4 วิธีลดความเครียดจากการทำงาน


 

...

 

ภาพที่ 1: ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

...

ท่านอาจารย์มัลคอล์ม มอนโร ตีพิมพ์เรื่อง 'How to beat office stress' หรือ "วิธีลดความเครียดในออฟฟิซ (สำนักงาน)" ในนิตยสาร 'Men's Fitness' ฉบับออนไลน์(ฟรี)

ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังแบบ "ไทย(หลาย)คำ-อังกฤษ(น้อย)คำ" เพื่อให้พวกเราได้เรียนภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กันครับ

...

(1). Talk it out = พูดออกมา อย่าเก็บกดมากเกิน

  • ทางที่ดีคือ 'stay informed (inform = บอกข่าว ให้ข้อมูล; informed = ได้รับข้อมูล เปิดหูเปิดตา)'
  • อาจารย์มอนโรแนะนำว่า คนที่ทำงานสำนักงานหรือออฟฟิซควรทำตัวเป็นคน "หูไวตาไว" จะได้รู้ข้อมูลทั้งจากเบื้องบนและเบื้องล่าง จะได้ปรับตัวถูก โดยเฉพาะต้องรู้ใจว่า เจ้านายชอบอะไร-ไม่ชอบอะไร (ไม่อย่างนั้นอาจลำบาก)
...
  • ส่วนเรื่อง 'talk it out' นี่ฝรั่งทำได้... คนไทยต้องระวังสุดๆ เลย หน่วยงานทั่วไปมักจะมี "สายสืบ" อยู่เสมอ แถมยังมีคนที่พร้อมจะนำเรื่องไม่ดี (โดยเฉพาะคนที่ชอบวิจารณ์เจ้านาย) ไปฟ้องด้วย ทางที่ดีคือ ฟังให้มาก-พูดให้น้อย
  • ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาและด้านการจัดการความรู้ได้กล่าวในการปฐมนิเทศวิชาพยาธิวิทยาคลินิกให้นักศึกษาแพทย์ ปี 2525 ว่า "ให้เงยหน้าเงยตาเรียน อย่าก้มหน้าก้มตาเรียน"
  • ท่านสอนว่า เรื่องที่ต้องเรียนก็ควรเรียนให้ "รู้ลึกและรู้จริง" ขณะเดียวกันก็ควรสนใจเรื่องรอบตัวทั่วโลก เพื่อให้มีความรู้รอบตัวแบบ "รู้กว้างและรู้ไกล" ไปพร้อมๆ กัน (Learn deep & wide together.)

...

(2). Take a break = พักเป็นพักๆ (break = พักเป็นช่วงๆ)

  • การทำงานแบบ "ลุยไป-ไม่หยุดยั้ง (nonstop)" นานๆ มักจะทำให้ประสิทธิผลตกลง ทางที่ดีคือ หาโอกาสพักสัก 1-10 นาทีทุกๆ ชั่วโมง เช่น ลุกขึ้น เดินออกไปล้างหน้าล้างตา เดินขึ้นลงบันไดสัก 1-2 ชั้น หายใจลึกๆ ฯลฯ แล้วกลับมาทำงานใหม่
  • ถ้าลุกไปไหนไม่ได้ เช่น ติดประชุม เจ้านายกำลังบรรยาย (เปิดประชุม ยกประเด็น ถกประเด็น และปิดประชุมพร้อม) ฯลฯ... การขยับตัวเบาๆ บ่อยๆ เช่น กระดกข้อเท้าขึ้นลง งอเข่าเหยียดเข่า ฯลฯ มีส่วนช่วยคลายเครียดได้มาก

...

  • งานบางอย่างที่ต้องยืนนานๆ เช่น พนักงานเก็บเงินในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ไม่ควรยืนตัวตรงตลอดเวลา ทว่า... ควรยืนให้ขาข้างหนึ่งเหลื่อมไปด้านหน้า อีกข้างหนึ่งเหลื่อมไปด้านหลัง แล้วสลับขาอย่างน้อยทุกๆ 5 นาที วิธีนี้จะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และปวดเมื่อยบริเวณน่องน้อยลง
  • ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ต้องยืนบรรยายนานๆ... การหาเก้าอี้เตี้ยๆ ไว้รองเท้าทีละข้าง สลับเท้าบ่อยๆ (ให้ข้างหนึ่งอยู่สูง อีกข้างอยู่ต่ำ) มีส่วนช่วยลดอาการปวดหลังให้น้อยลงได้
  • อาจารย์มัลคอล์มแนะนำว่า ไม่จำเป็น... อย่ากินข้าวที่โต๊ะทำงาน ให้ลุกไปกินที่อื่น ได้ลุกขึ้น เดินไปมาสักหน่อยก็ยังดีกว่านั่งที่เดิมอยู่แทบทั้งวัน

...

(3). Remember: You're not perfect. = จำไว้ว่า คุณไม่ได้สมบูรณ์แบบ

  • การพยายามทำตัวให้เป็น "คุณดีพร้อม" หรือ "คุณสมบูรณ์แบบ (perfectionist)" อาจจะทำให้อะไรๆ แย่ลง
  • การทำอะไรคนเดียวให้ "ดีพร้อม" อาจจะได้ผลเป็นบางครั้ง ทว่า... การทำงานร่วมกับคนอื่น หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นนั้น "ดี" อย่างเดียวไม่พอ ต้องขอความ "พอดี" ด้วย จึงจะได้ผลดี

...

  • นั่นคือ 'Be good & appropriate work more.' = "ดี + พอดี (appropriate = พอดี เหมาะสม) ได้ผลดีกว่า" 
  • อาจารย์มัลคอล์มแนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์พร้อม (not to do perfectly) ทำให้มันถูกต้องก็ดีมากแล้ว (just do correctly)

...

 

(4). Cut the cord after 5 P.M. = ถอดปลั๊กหลัง 5 โมงเย็น (17.00 นาฬิกา)

  • ชีวิตคนเราไม่ได้มีแต่งานอย่างเดียว ทว่า... มีเรื่องของญาติสนิทมิตรสหาย ครอบครัว ความสุข และอะไรๆ อีกหลายอย่าง
  • ถ้าทำได้... ไม่ควรนำงานหรือความเครียดที่เหลือไปทำต่อที่บ้าน ถ้างานที่ทำมันเครียดมากจริงๆ เช่น เจ้านายหน้าเนื้อใจเสือ ฯลฯ ควรมองหางานใหม่ทำ
  • ถ้ายังหางานใหม่ไม่ได้... ต้องกินยา "ทำใจ" มากหน่อย นอนให้พอ ออกแรง-ออกกำลังมากๆ และมองคนที่กำลังตกงานเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะความเครียดจากการตกงานมักจะหนักหนาสาหัสกว่าความเครียดจากงานเพียบเลย

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                

  • 'inform' > [ อิ่น - ฟ่อม ] > [ Click ] , [ Click ]
  • 'inform' > verb = บอก แจ้ง เล่า(ข้อมูลให้ทราบ)
  • 'information' > noun = ข้อมูล ข่าวสาร
  • 'informer' > noun = คนแจ้งข่าว

  • ตัวอย่าง > The universities informed us that we had been accepted.
  • แปลว่า > มหาวิทยาลัย (หลายแห่ง) แจ้งให้เราทราบว่า เราได้รับการตอบรับ (เช่น ผ่านการสอบ ฯลฯ)

...

แนะนำให้ฟังเสียงเจ้าของภาษา คลิกเครื่องหมายธงชาติหรือลำโพง แล้วพูดตามอย่างน้อย 3 ครั้งทันที และฝึกซ้ำอีกครั้ง โดยเน้นการย้ำเสียงหนักเบา (accent) ให้ถูกตำแหน่ง (แสดงเสียงด้วยตัวอักษรหนา และขีดเส้นใต้)

...

ที่มา >                                                

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 11 เมษายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 255190เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2009 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท