การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน กรกฎาคม 2551


สำรวจสมุนไพร วางแปลงสมุนไพร ณ อุทยานแห่งชาตินายูงน้ำโสม

1.ลงพื้นที่สำรวจสมุนไพร วางแปลงสมุนไพร ณ อุทยานแห่งชาตินายูงน้ำโสม วันที่ 3 ก.ค.51

                                คณะทำงานโครงการสำรวจ ศึกษาสมุนไพรในเขตอนุรักษ์ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติ นายูง น้ำโสม ได้ลงพื้นที่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 เพื่อดำเนินการ 2 เรื่อง ได้แก่

1.การวางแปลงเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในพื้นที่ตัวอย่าง

2.การเดินสำรวจชนิดสมุนไพร (Ground Check)

ผลการดำเนินการ

1.การวางแปลงเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในพื้นที่ตัวอย่าง

ผู้ร่วมดำเนินการได้แก่

1.นายสมชาย  หนูคง                                   อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่วางแปลง

2.นางสาวณัฐกานต์  ผุยมาตย์                    สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6                    ทำหน้าที่วางแปลง

3.นางเรวดี  ประกิระสา                              สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6                    ทำหน้าที่วางแปลง

4.นายนิสสัย  สุพร                                       อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่วางแปลง

5.นายเทพเทวรรณ  เรืองประทีป             อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่วางแปลง

6.นายจันทร์เทียม  อุ่นแสง                         อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่วางแปลง

7.นายเจริญ  อาสานอก                               หมอพื้นบ้าน                                                      ทำหน้าที่ให้ข้อมูล

 

                พื้นที่ได้เตรียมแปลงสำรวจไว้ 2 แปลง ๆ ละ 100 * 100 เมตร ในเขตป่าเบญจพรรณ และ ป่าเต็งรัง ห่างจากสำนักงานประมาณ 3 กิโลเมตร แต่มีเส้นทางที่รถยนต์สามารถไปถึงได้ ซึ่งคณะทำงานได้ใช้วิธีเดินเท้า เข้าดำเนินการสำรวจในวันที่ 3 กรกฎาคม 2551

                แผนที่จะได้ดำเนินการต่อไปคือ

1.นำสมุนไพรที่เก็บตัวอย่างจากการ Ground Check อัดแผงพันธุ์ไม้ เพื่อจัดทำ  Herbarium

2.เตรียมการสำรวจเพิ่มเติมและสรุปข้อมูลความหลากหลาย

2.การเดินสำรวจชนิดสมุนไพร (Ground Check)

ผู้ร่วมดำเนินการได้แก่

1.เภสัชกรสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ           สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี           ทำหน้าที่ ซักถามข้อมูล

2.นางวิริยา เมษสุวรรณ                              สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี           ทำหน้าที่ อัดเสียง

3.นางสาวสงัด  ธรรมรักษา                        รพ.นายูง                                                            ทำหน้าที่ ถ่ายภาพ

4.นายวิรัตน์  ชาวสวน                                สอ.ห้วยทราย                                                    ทำหน้าที่ เก็บตัวอย่าง

5.นายอรุณ  บุญชัย                                      สอ.ห้วยทราย                                                    ทำหน้าที่ เก็บตัวอย่าง

6.นายหนึ่งพิทักษ์  เครือสุข                        อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่ นำทาง

7.นายจำปี  อุ่นแสง                                     อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม                         ทำหน้าที่ นำทาง

8.นายชาย มาตรา                                        หมอพื้นบ้าน                                                      ทำหน้าที่ ให้ข้อมูล

9.นายพรมมา  ตะวงษา                               หมอพื้นบ้าน                                                      ทำหน้าที่ ให้ข้อมูล

                ในการดำเนินการนั้นจะเดินตามเส้นทางหลัก และตรวจสอบต้นไม้แต่ละชนิด แต่ละต้น และขยายออกด้านข้างเส้นทางหลัก ด้านละ 5 เมตร จุดที่เริ่มต้น เริ่มจากบริเวณก่อนถึงน้ำตก และเดินไปตามเส้นทางเรื่อย ๆ ในวันที่ดำเนินการนั้นไปจนถึงฝาย แต่เนื่องจากมีฝนตกหนัก จึงหยุดการดำเนินการไว้ก่อน ทั้งนี้การให้ข้อมูลสมุนไพรแต่ละต้นนั้นหมอพื้นบ้านที่รู้จัก และเชี่ยวชาญการใช้สมุนไพรจะเป็นผู้ให้ข้อมูล และจะมีการอัดเสียงไว้  หลังจากให้ข้อมูลแล้วคณะทำงานที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพ จะภ่ายภาพสมุนไพรและบันทึกหมายเลขลำดับที่ไว้ จากนั้นจึงจะเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปจัดทำ Herbarium ซึ่งรายการสมุนไพรที่สำรวจได้นั้นมีจำนวน 46 ชนิด และได้นำข้อมูลลงไว้ในระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้กิจกรรมที่จะได้ดำเนินการต่อเนื่องคือ

1.ขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฎและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในการเพิ่มเติมข้อมูล 3 ประเด็น ประเด็นแรกคือชื่อวิทยาศาสตร์ / ชื่ออื่น ๆ  ประเด็นที่สองคือส่วนที่ใช้ สรรพคุณ ตามหลักวิชาการ (ถ้ามี) และประเด็นที่ 3 คือลักษณะทั่วไปของพืชนั้น เพื่อจัดทำเอกสารสรุป

2.วางแผนการลงพื้นที่ครั้งต่อไป

3.จัดทำรายงานเบื้องต้นเพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานให้แก่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย

ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากเป็นช่วงที่มีมรสุม ทำให้ในวันที่ดำเนินการมีฝนตก และตกหนักมากจึงยังไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีสมุนไพรอีกเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ จึงวางแผนในครั้งต่อไปว่าจะดำเนินการเดินสำรวจในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่ได้วางแปลงไว้

 

                2. การสุ่มตรวจเยี่ยมสถานบริการแพทย์แผนไทยต้นแบบ  (กิจกรรมประกวดมาตรฐานสถานบริการแพทย์แผนไทย ดีเด่น ระดับจังหวัด)  วันที่ 4-14 ก.ค.51    จำนวน  34  แห่ง  สรุปผลการประกวดมาตรฐาน ในระดับจังหวัด ดังนี้

                1.กลุ่มโรงพยาบาล 

                                อันดับที่ 1  รพศ.อุดรธานี

                                อันดับที่ 2  รพ.ทุ่งฝน

                                อันดับที่ 3  รพ.กุมภวาปี

                2.กลุ่มสถานีอนามัย

                                อันดับที่ 1 สอ.ห้วยบง  อ.กุมภวาปี

                                อันดับที่ 2  สอ.หมูม่น อ.เมือง

                                อันดับที่ 3  สอ.จอมศรี อ.เพ็ญ

                โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย   และจะได้ทำพิธีมอบใบประกาศในการประชุม กวป.เดือนสิงหาคม 2551  โดยสถานบริการที่ได้อันดับที่ 1 ,2 และ 3 ระดับจังหวัด ทั้งในกลุ่มของโรงพยาบาลและสถานีอนามัย จะได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท  1,500 บาท และ 1,000 บาทตามลำดับ

               

                3. ประชุมหลักเกณฑ์ใหม่การประเมินมาตรฐานสถานบริการแพทย์แผนไทย  วันที่  14 ก.ค.51

ร.ร.ริชมอนด์  จ.นนทบุรี   สรุปได้ดังนี้

                3.1 มาตรฐานบริการแพทย์แผนทไยฝนสถานบริการภาครัฐ  โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ  ได้ทำการปรับปรุงเพื่อให้ทันสมัย  และสอดคล้องกับความเป็นจริง

                3.2 การประเมินประบจาก 6 ประเด็น  เป็น 5 ประเด็น  และแยกแต่ละประเด็นหมวดละ 20 คะแนน  รวม 100 คะแนน

                3.3 ประเมินทุก 2 ปี เริ่มจากปี 2551

                สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

                1.แจ้งระดับอำเภอ ในต้นปีงบประมาณ 2552

                2.แจ้งผลการประเมินส่งกรมพัฒนฯ โดยงานฯ ภายในสิ้นกันยายน  2551

               

                4. ลงพื้นที่สำรวจสมุนไพร ป่าบ้านห้วยบง  ต.ห้วยบง อ.กุมภวาปี  วันที่ 22 กรกฎาคม  2551 (ตามโครงการของ สอ.ห้วยบง  )

                ผู้ร่วมสำรวจสมุนไพร ประกอบด้วย จนท.สอ.ห้วยบง และหมอพื้นบ้านบ้านหนองหว้า  รวมจำนวน 25 คน  พบสมุนไพจำนวน  40 ชนิด  ซึ่งจะได้ถอดเทปเสียงเพื่อให้พื้นที่ดำเนินการจัดทำเป็นเอกสารรูปเล่มต่อไป  และได้สำรวจสมุนไพรในป่าโรงเรียนบ้านห้วยบง ซึ่งครูได้ทำเป็นสวนสมุนไพรขึ้นเพื่อให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้ 

 

                5.ประชุมกลุ่มย่อย ภาคีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าสุขภาพ  ในงานมหกรรมตลาดนัดสุขภาพ  ร.ร.เจริญศรีแกรนด์ รอยัล  วันที่  29  ก.ค.2551

                ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หมอพื้นบ้านเครือข่ายใบชะโนด  อ.บ้านดุง  ,หมอพื้นบ้าน อ.ทุ่งฝน  อ.บ้านดุง  อ.กุมภวาปี   และอ.เพ็ญ  รวมจำนวนทั้งสิ้น  34 คน   ใน 5 หัวข้อ ดังนี้

                1.เสวนาภาษาหมอพื้นบ้าน  โดย ดร.อัจฉรา  จิณวงษ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

                2.ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพื่อการพึ่งตนเอง  โดย นายสมัย  ชัยช่วย  เครือข่ายหมอพื้นบ้านอำเภอบ้านดุง

                3.คาร์บอนแบงค์   โดย  นาชัยพฤกษ์  ค้อมคิรินทร์ เครือข่านใบชะโนด อ.บ้านดุง

                4. เครือข่ายกุมภวาปี  โดย นายคเณศวร  โคตรทา  ผู้ช่วย สสอ.กุมภวาปี

                5. ถอดบทเรียนการเคลื่อนงานในชุมชน  โดย ภก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ  สสจ.อุดรธานี

หมายเลขบันทึก: 257953เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท