การประชุมกรรมการ QA มมส. ครั้งที่ 1/2549


การประชุมคณะกรรมการประสานงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวานนี้ วันพุธที่ 26 เมษายน 49 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคารบรมราชกุมารี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งพอจะสรุปประเด็นสำคัญ พอสังเขปได้ดังนี้

วาระเพื่อพิจารณา 4.1 การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2549

      เพื่อให้การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2549 (วงรอบการประเมินปีการศึกษา 2548 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2548 ถึง 31 พฤษภาคม 2549) ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงจำเป็นต้องมีคู่มือการประกันคุณภาพ คณะกรรมการจึงได้ร่วมกันพิจารณา ซึ่งมีผลคือ

มติ

  • เห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำ
  • ให้คู่มือมี 2 เล่มคือ 1) สำหรับหน่วยงานจัดการเรียนการสอน และ 2) สำหรับหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน
  • คู่มือสำหรับหน่วยงานจัดการเรียนการสอน จะนำ 9 มาตรฐาน 41 ตัวบ่งชี้ ของ สกอ. ปรับรวมกับ 7 มาตรฐาน 48 ตัวบ่งชี้ ของ สมศ. เป็นแนวทาง 
  • คู่มือสำหรับหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน จะมี 7 มาตรฐาน คือ 1) ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนงาน 2) ด้านภารกิจหลักของหน่วยงาน 3) ด้านการวิจัย 4) ด้านการบริการวิชาการ 5) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 6) ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร และ 7) ด้านการประกันคุณภาพภายใน

วาระเพื่อพิจารณา 4.2 เกณฑ์การประเมินคุณภาพ

      ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพได้นำเสนอเกณฑ์การประเมิน แบบ 7 ระดับ (โดยแนวคิดมาจาก สกอ. และ สมศ. ปรับรวมเข้าด้วยกัน) ดังนี้

  1. P (Plan)  
  2. มี 1+ D (Do)
  3. มี 2 + C (Check)
  4. มี 3 + A (Act)
  5. มี 4 + ผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
  6. มี 4 + ผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ขั้นกลาง
  7. มี 4 + ผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ขั้นสูง

มติ

  • ที่ประชุมขอให้แยกออกเป็น 2 มิติ คือ มิติที่ 1 เรื่องของกระบวนการ ตั้งแต่ 1-4 (แนวทางของ สกอ.) และมิติที่ 2 เรื่องของผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน ตั้งแต่ 5-7 (แนวทางของ สมศ.)
  • เกณฑ์การประเมินดังกล่าวให้ใช้กับทั้งของหน่วยงานจัดการเรียนการสอน และหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน (ทุกหน่วยงาน)

วาระเพื่อพิจารณา 4.3 การจัดกลุ่มสาขา มมส. เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา

      เนื่องจากการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ. รอบที่ 2 นี้ จะมีการรับรองมาตรฐานการศึกษาทั้งในระดับสถาบัน และระดับกลุ่มสาขา โดย สมศ. ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดกลุ่มสาขาของตัวเอง ให้เข้ากับกลุ่มที่ สมศ. กำหนด 10 กลุ่ม

มติ

      ที่ประชุมให้คณะวิชา ไปพิจารณาสาขาวิชาของตัวเอง เพื่อจัดเข้ากลุ่มตามที่ สมศ. กำหนด และยืนยันกลับมายังศูนย์พัฒนาฯ อีกครั้ง

ประเด็นอื่น ๆ

      ในการประชุมครั้งนี้มีหลายข้อคำถามจากหน่วยงานที่มีข้อสงสัย/ ข้อสังเกตุที่คาใจสำหรับการประเมินรอบที่ 2 ซึ่งศูนย์ก็จะรับไปหาคำตอบมาให้ เช่น

  • ข้อมูลต่าง ๆ ของศูนย์บริการวิชาการภายนอก ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนในต่างจังหวัด หลายศูนย์ จะจับไปไว้ที่ใด
  • สำหรับหน่วยงานเสริมศึกษา (วิสาหกิจ เช่น ศูนย์หนังสือ) จะใช้วงรอบอะไรในการเขียน SAR (ปีการศึกษา หรือ ปีงบประมาณ)
  • ในการรวบรวมข้อมูลระดับสถาบัน เพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก จะใช้วิธีการใดในการรวบรวมข้อมูล เพื่อลดภาระให้กับคณะ
  • สถาบันที่ไม่ใช้คณะวิชา แต่มีการผลิตบัณฑิต เช่น สถาบันวิจัยวลัยรุกเวช มีการเปิดสอนในหลักสูตร ปร.ด.ความหลากหลายทางชีวภาพ จะจับไปไว้อย่างไร

      เป็นที่น่าหนักใจในการประเมินภายนอกรอบที่ 2 แม้กระทั้ง สมศ. ซึ่งเป็นผู้ที่จัดให้มีการประเมิน ก็ยังไม่มีความชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น การจัดกลุ่มสาขา รายละเอียดของตัวบ่งชี้ ฯลฯ ทำให้ผู้ที่รับผิดชอบในระดับสถาบันอุดมศึกษา ต้องคาดเดาและหาแนวทางที่คิดว่าจะใช่เอาเอง เพราะถ้าจะรอแต่ สมศ. แล้ว กระบวนการประกันคุณภาพภายในก็คงต้องหยุดชะงักไป ดังนั้นแนวทางการประกันคุณภาพภายใน ที่ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพกำลังดำเนินการอยู่ คือ ดำเนินการภายในให้ต่อเนื่องต่อไป และพยายามให้ใกล้เคียงกับ สมศ. และ สกอ. ต้องการมากที่สุดเท่าจะทำได้ ในขณะที่ทั้ง 2 สถาบันยังไม่มีข้อมูลยุติสุดท้ายให้กับมหาวิทยาลัย

KPN

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25712เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณและขอชื่นชมการทำงานของศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ มมส. และคุณกัมปนาท มากครับ ถึงแม้ผมจะไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ก็เหมือนว่าได้เข้าร่วมครับ และจะขอนำข้อมูลเหล่านี้เพื่อประโยชน์การประกันคุณภาพของ CARD ต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

วิชิต

ขอบคุณพี่วิชิตมากนะครับที่ให้กำลังใจ
  • ผมสนใจเกณฑ์การประเมินหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ทั้ง 7 มาตรฐานครับ
  • ถ้าคุณ KPN ช่วยเขียนบันทึกใน Blog จะเป็นโยชน์อย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานสายสนับสนุน ส่วนของผมที่ดำเนินการอยู่ (มน.) ก็ยินดี ลปรร.กันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท