RW1 ของภาคใต้


ความเข้าใจ KM ที่ยอมทดลองนำไปใช้ปฏฺบัติงานด้วยตนเองนั้น "สังคม" เป็นแรงบีบได้อย่างดี

   เมื่อวันที่ 21-23 เมษายน 2552 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา ได้จัดเวทีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขตโดยมีเจ้าหน้าที่จาก 14 จังหวัด ๆ ละ 3 คนมาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานที่เป็นภาพรวมของใต้ในปี 2552

   งานที่ดิฉันได้รับมอบหมายจากคณะทำงาน KM ที่เป็นผู้แทน/ทีมงานของภาคใต้ที่ให้ไปช่วยก็คือ 1) ความเป็นทีมงานของคณะทำงานฯ ที่ช่วยกันขับเคลื่อนความเข้าใจของการจัดการความรู้ในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่  2)การใช้ KM ควบคู่กับการทำงานส่งเสริมการเกษตร/โครงการต่าง ๆ และ 3) เพิ่มกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันทำจนเกิดผลงานที่สั่งสมกันมา ภายใต้เนื้อหา ได้แก่ เรื่องที่ 1 นโยบาย KM ปี 2552 ของกรมส่งเสริมการเกษตรมีอะไรบ้าง  และเรื่องที่ 2 การเชื่อมโยงคลังความรู้ระหว่างจังหวัด เขต และกรมฯ

   จากสิ่งดังกล่าวดิฉันก็ได้เริ่มต้นจากการชวนคุยกันถึงผลงานส่งเสริมการเกษตรที่เกิดขึ้นของแต่ละสำนักงานเกษตรจังหวัดนั้นมีอะไรบ้าง? โดยให้จังหวัดอื่นเป็นผู้บ่งบอกถึงความเด่นของเจ้าของจังหวัด (เจ้าของจังหวัดไม่ต้องประเมินตนเอง)คำตอบที่เพื่อนมองก็คือ K ที่เจ้าของจังหวัดมีความเก่ง (เอกลักษณ์) เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่องปาล์มนำมัน/ จังหวัดปัตตานี เรื่องน้ำปูดู เป็นต้น ส่วนการประเมิน K ของตนเองนั้นเจ้าของจังหวัดจะประเมินเมื่อไหร่/ประเมินในรอบปีก็ได้ แต่เวทีที่เพื่อนหรือสังคมเป็นผู้ประเมินนั้นหาได้ยาก

   ข้อสรุป (แบบคร่าวๆ) ที่เกิดขึ้นก็คือ K ของ14 จังหวัดในภาคใต้ส่วนใหญ่จะเป็น K ด้านไม้ผลเป็นหลัก เช่น ปาล์มน้ำมัน มังคุด กล้วย เงาะ และอื่น ๆ และด้านการแปรรูป เช่น น้ำปูดู ดอกไม้ใบยาง เป็นต้น ฉะนั้น ถ้าได้มีการพูดคุยกันจริง ๆ เราก็จะมี/รู้ต้นทุน K ของภาคใต้ที่มาจากทุกจังหวัดได้ และเวลาจัดเก็บก็สามารถปักธงได้เลยว่า คลังความรู้ของภาคใต้ (ภาพรวม) จะมีเรื่องอะไรบ้าง?ที่สามารถจัดเก็บมาไว้เป็นต้นทุนเดิมก่อน ส่วนจังหวัดก็สามารถะบุได้เลยว่า คลังของจังหวัดชุมพร จะเป็นคลังความรู้หลักอะไรบ้าง?  คลังของจังหวัดพัทลุง เป็นคลังความรู้หลักอะไรบ้าง ซึ่งแต่ละจังหวัดนั้นบางจังหวัดมีความเด่นของ K ที่ต่างกันก็หมายถึงว่า ชำนาญการในแต่ละเรื่องของการทำงานต่างกัน  บางเรื่องทำเป็นเหมือนกันก็ได้

    ฉะนั้น ถ้าพูดถึง K ด้านการเกษตรแล้วนั้นเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในการค้นหาและจัดเก็บได้จากเกษตรกร แต่ถ้าพูดถึง K ของเจ้าหน้าที่ที่ไปทำให้เกษตรกรยอมทำดอกไม้ใบยางนั้น ยังต้องมีการค้นหาและจัดเก็บกันอีก เพราะเป็น K ของเจ้าหน้าที่ด้านวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร และถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้เราก็จะมี "คลังความรู้ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่" โดยเฉพาะวิธีการทำงานที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของเจ้าหน้าที่แต่ละคน หรือแต่ละเรื่องที่ไปทำกับเกษตรกร กับกลุ่มเกษตรกร กับเครือข่าย และอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากมายนัก จึงเหลือเพียงแต่ส่งเสริม
และสนับสนุนให้มีการจัดเก็บ K ของเจ้าหน้าที่ให้เกิดขึ้น
โดยอาจจะเริ่มต้นจากเวที RW เวที DW เวทีโครงการ และอื่น ๆ ก็ได้

   ส่วนความเข้าใจของการใช้การจัดการความรู้เพื่อทำงานก็เป็นเรื่องที่ยากต่อการสื่อสาร เพราะเป็นเรื่องของพฤติกรรมและทัศนคติ แต่จากเวที RW1 ของภาคใต้ก็ได้ใช้วิธีการทางสังคมมาเป็นตัวช่วยเพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด  ใช้วิธีการในเชิงบริหารจัดการของทีมงานเข้ามาผลักดัน  และใช้วิธีการกระตุ้น/สนับสนุนจากผู้บริหารมาเป็นขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ เช่น การให้ความสำคัญ การให้คำชม  การลงไปดู  และอื่น ๆ

   ข้อสรุปสุดท้ายก็คือ ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่า การจัดการความรู้ยังเป็นภาระ ยังเป็นงานที่ต้องทำแยก และยังเป็นของเหนื่อย ก็คงต้องหันกลับมาทำความเข้าใจ หันกลับมาทบทวนวิธีการทำงาน และหันกลับมาอุด/ปรับแก้จุดอ่อนกัน

   แต่ปรากฎการณ์ในการเวทีเสวนาพูดคุยของเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ปฏิบัติในเวที RW1 นั้น เห็นได้อย่างชัดเจนถึงมีความเป็นเพื่อน เป็นพี่เป็นน้อง โดยเฉพาะน้องยังมีความต้องการเรียนรู้สิ่งดี ๆ จากพี่ ๆ ที่เป็นประสบการณ์ของงานส่งเสริมการเกษตรที่พี่ ๆ ทำ ก็เป็นบรรยากาศที่ดีมาก มีทั้งพี่ ๆ ขึ้นมานำเสนอผลงานที่นำเครื่องมือ KM เข้าไปใช้ทำงาน และมีทั้งทีมน้อง ๆ ขึ้นไปนำเสนอผลงานที่ใช้ KM เป็นเครื่องมือ จึงทำให้เห็นมุมมองที่พี่กับน้องมองในแง่มุมของประสบการณ์ตนเองนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเทคนิคการนำเสนอ เทคนิคการสรุปและรายงานผล ตลอดจนการหยิบยกตัวอย่างขึ้นมาเล่าให้ฟัง จึงเป็นเวทีของการ "เปิดโอกาสในการพูด การฟัง และการซักถามข้อสงสัย" ได้เป็นอย่างดี

   ในเวทีครั้งนี้ก็มีทีมงานที่เป็นที่รู้จักกันมาร่วมด้วยก็คือ คุณชาญวิทย์ (สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช) และคุณชัยพร หรือหนุ่มร้อยเกาะ (สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี)  ส่วนข้อคิดก็คือ ถ้ามีเวที แล้วมีเสียงหัวเราะ เวทีนั้นก็เริ่มสนุกแล้วค่ะ.

 

หมายเลขบันทึก: 257008เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท