ข้อเสนอหัวข้อการศึกษาเรื่อง แนวคิดพื้นฐานในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระดับดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


การศึกษาวิจัยนี้วางอยู่บนสมมุติฐานว่า กฎหมายที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะแนวคิดทางหลักกฎหมายไม่ชัด กฎหมายที่มีอยู่ไม่มปีระสิทธิภาพ รวไมปถึง การพัฒนากฎหมายที่ไม่สามารถใช้บังคับได้จริง งานวิจัยชื้นนี้ขจึงมุ่งเน้นการศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายที่จำเป็นต่อการจัดการปัญหาเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ใช้ได้จริง

ข้อเสนอหัวข้อระดับดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์เรื่อง "แนวคิดพื้นฐานในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ " โดยมีเค้าโครงการนำเสนอใน ๗ ประเด็น

ประเด็นแรก คำนิยามคำว่า "เครือข่ายสังคมออนไลน์" ซึ่งเป็น วัตถุและขอบเขตของการศึกษา

ประเเด็นที่สอง ความน่าสนใจและความท้าทายเชิงแนวคิด ทั้งในเรื่องของ หลักการเรื่องการจัดสรรเอกชนบนโลกเครือข่าขสังคมออนไลน์ และ กฎหมายที่มีอยู่กับหลักกฎหมายที่ปรากฎภายใต้กฎหมายลายลักษณ์อักษร

ประเด็นที่สาม สมมติฐานของการศึกษาที่ว่า กฎหมายที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงต่อการจัดการปัญหาเครือข่ายสังคมออนไลน์

ประเด็นที่สี่ หลักการและเหตุผลของการศึกษา

ประเด็นที่ห้า เป้าหมายของการศึกษา เพื่อนำไปสู่การ (๑) ความรู้ทั้งในเรื่องข้อเท็จจริง และ ข้อกฎหมายที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น นิติศาสตร์โดยแท้ นิติศาสตร์โดยข้อเท็จจริง และ นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (๒) เพื่อพัฒนาแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายที่จำเป็นต่อการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

ประเด็นที่หก วิธีการศึกษา ทั้งการศึกษาจากตำรา เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเชิงประจักษ์ และ การจัดเวทีวิชาการ ทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์

ประเด็นสุดท้าย ประโยชน์ที่ได้รับ ก็คือ หลักกฎหมายพื้นฐานในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

หมายเลขบันทึก: 260714เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ตามมาอ่าน
  • ดีใจๆๆที่พบอาจารย์
  • ชุดนี้ทำงานวิจัยปริญญาเอกของอาจารย์ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ

ใช่ครับ เป็นหัวข้อที่เสนอระดับ ป.เอก

อาจารย์ขจิตเป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ด้วย

เราคงได้หารือกันครับ

อาจารย์คะ

เอาใจช่วยคะ เพราะในมุมของผู้ดูแลต้องบอกว่าการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์มีหลายมิติ จะบอกว่ามีความคล้ายกับสังคมออฟไลน์ก็ไม่เชิง มีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างฝังอยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ยินดีครับ ยินดี ตามไป มอ หาดใหญ่ด้วยกันไหมครับอาจารย์

ยังไม่ลงตัวเลยครับ เรื่อง ไปเรียนรู้ที่ มอ แต่ผมกับ อ.แหวว อยากไปมากครับ อยากไปเรียนรู้แนวคิดในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

เครือข่ายสังคม โกทูโน ตอนนี้มีกติกาในการจำแนกตัวบุคคล ระบุตัวบุคคลที่เข้ามาใช้งานอย่างไร เรื่องนี้เป็นประเด็นแรกของการศึกษาเลยครับ

ต่อมาก็คือ กติกาที่โกทูโนใช้กับเครือข่ายอันนี้เห็นชัด แต่อยากรู้เพิ่มเติมว่า มีอุปสรรคในการดำเนินการไหม

ที่สำคัญต่อมาก็คือ สังคมโกทูโน กับ learner มีการเชื่อมต่อกันอย่างไร และ มีการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆอย่างไร

ที่ผมเห็นเป็นประเด็นอีกเรื่องก็คือ cC ครับ ทำไมโกทูโนถึงใช้เรื่องนี้ในสังคมโกทูโน

ถามเยอะไปไหมครับเนี่ย

เร่มต้นเก็บข้อมูลแล้วหละครับ

สวัสดีค่ะ นักศึกษาปริญญาเอก

ขยันตามเคย

  • สวัสดีค่ะ มาสมัครเข้าเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ค่ะ  ขออนุญาตติดตามกระบวนการค้นคว้าวิจัยจนจบหลักสูตรค่ะ

อย่าลืมไปอ่านที่ท่านอาจารย์มีชัยกะอาจารย์แหววคุยเรื่อง e-community

http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&cateid=&action=view&id=035041#q

ฮาดีค่ะ คนเชื่อในอำนาจของรัฐอธิปไตยคงต้องร้องไห้ในอนาคตอันไม่ไกลนัก

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท