การฝึกงานวันที่ 26 เมษายน 2549


~มารู้จัก Access Grid กัน~

 

  • เข้าอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีกริดที่ห้องประชุมมงคลสุข คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • การอบรมมีในระหว่างวันที่ 26-28 เมษายน 2549
  • วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Access Grid (AG)

ระบบแอกเซสกริดคืออะไร

     ระบบแอกเซสกริด (Access Grid หรือ AG) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารสองทางแบบหลายสื่อระหว่างหลายกลุ่มผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบแอกเซสกริดเริ่มโดย Argonne National Laboratory (ANL) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา

จุดประสงค์หลักของระบบแอกเซสกริด คือ การสร้างระบบสื่อสารทางไกลล้ำยุคที่

  • สามารถติดต่อระหว่างหลายแห่งพร้อมกัน และครอบคลุมหลายสื่อ ได้แก่ เสียงและภาพที่มีความละเอียดสูง
  • ให้ความรู้สึกเสมือนการเผชิญหน้าโดยตรงจากระยะไกล (Tele-mmersive) ผู้ร่วมประชุมต้องสามารถเห็นสภาพแวดล้อมของผู้บรรยายและผู้ร่วมประชุมกลุ่มอื่นได้ ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในห้องเดียวกัน
  • ขนาดของภาพผู้บรรยายมีขนาดเท่าตัวจริง และอยู่ในมุมตรงของสายตา เพื่อสร้างความรู้สึกว่าผู้บรรยายนั่งอยู่อีกฟากหนึ่งของโต๊ะ
  • เรื่องเสียง ผู้ร่วมประชุมทุกคนสามารถโต้ตอบกับผู้บรรยายได้ตลอดเวลา ผู้ร่วมประชุมอื่นจะได้ยินและเห็นผู้เข้าร่วมประชุมนั้นทันที การประชุมจะนัดกันที่ ห้องประชุมเสมือน (Virtual Vanue) ซึ่งควบคุมโดยซอฟต์แวร์
  • สนับสนุนการทำงานแบบร่วมมือกัน (Collaborative) คือ สามารถให้ผู้ร่วมประชุมควบคุมการนำเสนอหรือซอฟต์แวร์จากหลายจุดได้ ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดต้องได้ยินเสียงและเห็นภาพของผู้บรรยาย และเห็นเอกสารที่ผู้บรรยายกำลังอธิบายซึ่งส่วนมากเอกสารจะอยู่ในรูปของแฟ้มเพาเวอร์พอยต์ (MS PowerPoint) เอกสารของผู้ฟังต้องเปลี่ยนหน้าตามผู้บรรยายเสมอ

         ระบบแอกเซสกริดจะสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการประชุมให้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกันถึงแม้จะอยู่ไกลกันนับพันกิโลเมตร

         ระบบแอกเซสกริด สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น การเรียนการสอนทางไกลหลายกลุ่มที่นักเรียนสามารถโต้ตอบได้ และการประชุมทางไกลภายในองค์กรที่มีหลายสาขา เป็นต้น

  • ระบบแอกเซสกริดโหนดของไทยในขณะนี้ถูกสร้างโดยศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและระบบเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นระบบแรกและเดียวในประเทศไทยที่ถูกสร้างขึ้นเต็มรูปแบบ และเป็นระบบแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ขณะนี้มี 14 มหาวิทยาลัย กำลังเข้าร่วม และมอ. ก็เป็น 1 ใน 14 มหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมด้วย  โดยหน่วยงานในมอ. ที่สนใจเทคโนโลยีนี้คือ
    • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • คณะวิทยาศาสตร์
    • คณะแพทยศาสตร์ 
      โดยทั้ง 3 คณะนี้ จะมี Grid Middle Wear เป็นตัวกลาง
  • เทคโนโลยีกริดจะเน้นคุณภาพมากกว่าเน้นการประหยัด
  • Grid สมัยใหม่จะมี service สามารถทำการเขียนโปรแกรมใส่เพิ่มได้
  • ระบบ Access Grid สามารถประยุกต์ทำเป็น distance learning ได้ โดย AG จะเป็น การส่งข้อมูลการสื่อสารแบบ 2 way ผู้เรียนสามารถดูและโต้ตอบได้ ส่วนการเรียนแบบปกติจากระบบถ่ายกล้องลง TV จะเป็นแบบ 1 way คือสามารถดูได้อย่างเดียว
  • Access Grid Node(AGN) คือเครื่องของ AG โดย AG ไม่จำเป็นต้องใช้ 1 AGN แต่สามารถใช้ได้หลายเครื่องเท่าที่ต้องการ
  • AG จะใช้ Multicast ในการส่งข้อมูล แทนที่จะใช้แบบ Unicast
  • Jabber เป็น Instant Messenger ตัวหนึ่งที่เป็นมาตรฐานเปิด  มี conference room
  • Google Talk ใช้ Jabber
  • ห้องที่จะติดตั้ง AGN จะต้องเป็นห้องที่ไม่มีเสียง echo
  • ปัญหาในการทำ Presentation ใน Access Grid คือ ห้ามมี Animation เพราะ ส่งที่ AG ส่งไปในการสั่งให้เปลี่ยนหน้าของ Presentation นั้น คือคำสั่งในการเปลี่ยนหน้า คำสั่งนั้นจะบอกให้เปลี่ยนไปเป็นหน้าใด  ไม่ได้ส่งภาพของหน้าจอไป  ผู้พูดจะเป็นคนคุม site Present ทั้งหมด  ถ้ามี Animation การเปลี่ยนหน้าอาจเกิดความผิดพลาดได้ คือ ผู้พูดจะเป็นผู้ที่เห็นการเปลี่ยนหน้า แต่คนอื่น ๆ ที่อยู่คนละห้องกัน จะไม่เห็น Animation ที่เกิดขึ้น โดย Animation นี้อาจโดนข้ามไป กลายเป็นหน้าถัดไปแทน
  • Access Grid จะรวมโปรแกรมหลาย ๆ ตัวไว้ด้วยกัน จะมีหน้าการทำงาน 2 ด้าน คือ
    • ด้านซ้ายเป็น VIC
    • ด้านขวาเป็น RAT
  • H.323 มีข้อจำกัดคือ
    • ห้ามมี client เกิน?
    • ต้องมี bandwidth ไม่เกิน? 
  • RTP-based (Realtime Transmittion Protocal)
    • มีข้อจำกัดล่าง  คือ ต้องมี bandwidth เกิน?
  • Multicast เป็นการส่งข้อมูลโดยพึ่งพา Router
  • Multicast ประหยัดกว่า Brodcast เพราะจะส่งข้อมูลเท่าที่จำเป็น
  • Venue Management เป็นโปรแกรมพิเศษที่นำมาเปลี่ยน config ของ server
    • จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละห้อง
    • กำหนดสิทธิ์การเข้าห้อง
  • Share Presentation จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    • Master เป็นคน Click
    • ผู้ชม
  • Share Browser จะไม่ได้ใช้ share cookie ทำให้เวลาเข้า web ที่มี login จะมีปัญหา คือ โดยปกติแล้วเวลาเปิดเว็บอะไร คนอื่น ๆ ที่อยู่ห้องอื่น จะเห็นหมด  แต่ถ้ามี login คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในห้องเดียวกันจะ login ตามไปไม่ได้ (รหัสเป็น private ไม่ใช่ public ดูกันไม่ได้)

เพิ่มเติม

  • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Access Grid ได้ที่ http://www.accessgrid.org/
  • อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ คู่มือการติดตั้งระบบแอกเซสกริด (Access Grid) บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ได้ที่ http://conf.cpc.ku.ac.th/Access_grid.htm
  • อ่าน Access Grid นวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสารทางไกลแห่งอนาคต ได้ที่ http://conf.cpc.ku.ac.th/data/accessgrid-seed-article.pdf

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25684เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2006 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
มันเหมือนกับใน starwar หรือเปล่า ??

ยังไงหว่า ไม่เข้าใจอ่ะ อธิบาย starwar???
Starwar ไง หนังอ่ะหนัง!!~
ที่เค้าคุยกันได้ แม้นจะอยู่คนละสถานที่กัน -*-
เหอๆ จำมะล่ายอ่า -*-
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท