น้อง นศพ.รามาได้สัมผัสกับ Charcot foot


Charcot’s Foot เป็นลักษณะหนึ่งที่พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ทำให้รูปเท้าบิดเสียรูปไป ถูกพบโดย นายแพทย์ชาวฝรั่งเศษที่ชื่อ Jean-Martin Charcot

เรื่องของเท้าที่น่ารู้ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

                ในวันนี้ พวกเรานักศึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี และนักศึกษากายภาพบำบัด จาก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีโอกาส มาเยี่ยมเยือน ที่ Foot care clinic เป็นคลินิกที่ดูแลเรื่องเท้าในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ที่โรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งในเรื่องของเท้านั้นเป็นเรื่องที่ใครต่อใครหลายๆคนมักมองข้ามความสำคัญไป แต่อันที่จริงแล้วพบว่ามีอัตราผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและมีปัญหาในเรื่องของเท้าตามมานั้นสูงมากจนน่าใจหายเลยทีเดียว พบว่าความชุกนั้นสูงถึง 5% (ประมาณ 2-3 ล้านคน)และพบว่า ในช่วง Life span ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน จะพบว่า มีถึง 10-15% ที่จะต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาที่เท้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่รพ.สงฆ์ แห่งนี้ พระสงฆ์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงในเรื่องของ แผลเบาหวานที่เท้ามากที่สุดกลุ่มนึง ในขณะที่ออกบิณฑบาต ต้องเดินด้วยเท้าเปล่า ซึ่งโอกาสที่จะเกิดบาดแผลได้ค่อนข้างสูง จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามไปได้เลยทีเดียว

                สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแผลเรื้อรังนั้น จนกระทั้งลุกลาม จนท้ายที่สุดต้องลงเอยด้วยการเสียขาไปนั้น คือ การที่ผู้ป่วยเบาหวานนั้นปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงในกระแสเลือดนั้นสูงมากจนเกินไป จนกระทั้งเกิด ภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยเสียความรู้สึกที่ปลายมือปลายเท้าไป(LoPS=Loss of protection sensation) แทนที่เมื่อเวลาที่เราใช้เท้ามากเกินไปจนเท้าเริ่มเกิดแผล หรือมีแผลเกิดขึ้นเมื่อเวลาได้รับบาดเจ็บ แทนที่จะมีอาการปวด ซึ่งเป็นสัญญานเตือนที่สำคัญที่สุดที่พระเจ้าให้เรามา ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เท้าที่ต้องทนการได้รับบาดเจ็บเกิดแผลซ้ำๆ แผลจึงไม่หาย กลายเป็นแผลเรื้อรัง

                Charcot’s Foot เป็นลักษณะหนึ่งที่พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน สาเหตุเกิตจากการที่ กล้ามเนื้อ Gastrocnemies ดึงกระดูกเท้า Calcaneous ทำให้รูปเท้าบิดเสียรูปไป ถูกพบโดย นายแพทย์ชาวฝรั่งเศษที่ชื่อ Jean-Martin Charcot   เป็นผู้ให้คำจำกัดความไว้

                ในเรื่องของหลักการ healing นั้น คือการ Off loading ในบริเวณที่เกิดแผลขึ้น และเราจะทำให้แผลอยู่ในภาวะที่ดีที่สุดที่จะหาย (Re-epitheliazation) ในคลินิกนี้พวกเรา ได้เห็นการ Off loading โดยการไม่ไปกดทับแผล คือ ใช้ Total contact cast ลักษณะคล้ายๆ เฝือกพันเท้า จะมีขนาดทำขึ้นมาเพื่อรองรับเท้าในเฉพาะแต่ละคน ช่วยในการรองรับเท้าให้กระจายน้ำหนักให้สม่ำเสมอ และลดแรงที่กดแผล เป็นการช่วยให้แผลหายได้ดี

หลังจากนั้นเมื่อแผลหาย จะมีการสร้าง รองเท้า (Protective Foot Wear ) ซึ่งองค์ประกอบสำคัญคือ Insole  ที่ต้องสร้างขึ้นแต่ละคนไข้ โดยมีการพิจารณา อย่างถี่ถ้วนในเรื่องชีวะกลศาสตร์ (Biomechanics)

                แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเรื่องของการป้องกันไม่ให้เกิดถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ในครั้งนี้จึงเอาการออกกำลังในผู้ป่วยเบาหวานมาฝากด้วยครับ

การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

- ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะต้องการน้ำตาลและไขมันเพื่อใช้สร้างพลังงาน ดังนั้น glucagon จะเพิ่มขึ้นแต่ insulin จะลดลง

- การออกกำลังกายระดับหนึ่งเป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อการหลั่ง insulin

- การออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณ 15-20 นาที พบว่า insulin ลดลง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

1. ช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

2. ช่วยลดภาวะ insulin resistance

3. ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน

4. สุขภาพจิตดี อารมณ์แจ่มใส

แนวทางการปฏิบัติสำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

1. ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ ใกล้เคียงปกติมากที่สุดก่อนออกกำลังกาย

                ก่อนอาหาร 60 – 100 mg/dl

                หลังทานอาหาร 1 ชั่วโมง 140 – 180 mg/dl

                หลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง 120 – 150 mg/dl

2. อธิบายแนวทางปฎิบัติและอาการที่ควรระวังหรือหยุดออกกำลังกาย เช่น หน้ามืด วิงเวียน รวมทั้งการรักษาเบื้องต้น

3. ถ้าระดับน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 250 mg/dl ควรงดออกกำลังกาย

4. ควรออกกำลังกายหลังทานอาหาร 1 ชั่วโมง

5. วันที่ออกกำลังกายควรลดยาประมาณ 20 – 40 % จากเดิม

6. ถ้าออกกำลังกายหนักเช่น วิ่งมาราธอน ควรดื่มกลูโคสทุกๆ 20 – 30 นาที

7. ตำแหน่งที่ฉัด insulin ไม่ควรเป็นกล้ามเนื้อ ที่ออกกำลังกานเพราะจะทำให้ insulin เข้าร่างกายเร็วเกินไป

8. หลังออกกำลังกายควรทาน carbohydrate เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน

1. เลือกเสื้อผ้ารองเท้าให้เหมาะสม

2. Warm up 5 – 10 นาที exercise 10 – 20 นาที Cool down 5 – 10 นาที

3. Target heart rate 220 – อายุ แล้วเทียบเป็นร้อยละ หรือ HR ขณะพักแล้วบวกเพิ่มเข้าไป 10 -15

กิจกรรมการออกกำลังกกายในผู้ป่วยเบาหวาน

เดิน วิ่ง รำมวยจีน โยคะ วิ่งสายพาน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ว่ายน้ำ

ช่วงเวลาในการออกกำลังกาย

1. ควรออกกำลังกายหลังมื้ออาหารหลักอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง

2. ไม่ออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงที่อากาศร้อนจัดหนาวจัด

ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

1. เหนื่อยมาก หายใจลำบาก

2. เจ็บหน้าอก

3. เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือเป็นตะคริว

4. เกิดบาดแผล

ควรงดออกกำลังกายเมื่อ

1. มีไข้

2. ร่างกายอ่อนเพลีย

3. มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 250 mg/dl

 

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

1.       ทำความสะอาด

2.       บันทึกขนาดและจำแนกชนิดของแผล

3.       การไม่ให้แผลมีการลงน้ำหนัก การทำ Total contact casting

4.       การออกแบบรองเท้าพิเศษ

5.       การรักษาแผลด้วยการผ่าตัด

 

ปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

1.       เพศ ชาย มากกว่า หญิง

2.       ระยะเวลาในการเป็นเบาหวานนานกว่า 15 ปี

3.       ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

4.       ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

5.       มีความผิดปกติของเส้นประสาทและเส้นเลือดส่วนปลาย

6.       เท้าผิดรูป

7.       สูบบุหรี่

 

สุดท้ายนี้ พวกเราขอขอบคุณอาจารย์ เชิดพงษ์ หังสสูต ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้อันมีค่า แก่พวกเรา พวกเรา จะเก็บเอาความรู้นี้ไปใช้ เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ในอนาคตต่อไป

 

 

นศพ.จิรัฏฐ์   ธีราประดิษฐ์

นศพ.โชติตะวันณ  ตนาวลี

นศพ.ลัษมน   วิบูลย์ชาติ

นักศึกษากายภาพบำบัด อุดมพงษ์   วงษ์ภากร

 

 

               

หมายเลขบันทึก: 258262เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เคยเห็นค่ะจนต้องได้ตัดขา น่ากลัวมากนะคะ

ขอบคุณที่คุณหมอ(งานยุงมากแล้ว) นำความรู้มาเผยแพร่...

 เป็นกำลังใจให้นะคะ

กภ.กิตติ (นักกายภาพบำบัด)

ทะมายนักศึกษากายภาพบำบัดมอรังสิต ไม่ได้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า นศก.เหมือนสถาบันอื่นๆหรอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท