น้ำโต้น (คนโฑ) หัตถกรรมพื้นบ้านพญาวัด


"...แนวคันดินใหญ่ที่ยังคงปรากฏร่องรอยบางส่วนที่ยังคงปรากฏร่องรอยอย่างชัดเจน ..."

               ในอดีตปี พ.ศ.1911 พญาผากองบุตรของพญาการเมือง ได้ย้ายเมืองมายังฝั่งทางทิศตะวันตกของแม่น้ำน่านที่บ้านห้วยไค้  ชึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบันด้วยเหตุว่า เมืองแช่แห้งกันดารน้ำเพราะอยู่บนเนินสูง ชึ่งแม่น้ำลิงที่เป็นที่ตั้งเมืองนั้นเป็นแต่เพียงลำธารเล็กๆน้ำน่อมเหือดแห้งไปในฤดูแล้งเป็นความอัตคัดกันดารอยู่เช่นนี้เสมอมา  ชึ่งเคยปรากฏเช่นนี้เสมอมาตั้งเมืองมาใหม่ๆ แล้ว  เมืองน่านแห่งใหม่นี้เรียกว่า  เวียงน่าน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านโดยในปีพ.ศ  1911 ที่ย้ายเมืองมาครั้งแรก มีศูนย์กลางเมืองคือบริเวณที่ตั้งวัดพญาวัด หลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าตัวเมืองน่านเคยสร้างขึ้นคือ แนวคันดินใหญ่ที่ยังคงปรากฏร่องรอยบางส่วนที่ยังคงปรากฏร่องรอยอย่างชัดเจน อยู่บริเวณวัดพญาวัด  แนวคันดินดังกล่าวเป็นตำแหน่งของคูเมืองทางทิศใต้เพราะปรากฎหลักฐานการหักมุมของแนวคันดินและคูน้ำดังกล่าวเป็นบริเวณด้านหลังวัดพญาวัดโค้งไปทางเหนือกลายเป็นกำแพงเมืองทางส้านทิศตะวันตกโดยกั้นพระธาตุเขาน้อยใว้ภายนอก

                จากหลักฐานการตั้งบ้านเรือนของบ้านพญาวัด มีมาไม่ต่ำกว่า 638 ปี ถือว่าการสืบทอดวิถีชีวิตมาทำให้เห็นความเป็นอยู่ในอดีต ที่มีการพัฒนาการมาว่าในสมัย 600 ปีที่ผ่านมาได้มีชุมชนบางชุมชนในจังหวัดน่านได้มีการปั้นหม้อน้ำ เช่น บ้านสวนหอม ตำบลผาสิงห์  อำเภอเมืองจังหวัดน่าน และบ้านน้ำหิน  ตำบลเชียงของ  อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน นอกจากนั้นก็มีการปั้นคนโฑ (น้ำโต้น)ของบ้านพญาวัดมีการปั้นที่สืบทอดกันมาไม่ต่ำ กว่า 300 ปี เพราะถ้าเปรียบเทียบการใช้น้ำบริโภคจากตู้เย็น นั้นเพิ่งมีมาไม่ถึง 40 ปีที่ผ่านมา   (มีไฟฟ้าใช้ ปี2512)  ทำให้เห็นว่าการปั้นคนโฑ  (น้ำโต้น) สำหรับนำมาใส่น้ำ เพื่อการบริโภค มีการสืบทอดนานต่อเนื่องจากบรรพบุรุษ            

                  น้ำโต้น หรือ ฅนโฑ  เป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน  ที่กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านพญาวัด  ได้ร่วมมือกันเพื่อรักษาอนุรักษ์ ศิลปะ ภูมิปัญญาชาวบ้านของหมู่บ้าน พญาวัด  ในอดีต อาชีพหลักของชาวบ้าน พญาวัด  คือ การเกษตร และงานเสริม คือ งานฝีมือการปั้นคนโฑ (น้ำโต้น) ซึ่ง การปั้น  น้ำโต้น จะเป็นลายโบราณ, เป็นเอกลักษณ์ ของชุมชน และประชาชนที่ปั้นก็สามารถมีรายได้  จากงานดังกล่าวมา จุนเจือ ครอบครัวในอดีต


                  ณ วันนี้ พระครูพิศาลนันทเวช ได้ร่วมกับ คณะกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านพญาวัด ได้ฟื้นฟูการปั้นน้ำโต้น เพื่ออนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และจะถ่ายทอดงานฝีมือ การปั้นให้แก่ ลูกหลาน และผู้ที่สนใจ อนุรักษ์ งานฝีมือ ที่เป็นงานฝีมือของท้องถิ่นให้สืบทอด ตลอดชั่วลูกหลานตลอดไปทางกลุ่มผู้สูงอายุบ้านพญาวัด เห็นว่าโครงการบั้นและพัฒนา คนโฑ  (น้ำโต้น) จะเป็นการอนุรักษ์ ศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทำให้ชุมชนมีอาชีพ และรายได้  โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเป็นแหล่งเรียนรู้ ด้านอาชีพ และภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้เกิดมูลค่า บนคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อไป. 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24819เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ผมรู้จักน้ำโต้น ครั้งแรกเมื่อราวๆปี 2527-2528 เมื่อเดินทางไปอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเขียงราย กับนายน้อย (เขาชื่อน้อย หรือนายสนิท กัลยา ครับ) และได้ซื้อน้ำโต้น มาฝากคนทางกรุงเทพครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท