วิตามิน+อาหารเสริม กินเวลาไหนดี?


 

...

 

ภาพที่ 1: Thank [ flickr ] , [ hamachi! ]

...

 [ flickr ]

ภาพที่ 2: Thank [ flickr ] , [ ifijay ]

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า การกินวิตามินรวมในคนสูงอายุ กินมังสวิรัติ หรือได้รับแสงแดดอ่อนน้อยกว่าวันละ 10 นาที (ทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน D ลดลง), การกินแคลเซียมเสริม (ในรูปอาหาร อาหารเสริม หรือแคลเซียมเม็ด) ถ้ากินนมต่ำกว่าวันละ 2 แก้ว, การกินโฟเลต (วิตามิน B ชนิดหนึ่ง) ในผู้หญิงที่ตั้งใจจะมีลูก (ช่วยป้องกันความผิดปกติของเด็กในทอ้ง) มีแนวโน้มจะดีกับสุขภาพ

อ.ดร.เชลดอน เอส. เฮนด์เลอร์ ผู้ร่วมเขียนตำรา 'Physician's Desk Reference for Nutritional Supplements' หรือ "คู่มือประจำโต๊ะหมอเกี่ยวกับอาหารเสริม" ให้คำแนะนำในการกินวิตามินและอาหารเสริมอื่นๆ ดังต่อไปนี้

...

(1). วิตามินเกือบทุกชนิดควรกินพร้อมอาหารที่มีไขมัน

  • วิตามินที่ละลายในน้ำมันได้แก่ A,D,E,K จำเป็นต้องใช้น้ำมันในอาหารเป็นตัวทำละลาย และตัวพาเข้าสู่กระแสเลือด
  • สารพฤกษเคมีหรือสารคุณค่าพืชผัก เช่น เบต้าแคโรทีน ไลโคพีน ลูทีน ซีแซนทีน ฯลฯ ดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อกินพร้อมอาหารที่มีไขมัน

...

 

(2). แร่ธาตุ

  • การดูดซึมแคลเซียม (และแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก ฯลฯ) ทำได้ดีเมื่อกินพร้อมอาหาร เนื่องจากอาหารจะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
  • ถึงแม้แคลเซียมบางชนิดจะดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง เช่น แคลเซียมซิเทรท ฯลฯ ทว่า... ชีวิตจะง่ายขึ้นถ้ากินพร้อมอาหาร โอกาสที่คนเราจะลืมกินยาก่อนอาหารมีสูงกว่ายาหลังอาหาร

...

  • ธาตุเหล็กดูดซึมได้ดีที่สุดตอนท้องว่าง แต่การกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กตอนท้องว่างอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด แน่นท้อง อาเจียนได้...
  • ทางที่ดีคือ กินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กพร้อมอาหารมื้อเล็กๆ หรือหัดกินอาหารแค่เริ่มอิ่ม แล้วดื่มน้ำตามนิดหน่อย ไม่ใช่กินจนอิ่มเต็มที่

...

ร่างกายคนเราดูดซึมแคลเซียมได้มื้อหนึ่งไม่เกิน 500 มิลลิกรัมในคนตัวโต... การแบ่งครึ่งเม็ดยาจากการกินวันละ 1 ครั้งเป็นวันละ 2 ครั้งมีส่วนช่วยให้การดูดซึมดีขึ้น

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

ที่มา                                                     

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 8 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 260347เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท