สังเกต-ปัญหา-สมมุติฐาน : อุปนัย?


เราพบเพื่อนคนหนึ่งในตลาด  ดูหน้าตาเขาเครียด  ไม่ค่อยยิ้มแย้ม  คุยไปๆ  ก็รู้ว่า  เขาไม่ค่อยมีเงิน เนื่องจากถูกออกจากงาน  เหมือนๆกันกับเพื่อนบ้านของเราบางคน  ที่มีพฤติกรรมคล้ายๆกัน  เนื่องจากถูกออกจากงาน  สอดคล้องกับข่าวสารทางวิทยุโทรทัศน์ที่ออกข่าวอยู่ทุกคืนว่าเศรษฐกิจของบ้านเมืองและของโลกกำลังฝืด  ผลจากการสังเกตเหล่านี้  ทำให้เราสงสัย  คิด แต่หาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้  จึงเป็นปัญหา และได้ตั้งเป็นปัญหาหาขึ้นมาว่า  เศรษฐกิจทำให้คนหงุดหงิดหรือเปล่า?  การขาดเงินทำให้คนเครียดหรือไม่?  ฯลฯ

เมื่อมีปัญหา  ก็มักจะตอบปัญหาในใจไปด้วยเสมอ  เช่นอาจจะตอบว่า 

เศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนหงุดหงิด

เศรษฐกิจไม่ดีทำให้คนเครียด

ถ้าปัญหาข้างบนเป็นปัญหาการวิจัยแล้ว คำตอบดังกล่าวก็เป็น "สมมุติฐาน"

คราวนี้เราลองกลับไปดูตั้งแต่ประโยคแรกเป็นต้นมา  จะเห็นว่า  เราเริ่มต้นจากการ "สังเกต" ข้อเท็จจริงในธรรมชาติ  สังเกตเพียง "บางส่วน" ของทั้งหมด  แล้วเรา "สันนิษฐาน" (Inferred ) หรือ "อุปนัย" เอาว่า "คนส่วนใหญ่เครียด"  และเรา "อธิบาย" ว่า "เศรษฐกิจทำให้คนเครียด" ข้อสรุปที่ว่า "คนส่วนใหญ่เครียด"นี้เป็น "หลัก" (Principle) และ "เศรษฐกิจทำให้คนเครียด" เป็น "ทฤษฎี" จะเห็นว่า  กระบวนการนี้เป็นกระบวนการคิดแบบ "อุปนัย" ( Induction)  มันมี "ความไม่แน่นอน" หรือ "ความน่าจะเป็น" (Probability) ซ่อนอยู่

ต่อมา  เราใช้หลักนี้เป็น "คำถาม"  หรือ "ปัญหา"  จึงเป็นปัญหาเชิง Probability อย่างไม่ต้องสงสัย

และจากปัญหาก็ไปเป็น "คำตอบ"  และคำตอบนี้ก็คือ "Hypothesis" ใช่หรือไม่ ?  และก็มีนัยของความน่าจะเป็นซ่อนอยู่เช่นกัน !!!

และราทดสอบสมมุติฐานนี้ด้วยความน่าจะเป็น  p = .05

สรุปว่าทั้งเรื่องที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของ  การอุปนัย  และความน่าจะเป็น

ก็เพราะว่าเรื่องทั้งสองนี้ คู่กัน

การวิจัยที่เราทำกัน  ส่วนใหญเราทำกันเช่นนี้ใช่ไหม?

นี่ไงละ  การวิจัยโดยเฉพาะการทดลอง  ที่แท้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุปนัยเกือบทั้งเรื่อง !!!

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย อุปนัย
หมายเลขบันทึก: 260691เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • มายิ้มๆๆ
  • เข้าใจเปรียบเทียบชีวิตประจำวัน
  • ให้เข้ากับงานวิจัยนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ

ขอบคุณ อาจารย์ขจิต ฝอยทอง ผมสบายดีครับ หมูนี้ผมมักจะหายไปบ่อยๆครับ

อาจารย์ผูกเรื่องเข้ากันได้ดี....ติดตามตลอด...

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อ.ไสว

ผมทำงานวิจัยโดยเลือกกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งมาเจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือดแล้วคัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยตามเกณฑ์ที่ผมตั้งไว้จำนวน 60 คนแล้วเข้ามาอบรมหลังจากนั้นได้ให้อาสาสมัคร เข้าไปสังเกตพฤติกรรมการกินอาหารและให้ความรู้ที่ถูกต้องในการกินอาหาร หลังจากนั้นนำผ้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมาเจาะเลือดซ้ำ เมื่อได้ค่าน้ำตาลก่อนและ(หลังการอบรม+หลังให้ความรู้ที่ถูกต้องในการกินอาหารของ อาสาสมัคร แล้ว)มาทดสอบสมมติฐานว่าค่าน้ำตาลก่อนและหลังการอบรมต่างกันหรือไม่อย่างไร แบบนี้เป็นการวิจัยนี้ชื่อว่าอะไรครับขอรายละเอียดหย่อยนะครับ

สวัสดี คุณคมขำ

ให้ O1 = การวัดนำตาลก่อนอบรม O2 = การวัดนำตาลหลังอบรม และให้คำแนะนำจากผู้สังเกตการกินอาหาร X1 = การอบรม X2 = การให้คำแนะนำขณะสังเกต แล้ว Design จะเป็นดังนี้

O1 -------- X1 + X2 --------- O2 ซึ่งคุณทำดังแบบแผนนี้

ดังนั้น การวิจัยของคุณเป็นแบบ Experiment ตัว Treatment คือ X1 & X2

ชื่อการวิจัยจึงควรเป็น

บทบาทของ X1,X2 ที่มีต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด หรือ

ผลของ X1,X2 ที่มีต่อปริมาณน้ำตาลในเลือด

คุณอาจจะพัฒนาแบบแผนการวิจัยเป็นดังนี้ก็จะดีขึ้น

G1 : O1 ----- X1 ------ O2

G2 : O3 ----- X1,X2 -- O4

G3 : O5 --------------- O6

หรือแบบ Time Series Design : O1 X1 O2 X2 O3

หรือแบบ O1 X1 O2 X2 O3 -- O4 -- O5 -- O6

ดร.ไสว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท