เยี่ยมนายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ค้นหาแนวทางการปรากฎตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์ไทย


“ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าการมีภาพกับไม่มีภาพบุหรี่ส่งผลต่อคนดูต่างกันมากน้อยแค่ไหน? ซึ่งในส่วนตัวผมว่าไม่ต่างหากผมมีเจตนาจะทำให้การสูบดูน่าสนใจ ไม่ต้องเห็นภาพบุหรี่เลย ผมแค่ให้ได้ยินเสียง ไฟแชค ภาพลอยไปตามควันขึ้นไปและเสียงการสูดลมหายใจ ตัดกลับมาที่หน้าตามีความสุข..แค่นี้ก็ทำรู้สึกอยากทดลองกว่าอีก”

บันทึกการเยี่ยมกัลยาณมิตร

โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์

ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์

ครั้งที่ ๑/๒๕๕๒  วันจันทร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ห้องประชุม บริษัทจีทีเอช จำกัด สุขุมวิท ๓๑

ผู้ที่เข้าพบ                      :        คุณยงยุทธ ทองกองทุน นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม     :        อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ หัวหน้าโครงการ ฯ

:        คุณ สุรวดี รักดี

:        คุณสาวิตรี อริยชัยเดช

:        คุณสถาพร จิรัตนานนท์

 


วันนี้โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในภาพยนตร์ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ ได้เริ่มต้นออกเยี่ยมกัลยาณมิตร ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแสวงหาความรู้และฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเกณฑ์ของภาพบุหรี่ในภาพยนตร์ ว่าควรจะเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ประเดิมกัลยาณมิตรท่านแรกเป็น ผู้กำกับใจดี ที่มีรอยยิ้มเสมอเวลาพบกัน คุณยงยุทธ ทองกองทุน หรือ พี่สิน  เป้าหมายนอกจากจะมาขอความคิดเห็นจากพี่สินแล้วยังจะมาขอเรียนเชิญพี่สินเป็นมาเป็นเครือข่ายและผู้ให้ความรู้ในงานเสวนาที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๒๙ พ.ค.นี้ด้วย

 

บุหรี่กับพรบ.ภาพยนตร์ ฯ

เริ่มต้นด้วยการที่..พี่สินเล่าให้ทีมงานฟังเบื้องต้นเกี่ยวกับบุหรี่กับการจัดเรทติ้งใน พรบ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๒ว่า ใน พรบ.ฉบับดังกล่าวได้เพียงแค่ระบุเกี่ยวกับเรื่องสารเสพติดให้โทษ ว่าห้ามให้เห็นการใช้ หรือขั้นตอนการใช้หรือเสพ แต่ไม่ได้หมายความว่ากล่าวถึงไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนเรื่องบุหรี่ ดังนั้น คงต้องมาตีความที่ว่า บุหรี่นั้นมันเข้าข่ายสารเสพติดให้โทษหรือไม่ อย่างไร

            บุหรี่ไม่ใส่สิ่งเสพติดผิดกฎหมาย มันเป็นการยากที่กำหนดให้เป็นกฎหมายลงไปซึ่งในส่วนของสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งประเทศไทย เคยได้มีการพูดคุยเรื่องจริยธรรมของการผลิตภาพยนตร์พี่สินมองว่า เรื่องของบุหรี่อาจจะมีระบุเข้าไปใช้ในสมาคมก็ได้ อาจจะเป็นอีกหนึ่งออกเลือกสำหรับเรื่องนี้

 

ภูมิหลังกับการสร้างงานทีมีบุหรี่

พี่สินไม่ใช่เป็นคนสูบบุหรี่ ดังนั้นในภาพยนตร์ของพี่สินก็จะไม่มีการปรากฏตัวของบุหรี่เลย ยกเว้นเรื่อง “แจ๋ว” ซึ่งบทเสียดสีการเบลอภาพบุหรี่ในโทรทัศน์  นอกนั้นก็จะไม่มีเนืองจากเมื่อไม่สูบก็จะนึกไม่ออกถึงการใช้บุหรี่ในเรื่อง ซึ่งในจุดนี้พี่สินมองว่า ภูมิหลัง ของผู้ผลิต ผู้เขียนบท หรือ บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องก็น่าส่งผลให้คิดและออกแบบตัวละครหรือเขียนบทให้มีบุหรี่เพื่อความสมบทบาทได้ แต่ปัจจุบันผู้กำกับที่สูบบุหรี่ก็จะเริ่มน้อยลงเช่นกัน หรือ บางคนเป็นผู้ที่สูบแต่ในงานก็ไม่มีการใช้บุหรี่เลย ทั้งหมดน่าจะเป็นภูมิหลัง การศึกษา การตระหนัก ก็จะวนเข้ามาที่จริยธรรมในการทำงานอีกเช่นกัน

 

แนวโน้มภาพบุหรี่ในภาพยนตร์ไทยปัจจุบัน

โดยTrend ของภาพยนตร์ไทยปัจจุบัน พี่สินมองว่า ภาพยนตร์เป็นการสะท้อนภาพของสังคม วิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งด้วยการรณรงค์และกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ   เช่นใน ร้านอาหาร การทำภาพยนตร์ให้สมจริงในสถานที่หรือในบริบทหลายอย่างก็จะไม่มีการสูบบุหรี่ จึงมองว่าหากเป็นภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องร่วมสมัยน่าจะมีการสูบบุหรี่น้อยลง ไม่ได้เหมือนสมัยก่อนที่คนนิยมสูบบุหรี่กันมากกว่า  แต่ในทางกลับกันหากมีการทำภาพยนตร์ที่ในยุคสมัยนั้นผู้คนเขาสูบบุหรี่ ยกตัวอย่าง มหาลัยเหมืองแร่ ที่คนงานในเหมืองเขาสูบกันหมดก็จำเป็นต้องมี ในขณะเดียวกัน 15 ค่ำเดือน 11 ของคุณ จิระ มะลิกุล เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาแต่เรื่องนี้ก็ไม่มีการปรากฏตัวของบุหรี่..เพราะสามารถเลี่ยงได้โดยอรรสของเรื่องไม่เสียไป

 

ภาษาภาพและการเล่าเรื่อง

โดยความคิดเห็นส่วนตัวเรทที่น่าจะมีการพบภาพบุหรี่ได้สำหรับพี่สินมองอยู่ที่เรท ๑๕ ปี  เนื่องจากด้วยเทคนิคทางการเล่าเรื่องและภาษาทางภาพแล้วนั้น นอกเหนือจาก   บริบทของเรื่อง  การเลี่ยงได้หรือไม่ได้แต่ส่งผลเหมือนกันภาษาภาพ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการคิดงาน และเพิ่มเติมว่าการ “เห็น” หรือ “ไม่เห็น “ภาพบุหรี่นั้นอย่างกรณีทีโทรทัศน์ทำการเซ็นเซอร์นั้นไม่ได้ส่งผลต่างอะไร

ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าการมีภาพกับไม่มีภาพบุหรี่ส่งผลต่อคนดูต่างกันมากน้อยแค่ไหน? ซึ่งในส่วนตัวผมว่าไม่ต่างหากผมมีเจตนาจะทำให้การสูบดูน่าสนใจ ไม่ต้องเห็นภาพบุหรี่เลย ผมแค่ให้ได้ยินเสียง ไฟแชค ภาพลอยไปตามควันขึ้นไปและเสียงการสูดลมหายใจ ตัดกลับมาที่หน้าตามีความสุข..แค่นี้ก็ทำรู้สึกอยากทดลองกว่าอีก”

 

 

 

 

การเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศไทย

เมื่อมีโอกาสได้คุยก็ถามนอกเรื่องไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย..พี่สินให้ชี้ชัดว่า สาเหตุมาจาก “ตลาดภาพยนตร์ไทยเล็ก” เล็กเนื่องจากการใช้ภาษาไทย ซึ่งมีประเทศไทยประเทศเดียวในโลกที่ใช้ จึงไม่สามารถเปิดตลาดออกไปได้กว้างนักและเมื่อภาพยนตร์ของเราพัฒนาขึ้น มันก็เป็นไปพร้อมกับเทคโนโลยี โดยวัฒนธรรมไทย กับการไม่เคารพในทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นนั้น ก็เป็นปัญหาใหญ่ ตลาดเล็ก คนซื้อในตลาดเองก็ไม่ซื้อ (โหลดเอา)

 

ข้อเสนอแนะสำหรับโครงการฯ

 

·       พี่สินให้คำเสนอแนะในเรื่องการทำโฟกัสกรุ๊ป เรื่องสอบถามภูมิหลังของผู้ที่เข้ามทำโฟกัสกรุ๊ปซึ่งจะช่วยให้ผลงานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

·       แนะนำผู้กำกับที่ควรพบ เช่น คุณ เอส คมกริช เนื่องจากเป็นคนที่สูบบุหรี่แต่ในงานไม่มีการใช้บุหรี่เลย

 

 

 

 

สุรวดี รักดี

นักวิจัยโครงการฯ

หมายเลขบันทึก: 258366เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท