การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 8


ตอน 7 "Click"
ตอน 6 "Click"
ตอน 5 "Click"
ตอน 4 "Click"
ตอน 3 "Click"
ตอน 2 "Click"
ตอน 1 "Click"

 


ในตอนที่ 7 เราได้แจกแจงเกณฑ์ตัดสินของตัวบ่งชี้คุณภาพในแต่ละมาตรฐาน เป็น 5 ระดับในตารางแห่งอิสรภาพแล้ว เมื่อนำมาจัดรูปแบบให้ง่ายต่อการทำ SAR : Self assessment report (รายงานประเมินตนเอง) และ CAR : Check assessment report (รายงานประเมินตรวจสอบ)  ประจำปีของหน่วยงาน ก็จะได้ดังรูป (กระดาษ A4 สองแผ่นคู่กันหน้าซ้าย-ขวา)

 

ประกอบด้วย

  1. มาตรฐาน ตามที่ สมศ.กำหนด : เอาไว้เป็นหลักในการตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแต่ละตัวบ่งชี้
  2. ตัวบ่งชี้ที่กำลังพิจารณา
  3. เกณฑ์ตัดสินของตัวบ่งชี้นั้นๆ (จากตารางอิสระภาพที่เตรียมไว้แล้ว)
  4. SAR ซึ่งประกอบด้วย
    • ผลการประเมินปีที่แล้ว (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • ผลการประเมินปีนี้ (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • เป้าหมายปีต่อไป (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ อาจแบ่งเป็น ผู้กำกับตัวบ่งชี้ กับ ผู้รวบรวมข้อมูล ให้ชัดเจนไปเลยยิ่งดี
    • ผลการดำเนินงาน ตามตัวบ่งชี้ ในรอบเวลาที่ตรวจสอบ ในแต่ละผลงานเขียนโดยสรุปแล้วกำกับด้วยหมายเลขหลักฐาน (ทำเหมือนการอ้างอิงในการทำงานวิจัยเลยทีเดียว)
    • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้นๆ : SWOT : ทั้งจุดแข็ง Strength  จุดอ่อน Weakness  โอกาส Opportunity และ อุปสรรค Treat
    • โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้มีผลการดำเนินงานดีขึ้น
  5. CAR  กรอบนี้เตรียมไว้สำหรับกรรมการที่มาประเมิน ซึ่งประกอบด้วย
    • ผลการประเมินปีที่แล้ว (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • ผลการประเมินปีนี้ (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • เป้าหมายปีต่อไป (เป็นตัวเลข 0 - 5)
    • ข้อเสนอแนะ

          สมมุติว่า ได้ประเมินตนเองและได้รับการตรวจสอบจนเป็นที่เรียบร้อยทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัยแล้ว หน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยก็เอาผลตรวจสอบ C: Check และค่าเป้าหมาย T: Target ของทุกคณะมาใส่ตาราง spread sheet (เพื่อให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประมวลผลให้) จะได้ตารางดังภาพ

จากนั้น ให้นำค่า ผลประเมินต่ำสุด และ ผลประเมินสูงสุด กับ ผลต่างระหว่างผลประเมินสูงสุดกับต่ำสุด (Gap) ในแต่ละตัวบ่งชี้ มากรอกลงในคอลัมน์อีก 3 คอลัมน์  แล้วโปรแกรมก็จะคำนวณให้เอง (หน่วยประกัน มน. NUQA มีโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ค่ะ ติดต่อสอบถามได้)  คราวหน้าคอยติดตามหน้าตา ของ "ธารปัญญา"  (River Diagram) จากการคำนวณของโปรแกรมกันต่อ  พร้อมวิเคราะห์เจาะลึกทุกสถานการณ์......

หมายเลขบันทึก: 25870เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท