การเดินทางของหนังสือเล่มใหญ่


หนังสือเล่มใหญ่ถึงนายกรัฐมนตรีถูกยกขึ้นรถโมบายเมื่อคืนวันที่ 22 เมษายน 2552 เพื่อเตรียมการรณรงค์ทางภาคเหนือในโครงการที่ชื่อว่า “หนังสือเล่มใหญ่ถึงนายกรัฐมนตรี” เพื่อเรียกร้องประเด็นด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาบุคลากรและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการสร้างและการพัฒนาศักยภาพหรือแม้แต่การพัฒนาทักษะในการทำงานของตัวบุคคล ก่อให้เกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในทางการเมือง (Civic Participation) ในเดือนเมษายน พ.. 2543 จึงได้มีการจัดประชุมระดับโลกด้านการศึกษา (World Education Forum) ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,100 คน จาก 164 ประเทศ รวมทั้งตัวแทนจากองค์การสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO และหน่วยงานด้านการศึกษาจากทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามผลการดำเนินโครงการการศึกษาเพื่อปวงชน และนำเสนอสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งจากการประชุมนานาชาติครั้งนี้ ได้มีการกำหนดเป้าหมายด้านการศึกษาเพื่อปวงชนขึ้น 6 ประการภายใต้กรอบปฏิบัติการดาการ์ (Dakar Framework for Action) เพื่อให้บรรลุถึงการศึกษาเพื่อปวงชนภายในปี พ.. 2558 โดย 2 ใน 6 ของเป้าหมายคือการกล่าวถึงเรื่อง เด็กและผู้ใหญ่จะได้รับการตอบสนองด้านการเรียนรู้ทักษะในการดำเนินชีวิต อย่างเหมาะสม เป็นธรรมและทั่วถึง และ เพิ่มระดับของการรู้หนังสือ การเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง ในวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะสตรี ให้ถึงระดับร้อยละ 50 ภายในปี พ.. 2558

รถโมบายเริ่มออกเดินทางจากรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 13:09 น. มุ่งตรงสู้จังหวัดเชียงราย โดยมีคณะเดินทางไปด้วยทั้งหมด 3 คน เพื่อไปสมทบกับเพื่อน ที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา  เพื่อทำการรณรงค์ในจังหวัดเชียงรายที่หน้าด่านแม่สาย โดยเดินทางมาถึงลำปางในเวลาเกือบเที่ยงคืนตรง แต่ด้วยความอ่อนเพลียของคนขับ จึงแวะพักผ่อนที่จังหวัดลำปางหนึ่งคืน ที่โรงแรมเวียงจันทร์

                เมื่ออรุณรุ่งเช้าในวันที่ 24 เมษายน 2552 คณะก็ได้เดินทางต่อเพื่อมุ่งสู่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา   เพื่อประชุมเตรียมงานที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน 2552 ที่แม่สาย จ.เชียงราย แต่ระหว่างการเดินทางนั้นทางคณะรถโมบายได้ติดม็อบชาวลิ้นจี่ ที่ อ.แม่ใจ จ.พะเยา  ทำให้การเดินทางไปสู่จุดหมายต้องช้าลง เพราะต้องหลีกเลี่ยงเส้นทาง  แต่สุดท้ายก็มาถึงเชียงราย ตอนประมาณบ่ายสองโมง ก็เริ่มเข้าประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรมในวันที่ 25 กว่าจะเลิกประชุมก็ประมาณเกือบ 2 ทุ่ม ต่างก็แยกย้ายกันเข้าพักผ่อน เพื่อเอาแรงมาทำกิจกรรมในวันถัดมา

รุ่งขึ้นของวันที่ 25 การเตรียมตัวแฃละอุปกรณืก็ได้เริ่มขึ้นก่อนถึงเวลางาน และออกเดินทางจากมูลนิธิมาสู่หน้าด่านแม่สาย ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงพอดี เมื่อมาก็จัดเตรียมสถานที่ และเริ่มกิจกรรม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ในนามของ เครือข่ายติดตามการศึกษาไทย ร่วมกับองค์การแอ็คชั่นเอดประเทศไทย เห็นว่าจังหวัดเชียงรายมีกลุ่มชนชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร้อยละ ๖๐ ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัดเชียงราย ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีจารีตประเพณีเฉพาะของตนเอง  จากการพูดคุยกับกลุ่มผู้อาวุโสพบว่ายังคงมีความต้องการในการสืบทอดวัฒนธรรมผ่านกระบวนการศึกษา และการอ่านออกเขียนได้ โดยเฉพาะภาษาแม่  ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาวัฒนธรรมอย่างมาก  กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนน้อยลงที่สนใจรักษาวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิม เนื่องจากมีความสนใจในการศึกษาตามรูปแบบในกระแสหลัก และการเข้าถึงสื่อสมัยใหม่ อาทิเช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ท เป็นต้น  การศึกษาในแนวพหุวัฒนธรรม และการศึกษาเรียนรู้ด้วยการใช้ภาษาแม่จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสืบทอดอัตลักษณ์วัฒนธรรมดังกล่าว       รูปแบบกิจกรรมดังนี้

๑.  การเสวนาในประเด็นการศึกษาพหุวัฒนธรรม และการศึกษาภาษาแม่ โดยนักวิชาการศึกษาในจังหวัดเชียงราย และผู้รู้พื้นบ้าน ชาวอาข่า ที่ได้มีการเตรียมความพร้อมในการสืบทอดการใช้ภาษาแม่เพื่อเป็นสื่อในการศึกษา และการเรียนรู้  ประสบการณ์และรูปแบบในการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนชาติพันธุ์ 

๒.  การแสดงเวที ศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้านชาติพันธุ์

๓. ห้องสมุดเคลื่อนที่ รถแหล่งการเรียนรู้เคลื่อนที่ Mobile Education Unit (รถบรรทุกขนาดเล็กที่ดัดแปลงเป็นแหล่งการเรียนรู้)

๔. มาสคอท พี่หมา จากรถโมบายที่มาช่วยร่วมรณรงค์และเรียกความสนใจจากผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมา

                สรุปกิจกรรมในวันนี้ กว่าถนนคนเดินที่แม่สายจะปิดก็เกือบ 5 ทุ่ม กิจกรรมจัดเก็บเรียบร้อยตอนเที่ยงคืน ทุกคนอ่อนเพลียมาก แต่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำ ประชาชนที่มาเดินที่ถนนคนเดินก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ให้ความร่วมมือในการเขียนข้อความรณรงค์เกี่ยวกับการศึกษา  บางคนก็เข้ามาขอเขียนเองเพราะอยากฝากประเด็นไปถึงท่านนายก ทำให้กิจกรรมวันนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ได้มือที่ร่วมรณรงค์ถึง 3 หน้าสมุดเล่มใหญ่ ก็ประมาณ 200 กว่ามือ และทุกคนก็เข้าสู่การพักผ่อน เพื่อเตรียมออกเดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่ให้ทันเวลา บ่าย 2 โมง โดยมีพี่เดี่ยว พี่ที่มูลนิธิเกื้อฝันเด็ก คอยประสานงานอยู่

               

รุ่งเช้าของวันที่ 26 เมษายน 2552  เวลา 09:30 น. คณะเดินทางได้ลงมาสรุปงานกับเจ้าหน้าที่ที่ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พี่จุ) และร่วมทานข้าวเช้า และออกเดินทางสู่จังหวัดเชียงใหม่ ในเวลา 10:00 น. ระหว่างทางก็เกิดฝนตกหนักเป็นช่วง ๆ ทำให้การเดินทางต้องระมัดระวัง เพราระหว่างก็มีรถหลายคันที่ประสบอุบัติเหตุ แต่ทางคณะถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย มาถึงจุดหมายในเวลาประมาณ บ่าย 3 โมง ที่ถนนคนเดิน จ.เชียงใหม่  ตรงสามกษัตริย์ ก็เริ่มจัดอุปกรณ์ ทำกิจกรรมรณรงค์ มีพี่มาสคอท พี่หมามาเป็นแกนหลักในการรณรงค์ มีการฉายหนังจากรถโมบาย ที่นี่ก็มีทีมเพื่อนมาช่วยหลายองค์กรในพื้นที่ ก็มี เกื้อฝันเด็ก  IMPEC ฯลฯ กิจกรรมก็เสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หลาย ๆ คนก็ให้ความสนใจพอสมควร ได้หน้าการรณรงค์ถึง 2 หน้าสมุด ประมาณ 150 มือ ก็เข้าพักผ่อนกันที่ จ.เชียงใหม่ เช้ารุ่งขึ้นก็เตรียมการเดินทางต่อ แต่ก่อนที่ทางคณะจะเข้าพักผ่อนนั้น ก็ไปทานอาหารหลังจากเหนื่อยกับการรณรงค์จนหมดแรงจึงต้องมาเติมพลังต่อสู้ต่อไป ซึ่งแม่ค้าที่เราไปทานอาหารก็ถามว่าเราทำอะไรกัน เขาก็ให้ความสนใจละฝากถึงนายกเกี่ยวกับตำราเรียนว่าควรปรับปรุงให้ถูกต้องต่อเด็ก มีมาตรฐานมากขึ้น เพราลูกเขาก็เพิ่งสามขวบไงขอฝากประเด็นด้วย เป็นความน่ารักอย่างหนึ่งของผู้ร่วมกิจกรรม แต่ก็มีบงคนที่ไม่สนใจเพราคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง ทางเราก็พยายามที่จะอธิบายก็ทำให้เขาหันมาสนใจได้บางส่วน

                ในเช้าวันที่  27 เมษายน 2552 เดินทางเหมือนนกขมิ้น ค่ำที่ไหนนอนที่นั้น ออกเดินทางกันตั้งแต่ 10:00 น. ออกเดินทางจากโรงแรมที่พัก มุ่งลงสู่ จ.ลำปาง ตกลงกันว่าจะไปทำกิจกรรมในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ก็เลยลงมติกันว่าไปที่ พระธาตุลำปางหลวง จอดรถและลงมาทำกิจกรรม ก็มีคนให้ความสนใจกันพอสมควร แต่ด้วยเป็นวันธรรมดา คนที่มาท่องเที่ยวจึงมีจำนวนน้อย ก็ได้มือที่ร่วมรณรงค์ประมาณ 40 มือ แบะออกเดินทางสู่ กำแพงเพชร เพื่อทำการพักผ่อน และรณรงค์ต่อ

                เดินทางมาถึงกำแพงเพชรและเข้าพักผ่อนเพราะเดินทางมาถึงประมาณ 2 ทุ่มแล้วและด้วยความที่ฝนตกเลยทำให้ประชาชนไม่ออกมาข้างนอก เราจึงตกลงกันว่าควรเข้านอนและพรุ่งนี้เช้าก็ออกมาทำกิจกรรมรณรงค์ เพราะเหน็ดเหนื่อยกันมาหลายวัน ในรุ่งเช้าของวันที่ 28 เมษายน 2552 ก็เริ่มทำกิจกรรมใน อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เสร็จกิจกรรมประมาณ บ่ายโมงก็เดินทางกลับมาสู่กรุงเทพฯ ในเวลา 3 ทุ่ม

                ในวันที่ 29 ก็ไปร่วมรณรงค์ต่อที่ จ.สมุทรสาคร ทำกิจกรรมใน จ.สมุทรสาคร โดยมีมูลนิธิรักษ์ไทยมีการจัดกิจกรรมรอรับขบวนรณรงค์ รถโมบาย มีการแสดงของลูกหลานแรงงานข้ามชาติ มีเกมส์ให้เล่น กิจกรรมรณรงค์จึงผ่านไปได้อย่างสวยงาม และบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมตามความพึงพอใจในทุกฝ่าย แต่การรณรงค์ยังคงไม่หยุดนิ่ง มีการรณรงค์ต่อเนื่องไปเรื่อย ซึ่งในวันที่ 3 ก็จะไปรณรงค์ที่ถนนเด็กเดิน จ.พิษณุโลก ขอเชิญร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการรณรงค์  เพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในทั่วถึงและครอบคลุม   

 

หมายเลขบันทึก: 258529เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท