เพราะเราสอนหนังสือ เพราะเราเรียนหนังสือ


วิชาความรู้กับวิชาคนสิ่งในสำคัญกว่า?

-  การศึกษาช่วยพัฒนาความเจริญของสังคมได้จริงหรือ?  

-  เพราะเราสอนหนังสือ  เพราะเราเรียนหนังสือ?

-  ทำไม่เราไม่เรียนวิชาคน  สอนวิชาคน?

                บ้านเมืองเราทุกวันนี้เกิดความวุ่นวายก็เพราะว่าเรามัวแต่ สอนหนังสือ เรียนหนังสือ ซึ่งความจริงแล้วไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เมื่อครั้งในอดีตเราเคยเข้าใจว่าเรียนหนังสือ สอนหนังสือ ที่ผู้ใหญ่เขาสั่งสอนไว้เป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรากลับมานั่งคิดอีกทีปรากฏว่ามันไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดีแล้ว เพราะเราผ่านกระบวนการเหล่านั้นมา คนมีความรู้ก็จริงแต่ไม่มีความรู้วิชาคน วิชาชีพ

                ครั้งหนึ่งเมื่อเรายังเด็ก  เราเห็นกระทรวงศึกษาธิการบอกว่า  ความรู้คู่คุณธรรม  จนกระทั่งมาปัจจุบันนี้เปลี่ยนมาเป็น  คุณธรรมนำความรู้  ซึ่งก็นับว่ามาถูกทาง  แต่ในทางปฏิบัติหาเป็นเช่นนั้นไม่  เรายังส่งเสริมแต่คนเก่ง  เพราะในสังคมการศึกษาเราจะพูดถึงเรื่องเกรด  อยากให้เน้นเกรดวิชาคนมากกว่าความรู้  ดังนี้  ครูยอมเห็นศิษย์สอบตกหลายครั้ง  ดีกว่าเห็นศิษย์ไม่มีคุณธรรม  จริยธรรมเพียงครั้งเดียว

                ถ้าถามว่าเรื่อง วิชาความรู้กับวิชาคนสิ่งในสำคัญกว่า?  ขอให้เหตุผลโดยใช้เรื่องที่เกิดขึ้นจริงอธิบายดังนี้  เมื่อครั้งอินเดียตกเป็นเมืองขึ้น  ได้เกิดมีวีรบุรุษคนหนึ่งชื่อ  คานธี  นายคานธีคนนี้เมื่อครั้งยังเด็กเขาเคยโกหกแม่  เพื่อที่จะได้ทานข้าวเช้า   เพราะแม่ของเธอจะออกมาทานข้าวเช้าก็ต่อเมื่อได้ยินเสียงนกเขาขัน (ขอเปลี่ยนเป็นนกโกกีลา  เดี๋ยวนกเขาไม่ขันมันจะแย่)  เท่านั้น  วันนั้นนกตัวนั้นไม่สบาย  คานธีหิวข้าวเลยต้องเลียนเสียงนก  ซึ่งแม่ก็ไม่ได้ได้ว่าอะไร  แม่ก็ออกมาตามเสียงนก  แม่กำลังจะกินข้าวก็เหลือบไปเห็นคานธี  จึงเรียกมาหาพร้อมบอกว่า  วันนี้นกไม่สบายเสียงจึงเปลี่ยนไป  ซึ่งคานธีก็ไม่ได้พูดอะไร  แม่จึงพูดต่อไปว่า  แม่ยอมอดข้าวได้ทั้งชีวิตของแม่ แต่แม่จะทนเห็นลูกแม่โกหก ไม่มีสัจจะเพียงครั้งเดียวไม่ได้ หลังจากนั้นสิ่งนี้ก็ได้จารึกไว้ในสมองของคานธีมาตลอด จนเขาสามารถที่ใช้มันเป็นเครื่องมือในการต่อรองจนอินเดียได้รับเอกราช หรือครั้งหนึ่งที่คานธีถูกเชิญไปแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด แต่ด้วยการแต่งตัวที่ดูไม่ได้ของคานธีทำให้ รปภ.  ไล่กลับบ้าน  และคานธีจึงพูดว่า  เธอจะเอาความคิด เอามันสมองจากเราหรือจะเอาเรามาใส่ชุดสูท เป็นสิ่งที่เห็นแล้วรู้สึกประทับใจ ไม่เห็นต้องเรียนเก่ง แต่ทำไมสามารถเรียกร้องเอกราชได้

                ถึงเวลาแล้วที่เราควรคิดว่า  เราจะสอนคนเก่งไปทำไม?  เราจะสอนหนังสือหรือเรียนหนังสืออย่างเดิม  หรือว่าเราจะมาสอนวิชาคน  เรียนวิชาคน

หมายเลขบันทึก: 260721เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ คุณ

ผมชอบ คำนี้มาก ครับ

ครูยอมเห็นศิษย์สอบตกหลายครั้ง  ดีกว่าเห็นศิษย์ไม่มีคุณธรรม  จริยธรรมเพียงครั้งเดียว

ขอบคุณ ครับ

 

P เล็ก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท