้อยสี่สิบแปดบาทถ้วน)   
หลังจากจังหวัดได้รับแจ้งจากกรมฯ ว่า ครม. อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติ ข้าพเจ้าก็ต้องตรวจสอบรายชื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่แต่ละตำบลนำไปแจ้งเกษตรกรที่มีรายชื่อไปแจ้งในตำบล รวมถึงแจ้งในที่ประชุมกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนด้วย  ก่อนหน้านั้นก็แจ้งรายชื่อให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรแล้วว่ารายใดเป็นลูกค้ามีเลขบัญชีแล้วก็ใส่ได้เลย แต่ไม่มีการตอบกลับแต่ประการใดจากทางธนาคาร ก็เลยให้เกษตรกรนำสำเนาเลขบัญชีที่มีชื่อเกษตรกรอยู่ และต้องเป็นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เท่านั้น จะเป็นสาขาใดก็ได้ โดยรัฐจะโอนเงินเข้าทางบัญชีให้ เมื่อถึงเวลาที่เกษตรกรนำเลขบัญชีมาให้
ขั้นตอนที่ปฏิบัติต้องวางแผนการปฏิบัติมิฉะนั้นรับรองว่ามั่วแน่ๆ หลังจากเก็บรวบรวมเอกสารแล้ว (แต่ยังไม่ครบน่ะ)
1. ก่อนอื่นก็ต้องมาแยกตำบล เพราะตอนมาส่งต่างคนก็ต่างมาส่งปนกันมั่วไปหมด  
2. หลังจากแยกตำบลแล้วมาแยกหมู่บ้าน
3. หลังจากนั้นก็มาเรียงตามลำดับเลขที่อีกครั้งหนึ่ง
4. แล้วก็มาแยกรายชื่อของพืช ประมง ปศุสัตว์ เพราะตอนบันทึก บันทึกรวมทั้งหมดสืบเนื่องจากเลขบัตรที่บันทึกซ้ำกันไม่ได้
5. เมื่อแยกกิจกรรมแล้วก็บันทึกเลขบัญชี งานนี้มีมั่วมาเหมือนกัน เพราะบางรายไม่มีชื่อเสียหายก็มีสำเนามาให้ปวดหัวเล่นๆ หลายราย หาเกือบตาย
6. แล้วมาแยกสาขาของธนาคารอีกครั้งหนึ่ง โดยบันทึกคนละๆไฟล์กัน
ปัญหาที่ประสบกับตนเองก็คือ
1. เกษตรกรที่มาแจ้งความเสียหาย กับตอนนำเลขบัญชีมาให้เป็นคนละคน อย่างเช่น สามี/ภรรยา  พ่อ/ลูก  แม่/ลูก อาจจะเป็นว่าจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนแจ้งก็เป็นได้
2. ธกส. สาขาท่าฉาง  เมื่อเกษตรกรไปเปิดบัญชีต้องทำบัตร ATM ทุกคน อาจจะเป็นนโยบายของแต่ละสาขาก็เป็นได้ ลูกค้าต้องรอนานอย่างน้อยรายละ ครึ่งชั่วโมงจึงจะเปิดบัญชีได้
3. เกษตรกรบางรายไม่สนใจ หรือไม่ทราบก็เป็นได้ ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่โทร. ไปแจ้งหลายๆ ครั้งก็ตาม หรืออาจจะเป็นเพราะเงินตอบแทนหรือการช่วยเหลือมันน้อยเกินไปถึงไม่ได้สนใจ หรือผู้ใหญ่บ้าน/กำนันไม่ได้ไปบอก หรือไม่ได้เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านก็เป็นได้
4. ที่อยู่ของเกษตรกร  กับพื้นที่ความเสียหายอยู่คนตำบล หรืออยู่คนละหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่แจ้งผิดตำบล หรือผิดหมู่บ้านก็เป็นได้
(อีกไม่กี่วันรัฐก็จะโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว คงจะมีเรื่องให้บันทึกอีก พอหอมปากหอมคอ)
คำสำคัญ (Tags): #การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 263730เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่กั๊กบอกเองว่า ว่าตำแหน่งเรา ๆ ต้องทำได้ทุกอย่างค่ะ

เพื่อนน้องที่นคร ต้องทำน้ำท่วมให้เสร็จก่อน ถึงจะคลอดได้ค่ะ..ขำดี..

หากแพทย์นัดผ่าคงไม่เท่าไร แต่ถ้าเกิดเองสงสัยเป็นหมอตำแยกันทั้งสำนักงานฯ 5555555

  • จะยิ้มหรือสงสารน้องๆ ดี
  • รู้ เข้าใจ ว่าเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร
  • อมยิ้มด้วยความภูมิใจ ปน เห็นใจ กับบุคลากร รากหญ้า ของกรมฯ ครับ
  • ยิ้ม และขำโดยรวมไปเถอะน่ะ จะได้ไม่เครียด
  • เครียดไปก็แก้ไขอะไรไม่ได้เลย
  • มันเป็นของมันอย่างนี้แหละ...
  • ขอเป็นกำลังใจให้สู้ ๆ สำหรับคนทำงาน

เอาใจช่วยอีกคนนะค่ะ

ของน้องตั้ง 1084 ราย ตรวจสอบตาสายหมดแล้ว

  • ขอบคุณมากๆ ค่ะคุณหนุ่มร้อยเกาะ คุณชาญวิทย์ขนครศรีฯ
  • ขอส่งแรงไปช่วยonuam อีกแรงน่ะจ่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท