การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน พฤษภาคม 2551


วิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้หมอพื้นบ้าน 4 ด้าน (จตุศาสตร์)

1.ประชุมคณะกรรมการ โครงการ ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ครั้งที่  5  ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านดุง   วันที่  8  พฤษภาคม  2551   มีผู้เข้าประชุมทั้งสิ้น  26 คน  สรุปผลดังนี้

1.ผู้รับผิดชอบโครงการทบทวนรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว  ดังนี้

 

กิจกรรม                                                                              

1. สำรวจ รวบรวม รายชื่อหมอพื้นบ้าน            

ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ตามแผน)  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จาก 5 ตำบลๆละ 50 คน รวม  250 คน

ผลที่เกิดขึ้นจริง  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 101 คน ได้แก่

1. ต.นาคำ 21 คน

2. ต.นาไหม 20 คน

3. ต.บ้านจันทน์ 27 คน

4. ต.วังทอง 13 คน

5. ต.บ้านม่วง 20 คน

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้                

ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ตามแผน)   ชุดความรู้หมอยา หมอเป่า หมอนวดจับเส้น และหมอตำแย

ผลที่เกิดขึ้นจริง  ชุดความรู้ทั้งหมด 152 ชุด แบ่งได้ดังนี้

1. หมอยา 88 ชุด

2. หมอเป่า 52 ชุด

3. หมอนวด 2 ชุด

4. หมอตำแย 10 ชุด

 

ปัญหา / อุปสรรค

1.หมอพื้นบ้านติดภารกิจจำเป็นในการประกอบอาชีพ (ติดช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร)

2. หมอพื้นบ้านในพื้นที่ยังไม่เปิดรับโครงการเท่าที่ควร เนื่องจากกลัวถูกหลอก

3. นักวิจัยในพื้นที่ยังไม่ชัดเจนในกระบวนการถอดองค์ความรู้ตามประเด็นคำถาม

 

 

2.เตรียมข้อมูลในการประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานครั้งที่  2  วันที่  23-24  พฤาภาคม  2551                จ.ขอนแก่น  ตามประเด็นดังนี้

- ความเป็นมาของเรื่องราวที่ท่านเลือกดำเนินงาน

- สิ่งที่ท่านทำงานมามีรูปธรรมเด่นๆอะไรบ้าง

- การทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆมีอย่างไรบ้าง

- ข้อมูล ตำรับยาหรือต้นไม้ยาหรือความรู้การดูแลสุขภาพหรือของดีในชุมชนที่รวบรวมได้แล้ว

- ผลสรุปโดยรวมๆท่านคิดว่าเกิดความสำเร็จ หรือประโยชน์อะไรต่อชุมชน หรือต่อกลุ่มเป้าหมาย

- เรื่องที่อยากบอกเล่าเพิ่มเติม

3.       เตรียมการสัมมนาจตุศาสตร์  20  พฤษภาคม  2551  (ทำอะไร  ใครทำ)

- ผู้รับผิดชอบโครงการ   _ ประสาน สสจ.อด , หนังสือเชิญ สอ. & อบต. 5 ตำบล  และ    หมอพื้นบ้านกลุ่มเป้าหมาย

- ผู้ประสานงาน 5 ตำบล   _ เชิญหมอพื้นบ้านกลุ่มเป้าหมาย

- สสจ.   _ ประสานงานหนังสือเชิญประชุมไปที่  รพร.บ้านดุง  สสอ.บ้านดุง  สอ. 5  ตำบล  และอบต. 5  ตำบล  สถานที่การประชุม  และรวบรวมข้อมูลจัดทำสารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

- นักนิเวศ   _ทักษะการสัมภาษณ์

- นายสมัย ชัยช่วย  _ อาหารกลางวัน  อาหารว่างและเครื่องดื่ม

1.       รูปแบบการจัดเวทีจตุศาสตร์

- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยนำข้อมูลทั้งหมดขึ้นจอ  ไปทีละโรค ทีละประเด็น

- หมอนวด  หมอตำแย  ให้ถ่ายภาพ VDO ถอดองค์ความรู้

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.       ประสานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง  ขอให้ห้องประชุมพร้อมอุปกรณ์นำเสนอ    เป็นสถานที่ในการจัดเวทีจตุศาสตร์

2.       หนังสือเชิญผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง  เป็นประธานพิธีเปิดการประชุม

3.     หนังสือเชิญสาธารณสุขอำเภอบ้านดุง  หัวหน้าสถานีอนามัยและผู้รับผิดชอบงานแพทย์      แผนไทย  5  ตำบลเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม

4.       หนังสือเชิญนายกองค์การบริหารตำบล  5  ตำบลเป้ามหมายเข้าร่วมการประชุม

5.     รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำสารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่น  อ.บ้านดุง  ส่งให้ร้านณิศาพริ้นท์ทำสำเนา  150  เล่ม  ภายในวันที่  14  พฤษภาคม  2551 

               

2.จัดเวทีประชาคมศึกษาสถานภาพการเข้าใช้ทรัพยากรป่าสมุนไพรป่าบ้านชัย อ.บ้านดุง 

ณ สอ.บ้านทุ่ง  อ.บ้านดุง  วันที่  13 พฤษภาคม  2551   

            มีผู้เข้าร่วมประชุม  ได้แก่ หมอพื้นบ้าน  ชาวบ้าน  อสม. ผู้นำชุมชน จนท.รพร.บ้านดุง  จนท.สอ.บ้านทุ่ง  และจาก สสจ.  รวมทั้งสิ้น  28  คน  สรุปได้ดังนี้

            1.ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน  เรื่องลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม   การประกอบอาชีพ  ศาสนาและความเชื่อ  องค์กรชาวบ้าน   ความเป็นมาของป่า  และสภาพพื้นที่ของป่า  ทั้งนี้ได้ข้อมูลจากชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

            2. การใช้ประโยชน์จากป่าบ้านชัย ได้แก่ เป็นแหล่งอาหารทั้งสัตว์ พืช  ผลไม้ต่างๆ    เป็นแหล่งยารักษาโรค  โดยหมอพื้นบ้านได้ไปเก็บยาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาดูแลสุขภาพของคนในท้องถิ่น  จากที่งานฯและหมอพื้นบ้าน เคยสำรวจสมุนไพรในป่าบ้านชัย  พบ 78 ชนิด   ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์  ปลูกพืช   และเก็บฟืน

3. การประชุมวิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้หมอพื้นบ้าน  4  ด้าน  (จตุศาสตร์)

  ห้องประชุมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง   วันที่  20  พฤษภาคม  2551

                ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย  คณะทำงานผู้รับผิดชอบโครงการ  หมอพื้นบ้าน 5 ตำบลเป้าหมาย   รวมทั้งสิ้น  39  คน   สรุปผลได้ดังนี้

3.1 ภก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ  ชี้แจงความเป็นมาวัตถุประสงค์ของโครงการ  และรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของโครงการ

3.2 ทบทวนเนื้อหาองค์ความรู้หมอพื้นบ้านตามกลุ่มอาการ  โดยอ่านข้อมูลของหมอพื้นบ้านทีละคน  จากสารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่น  อ.บ้านดุง    เริ่มจากการวินิจฉัยโรคจนกระทั่งกระบวนการรักษาคนไข้  ตั้งแต่คนไข้มารับบริการจนหายจากการเจ็บป่วยนั้น  เพื่อร่วมกันตรวจทานข้อมูลว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องหรือไม่ 

-       มีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลของหมอพื้นบ้าน  ในส่วนการวินิจฉัย  กระบวนการรักษา  และตำรับยารักษาโรค  (ชื่อสมุนไพร)

-       มีการแก้ไขข้อมูลพื้นฐาน  เช่น  ชื่อ  ชื่อสกุล  เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน  วันเดือนปีเกิด  ที่อยู่  ในหมอพื้นบ้านบางท่านที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน

3.3 หมอพื้นบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการจับเส้น  การนวด  ให้แยกกลุ่มไปที่ห้องประชุมย่อย  เพื่อถอดองค์ความรู้โดยวิธีการบันทึก  VDO  จำนวน  3  คน  ได้แก่ 

-          นายอุดม  สมสนิท                                 หมอนวด                ต.นาคำ

-          นายจำรัส  พะโค                   หมอนวด                ต.บ้านจันทน์

-          นางแตงอ่อน  วารีย์                              หมอนวด                ต.บ้านจันทน์

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ

1.พิมพ์ใบแก้คำผิดเพิ่มในหนังสือสารานุกรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ 

2.ติดตามและประสานงานการประชุมคณะกรรมการโครงการครั้งต่อไป  เพื่อหารือแนวทางการจัดตั้งสำนักงานกองทุนประกันสุขภาพแบบพื้นบ้าน

3.หนังสือเชิญสาธารณสุขอำเภอบ้านดุง  หัวหน้าสถานีอนามัยและผู้รับผิดชอบงานแพทย์      แผนไทย  5  ตำบลเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม

4.หนังสือเชิญนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  5  ตำบลเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม

 

4. เก็บข้อมูลเค้าโครงการศึกษาผู้มีประสบการณ์ด้านแพทย์พื้นบ้าน 20 ปี    สถานีอนามัยจอมศรี    อ.เพ็ญ  วันที่  21 พ.ค. 51      หมอพื้นบ้านที่นัดไว้คือพ่อบุญไทย  ไชยเสนา  เป็นหมอยาสมุนไพร  จากแบบประวัติที่ส่งให้ งานแพทย์แผนไทยฯ เพื่อเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือรับรอง ค่อนข้างครบถ้วน  แต่ในส่วนของเค้าโครงการศึกษา  ยังขาดการเก็บข้อมูลของคนไข้  และผู้นำชุมชน (สังคม)   จึงให้พ่อบุญไทย  จัดเก็บเพิ่มเติม  และได้แนวคิด /วิธีการในการเก็บข้อมูล  โดยต้องมีการประชุมชี้แจงผู้มีประสบการณ์ฯ ถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนเค้าโครงการศึกษาซึ่งยังไม่มีผู้ใดมีข้อมูลที่ครบถ้วน   ดังนั้น  ได้ทำเรื่องแจ้งยกเลิกแผนการออกเก็บข้อมูลเพิ่มเติมและเชิญหมอพื้นบ้าน/จนท.พื้นที่ ประชุมเพื่อชี้แจง ในวันที่  11 มิถุนายน  2551

 

5. นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ สสส.  ที่ จ.ขอนแก่น   ประเด็นในการเขียนเรื่องราวของพื้นที่ แผนงานภูมิปัญญา  ดังนี้

1.ความเป็นมา ของเรื่องราวที่เลือกดำเนินงาน

2.สิ่งที่ทำงานมามีรูปธรรมเด่นๆ อะไรบ้าง

1. กลุ่มเครือข่ายขยายเพิ่มขึ้น 5 ตำบล

2. ได้หมอยาตามที่ซอกหา  ได้ความรู้  ได้ยา

3. ได้รูปเล่มของสารานุกรม (ตำรับยา)

4. กลุ่มเครือข่ายเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจร่วมกัน

5. นักนิเวศชุมชน ผู้สัมภาษณ์ มีเวทีการฝึกทักษะการสัมภาษณ์

        3.การทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ

       4. ข้อมูล ตำรับยาหรือต้นไม้ยาหรือความรู้การดูแลสุขภาพหรือของดีในชุมชนที่รวบรวมได้แล้ว

       5.ผลสรุปโดยรวม เกิดความสำเร็จ หรือประโยชน์อะไร ต่อชุมชน หรือต่อกลุ่มเป้าหมาย 

                ชุมชนได้ศูนย์การเรียนรู้สุขภาพพื้นบ้าน  และเข้าใจหมอพื้นบ้าน (เข้าถึง) ได้อย่างเป็นรูปธรรม เยาวชนได้รับการสืบทอดภูมิปัญญา

     6.เรื่องที่อยากบอกเล่าเพิ่มเติม

ทุกคนมีความปรองดองกัน ประสานงานได้ดี มีความรับผิดชอบ ไม่บ่น หมอพื้นบ้านมีศักยภาพในชุมชน ยกระดับความรู้ มีการรักษาขั้นพื้นฐาน เกิดการตื่นตัว โงหัว เชิดหน้าชูตา เห็นความสำคัญ

 

6.จัดประชุมผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยอำเภอเจ้าภาพตามประเด็นการตรวจราชการ  ณ ห้องประชุมสหกรณ์   สสจ.อุดรธานี   วันที่  26  พฤษภาคม  2551

ผู้เข้าประชุม  ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานโรงพยาบาล/สาธารณสุข ในอำเภอที่เป็นเจ้าภาพตามประเด็นตรวจราชการ  12  อำเภอ  รวมทั้งสิ้น   18  คน

ผลการประชุม

1.งานแพทย์แผนไทย แจ้งการดำเนินงานของจังหวัดในรูปแบบของการส่งเสริม สนับสนุน กำหนดทิศทาง สร้างแนวคิด ทั้งนี้จะมีระบบงานคือ

                1.การพัฒนางานภายในระบบบริการ  โดยเริ่มต้นที่มีหรือไม่มีบริการ และถ้ามีแล้วจะดีหรือไม่ดี   ดูจากมาตรฐาน (ฐานคิด - คึดนำทำนำทำอีหลี ทำอย่างมีแผน มียุทธศาสตร์)

                2.การพัฒนางานภายในชุมชน เครือข่าย ประเด็นนี้ความรู้และทักษะของผู้ดำเนินงานมีเพียงพอหรือไม่ มีความผูกพันกับภารกิจดังกล่าวอย่างไร (ฐานคิด มีกำลัง มีเวลา คึดนำทำนำทำอีหลี  ไม่ครอบงำ ไม่ทำให้)

2.ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมตามประเด็นเกี่ยวกับระบบงานแพทย์แผนไทยดังนี้

ประเด็นที่ 1 ระบบงานการแพทย์แผนไทยในสถานบริการ คืออะไร ควรที่จะต้องมีอะไรบ้าง

 

 

ประเด็นที่ 2 บทบาทหน้าที่เจ้าภาพ ในการวางแผน วางกรอบ ปฐมคิด ต้นคิด โมดูเรเตอร์ 

3.ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมตามประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานแพทย์แผนไทยดังนี้

ประเด็นที่ 1 การพัฒนาระบบการใช้ยาสมุนไพร

 เสนอให้เจ้าภาพรวบรวมข้อมูลและจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเข้าสู่ระบบ อย่างเป็นระบบ  และกำหนดกิจกรรม โดยเป้าหมาย

·        อยากเห็นการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้นในแง่จำนวนชนิด

หมายเลขบันทึก: 257945เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท