แบบอย่างที่ดีในการพัฒนาคุณธรรม


แบบอย่างการพัฒนาคุณธรรม

แบบอย่างที่ดีจากโรงเรียนอมาตยกุล

 

                1. จุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม (MQ) นั้นต้องพัฒนา EQ ก่อน โดยเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนมี EQ ดีแล้ว MQ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก ก็จะตามมา โดยการพัฒนา EQ นั้นทำได้โดย ต้องทำให้ผู้เรียนมีคลื่นสมองต่ำ (คลื่นอัลฟา) อยู่เสมอ ด้วยการเปิดเพลงที่มีคลื่นสมองต่ำฟัง  หลับตา  หายใจลึกๆ ช้าๆ ทำสมาธิ  ทำโยคะ งดรับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ๆ นอกจากนี้การมีระเบียบวินัยในตนเอง   การให้ความรัก  หรือการให้พลังด้านบวก (Empowerment) ด้วยการใช้ความคิด  คำพูด  และการกระทำที่ทำให้ตัวเราและคนรอบข้างมีพลังด้านบวกมากยิ่งขึ้น  ด้วยการยิ้ม  ชม  สบตา  สัมผัส  สวัสดี  ที่เห็นชัดเจน  คือ  ครูในระดับปฐมวัยจะให้ความรักด้วยการกอดผู้เรียนหรือให้ผู้เรียนเข้ามากอดครู  ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างความอบอุ่นให้กับผู้เรียน  ทำให้เด็กมีอารมณ์ดี  มีความมั่นใจในตนเอง  และจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี  ซึ่งจะช่วยคลี่คลายศักยภาพที่แฝงเร้น (ร่างกาย  จิตใจ  ความมีน้ำใจ  วิชาการ) ของผู้เรียนให้ปรากฏออกมา (จากการพัฒนาคลื่นสมองต่ำ จนมี EQ สูง และ MQ ดี )

                2. มีกระบวนการพัฒนาครูที่ดี  โดยมีห้องวอร์รูม สำหรับให้ครูฝึกหัด  พัฒนา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สอน  หากโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระบบทำได้แบบนี้ก็จะทำให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพราะครูได้เห็นข้อดี

ข้อเสีย และหาทางแก้ไข พัฒนาร่วมกัน

                3. วัฒนธรรมองค์กรที่ผู้บริหารมีความรัก  ความเมตตา  เป็นกันเองต่อครู  และผู้เรียน 

มีความเรียบง่าย  ดังจะให้เห็นได้จากมีผู้เรียนเข้าไปกอดผู้บริหารโรงเรียน  ซึ่งต่างจากโรงเรียนในระบบที่ผู้บริหารวางตัวมีช่องว่างกับครู  และผู้เรียน  บริหารงานโครงสร้างทางดิ่งที่สั่งการจากบนลงล่าง  และยังเน้นใช้จิตวิทยาสัตว์ (การให้รางวัลและลงโทษ)  ทำให้เกิดความตีบตัน  ขาดอิสระทางความคิด  ระบบการทำงานติดขัด  โรงเรียนจึงไม่พัฒนาแบบองคาพยพ          

4. ครูเป็นผู้มีบทบาทสูงสุดในการเปลี่ยนแปลงผู้เรียน  โดยครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี  ให้ความรัก  พูดบวก  ใช้คำถามในการสอนให้ผู้เรียนคิด  ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้  เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง  จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  และวิถีชีวิตจริง  พูดง่ายๆ คือ ครูต้อง พัฒนาให้ผู้เรียนมีคลื่นสมองต่ำ  มีระเบียบวินัย  มีความรัก  เพื่อให้เป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และมีความฉลาดทางคุณธรรม (MQ) ซึ่งจะทำให้เขากลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ  เป็นคนเก่ง  เป็นคนมีความสามารถ  เป็นคนฉลาด  เป็นคนมีความเชื่อมั่นในตนเอง  เป็นคนที่คิดด้านบวก  เป็นคนที่มีจิตใจกว้างขวาง  เป็นคนที่มีความรักความเมตตาในทุกสรรพสิ่ง  เป็นคนที่มีความสุขในชีวิต  และพร้อมที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคม

การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดีตามแนวคิดของท่าน รศ. ดร.เกียรติวรรณ  อมาตยกุล  ผู้บริหารของโรงเรียนอมาตยกุล ที่ใช้แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส  หรือมนุษยนิยมแนวใหม่  เป็นแนวคิดที่มุ่งพัฒนาศักยภาพที่แฝงเน้นในตัวผู้เรียนให้ปรากฏออกมา  โดยพัฒนาทั้งร่างกาย  จิตใจ  รวมถึงคุณธรรมควบคู่กันไป แต่มีจุดเน้นที่การพัฒนา EQ ผู้เรียนก่อน โดยเชื่อว่าหากผู้เรียนมี EQ ดีแล้ว MQ ก็จะตามมา

 

 

แบบอย่างที่ดีจากโรงเรียนสัตยาไส

 

1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ท่าน ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ  อยุธยาพัฒนาขึ้น  มีจุดเด่น คือมุ่งสร้างผู้เรียนในเป็นคนดี (มนุษย์ที่มีคุณค่าความเป็นมนุษย์ปรากฏขึ้นมาในจิตใจและปรากฏในการกระทำ)     ที่ต้องผ่านกระบวนการ   การมีส่วนร่วม  การพัฒนาหลายมิติ หลายระดับ  ได้แก่ โลกภายนอก (บทบาทของรัฐบาล, โทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต  สื่อและการบันเทิง, ศูนย์การเรียนรู้, มหาวิทยาลัย) ชุมชน (บทบาทของผู้ปกครอง, ชุมชนทั่วไป) โรงเรียน (บรรยากาศของโรงเรียน, วัตถุประสงค์ของโรงเรียน, พันธกิจ, ผู้บริหารโรงเรียน) ห้องเรียน นับได้ว่าเป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนำบริบท (context) นอกโรงเรียน และนอกห้องเรียน  ที่เป็นการมองถึงความสัมพันธ์   และความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบของบริบทที่ต่างล้วนแล้วส่งผลกระทบต่อคุณภาพผู้เรียน  ซึ่งต่างจากการพัฒนารูปแบบการสอนทั่วๆ ไปที่มักมีจุดเริ่มต้นที่ห้องเรียน  แล้วนำไปสู่การพัฒนาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียนเท่านั้น  โดยไม่ได้ใช้  หรือนำเอาบริบทนอกห้องเรียน  และนอกโรงเรียนมาประยุกต์ใช้  ทำให้การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการสอนดังกล่าว  มีลักษณะเป็นรูปแบบการสอนที่ไม่ได้พัฒนาผู้เรียนในลักษณะองค์รวม (holistic) ของการเป็นมนุษย์ที่แท้จริง  หรือเพียงแต่ทำให้เกิดการเรียนรู้แค่ผิวเผิน ไม่ได้เกิดคงทนถาวร  

                2. กระบวนการเรียนรู้ที่ใช้จัดการเรียนการสอนมีการบูรณาการหลักการ แนวคิด  ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์  จิตวิทยา  และพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกันอย่างลงตัว  นับได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะสร้างคนให้เป็นคนได้อย่างแท้จริง  เนื่องจากให้ความสำคัญกับการฝึกหรือพัฒนาจิต  หรือเน้นจิตเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา  โดยอาศัยการตีความ และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า และจิตใต้สำนึกที่บันทึกไว้แล้ว จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจิตสำนึกที่จะใช้วิจารณญาณในการพิจารณาสิ่งที่ดี/ไม่ดี และนำไปปฏิบัติ/ปฏิเสธ  สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การฝึกให้จิตสำนึกมีสมาธิ  ใส่โปรแกรมดีๆ (คิดดี ทำดี พูดดี) ลงไปในจิตใต้สำนึกของผู้เรียน  นอกจากนี้ควรควรมีการรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกายเพื่อช่วยให้กระบวนการทำงานของจิตใต้สำนึกและจิตสำนึกมีประสิทธิภาพ  ที่สำคัญต้องยกระดับจิตใจผู้เรียนให้สูงขึ้น  ให้เป็นคนดีที่คงทนด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดี  สถานที่ไม่ดี   การดูทีวีหรือภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสม  การสวดมนต์  การทำจิตใจให้สงบนิ่ง  การฝึกสมาธิ  การแผ่เมตตาจะช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น  ซึ่งจะทำให้สัมผัสจิตเหนือสำนึกได้ (หยั่งรู้ด้วยตนเอง)

                3. หลักการของการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีหลักการคือ แบบอย่าง  ครู ผู้ปกครองทุกๆคนในโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่,  เอ็ดดูแคร์  เป็นการนำเอาสิ่งที่ดีงามออกมาจากตัวผู้เรียน  การเปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้เป็นคนดี  ครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจ  ครูต้องสามารถเข้าถึงใจของผู้เรียนและสามารถพูดภาษาใจ  ครูจะต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองพูด เป็นต้นแบบสำหรับคุณธรรม ไม่ต้องสอนคุณธรรมแต่ต้องดึงคุณธรรมออกมาจากจิตใจของผู้เรียนมาโดยอัตโนมัติ, การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ผู้เรียนเกิดความรักความเมตตา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การประเมินผลใช้วิธีการประเมินกลุ่ม

                4. กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรมนั้นผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  โดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิทุกชั่วโมงหรือทุกวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความสงบและมีความจำดีขึ้น ด้วยวิธีที่เรียกว่าการที่เรียกว่า สมาธิโดยใช้แสงสว่าง  ความรักความเมตตาของครูจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน ซึ่งทำให้ครูเข้าถึงใจของผู้เรียนได้  โดยประสานความคิด ใจ และการกระทำ  (3 H : Head, Hearth, Hand)นอกจากนี้แล้วครูต้องสร้างบรรยากาศของความสงบ  ความรัก  ความเมตตา  ความปลอดภัย  โดยบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีควรสนับสนุนให้เด็กคิดวิเคราะห์ ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเอง และตอบคำถามเอง  ซึ่งสอดกับหลักการของเอ็ดดูแคร์ ถ้าหากผู้เรียนตอบคำถามไม่ได้ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งหรือนั่งสมาธิ 2-3 นาที แล้วค่อยคิดหาคำตอบใหม่  ท้ายที่สุดทุกวิชาและทุกกิจกรรมต้องบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ (ความรักความเมตตา  ความจริง  ความสงบสุข  ความประพฤติชอบ  อหิงสา) ลงไป  ซึ่งมีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย  เช่น สร้างแรงบันดาลใจ  ใช้การเปรียบเทียบ  ใช้การเล่านิทาน  เล่าเรื่องราวบุคคลสำคัญของโลก  ใช้เพลงและดนตรีในการบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์

เป็นต้น

                5. บทบาทของผู้บริหารมีความสำคัญต่อการพัฒนาโรงเรียน โดยท่าน ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  ผู้บริหารสูงสุดนับได้ว่าท่านเป็นผู้บริหารที่มีความทุ่มเท  เอาใจใส่ต่อการศึกษาอย่างแท้จริง ให้ความรัก  ความเมตตา  ต่อครูและนักเรียน เป็นแบบอย่างเป็นแรงบันดาลใจต่อครู  และนักเรียน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรักความศรัทธา (ดังจะเห็นได้จากครูผู้สอนเข้าไปกราบท่านหลังจากเสร็จพิธีสงฆ์ตอนเช้า) ท่านสอนหนังสือเอง  เป็นแบบอย่างแก่ผู้บริหารโรงเรียนที่จะพัฒนาคุณธรรมนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม

                การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดีตามแนวคิดของท่าน ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  ผู้บริหารสูงสุดของโรงเรียนสัตยาไส  ที่เน้นการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ นับได้ว่าเป็นการสร้างคนที่ถูกหลัก (พัฒนาคนดีจากภายในก่อน) ที่เน้นการพัฒนาที่จิต  หากจิตใต้สำนึกมีข้อมูลที่บันทึกไว้แต่สิ่งที่ดีงาม  สิ่งที่เป็นคุณค่าความเป็นมนุษย์  จิตสำนึกมีสมาธิ   มีเครื่องป้องกันให้ผู้เรียนเป็นคนดีคงทน  โดยให้รู้จักรักษาสุขภาพจิตและสุขภาพกาย  ยกระดับจิตใจผู้เรียนให้สูงขึ้น ผู้เรียนก็จะสัมผัสจิตเหนือสำนึกซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน  แน่นอนผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คือ  ครู  ครูต้องเป็นแบบอย่าง  พูดภาษาใจ  สร้างแรงบันดาลใจ  สร้างบรรยากาศ  ดึงเอาคุณธรรมออกมาจากตัวผู้เรียน  บูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ลงไปในจัดการเรียนการสอน

 

หมายเลขบันทึก: 259325เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดี เก่ง มีสุข

สอนเด็กให้เป็น พลเมือง

ไม่ใช่สอนเด็กให้เป็น อริยะปัจเจก

...มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ สมองเปิด พื้นที่การเรียนรู้ เพิ่ม...ตั้งใจ ตั้งใจ

...รักกัน ค่า รักกัน...

ดร.อาจอง มาเป็นวิทยากรให้ผู้บริหารและครูทั่วประเทศ เรื่องคุณธรรมนำความรู้ สมัยดร.วิจิตร เป็น รมต.ศึกษา ผมก็ได้มาฟังด้วย

สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมบ้างค่ะ ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท