ชักบันไดหนี เพื่อคุณภาพ??


การขอตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ขณะนี้มีประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์  และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2549  สำหรับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา  สรุปสาระสำคัญ  คือ  กำหนดหลักเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ  ว่าต้องมีผลงานอย่างไร และขั้นตอนการพิจารณาผลงานทางวิชาการ  ซึ่งสภามหาวิทยาลัยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ  ที่มีองค์ประกอบ  ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการจากสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด  นอกจากนี้ยังเพิ่มประเด็นเรื่องการลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณ  และประเด็นการอุทธรณ์ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ประกาศนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2549 เป็นต้นไป  ประกาศฉบับนี้เมื่อมองในเชิงบวกเห็นว่า พยายามเพิ่มคุณภาพมาตรฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่างๆ  กำหนดมาตรฐานผู้อ่าน/ประเมินผลงานทางวิชาการ  มาตรการทางจริยธรรม  แต่อีกมุมมองหนึ่ง  จะเห็นว่าก.พ.อ. ยังไม่มอบอำนาจ/กระจายอำนาจให้กับสภามหาวิทยาลัยเท่าที่ควร  และกำหนดเงื่อนไขการขอตำแหน่งทางวิชาการให้ยุ่งยากขึ้นในลักษณะชักบันไดหนี!!!  อย่างไรก็ตามเมื่อมีประกาศแล้วคงต้องปฏิบัติตามและประเมินผลความสำเร็จต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคุณภาพมาตรฐานของอาจารย์
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25733เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท