6 ปี กับการปฏิรูปการศึกษา


   ผมได้มอบหมายให้อาจารย์ประดิษฐ  สนั่นเอื้อ (รอง ผอ. สพบ.) เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง 6 ปี กับการปฏิรูปการศึกษา ตามคำเชิญของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา การสัมมนาเริ่มเวลา 13.30 น. มีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์  ฉายแสง) เป็นประธาน ได้กล่าวเปิดงาน และแสดงความคิดเห็นว่าเรายังขาดการติดตามและการประเมินผลแบบวิจัยในลักษณะที่เราจะดำเนินการในวันนี้  ส่วนการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อไปนั้น เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการมีงานต่าง ๆ มากมาย แบ่งได้เป็น 7 เรื่อง ใน 2 เดือนแรก จะต้องรู้ปัญหาให้ชัด ๆ กำหนดทิศทางให้ได้ แล้วกำหนดวิธีการและดำเนินการแบบมีส่วนร่วม จึงขอขอบคุณ ที่ต้องเชิญมาแสดงความคิดเห็นในโอกาสต่อ ๆ ไป ส่วนผู้เข้าร่วมสัมมนาล้วนเป็นบุคคลสำคัญของชาติ 

     ดังนั้น ในการสัมมนานั้นได้ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน
     ขั้นตอนที่ 1 เป็นการนำเสนอแผนการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการศึกษา ของที่ปรึกษาด้านวิจัยและประเมินผลการศึกษา สกศ. ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ ซึ่งนำเสนอการติดตามผลใน 5 เรื่อง จากนั้นเป็นการนำเสนอของผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ (ดร.เจือจันทร์ จงสถิตอยู่) และตามด้วยผู้อำนวยการ สมศ. (ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์)
      ขั้นตอนที่ 2 ประธานการประชุมได้ขอรับฟังความคิดเห็นในเชิงยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา ในประเด็นใหญ่ ๆ จากผู้เข้าส้มมนาหลายท่านแต่ขอนำเสนอ 3 ท่าน ดังนี้  1) ศาสตราจารย์สุมน  อมรวิวัฒน์  ประธานที่ปรึกษาของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาเสนอ 2 ยุทธศาสตร์ คือ 1.1)การปฏิรูปการศึกษาต้องมองให้สอดคล้องกับการพัฒนาครูฯ ขอให้เกิดกองทุนพัฒนาและส่งเสริมครูฯ ให้คูปองค์ครู และให้ครูเลือกหน่วยงานดำเนินการพัฒนาแบบเปิด หลากหลายวิธีการจากทั้งภาครัฐ เอกสาร อปท. สมาคมวิชาชีพและให้มีหน่วยงานกำกับดูแลให้ได้มาตรฐาน  1.2) สาระการฝึกอบรมหรือพัฒนาต้องเป็น School Based ไม่ใช่ Hotel Based สาระและวิธีการที่หลากหลายตาม Demand ของครู  2) ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ได้เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ คือ 2.1) ปฏิรูปการศึกษาต้องเน้นคุณภาพการศึกษา คือ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ต้องคืนครูสู่ผู้เรียน เพราะที่ผ่านมามีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีการดึงครูจากนักเรียน เช่น การปรับเปลี่ยนการพัฒนาครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การไม่ให้ครูทำงานธุรการ, การเปลี่ยนวิธีประเมินครูทุกประเภท  โดยใช้ผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นเกณฑ์  2.2) เปลี่ยนกระบวนทัศน์การจัดการเรียนการสอนอย่างเช่น "เรียนน้อยแล้วมีความสุข" "สุขในการเรียนสิ่งยาก ๆ จะท้าทายกว่า" มีหลายประเทศที่เขาเรียนไม่น้อยแล้วมีความสุข ยุทธวิธีที่จะให้นักเรียนสำคัญกว่า  2.3) เพิ่มบทบาทเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง เพราะผลการประเมินเอกชนจัดการศึกษาได้คุณภาพที่สูงกว่า อยากจะให้รัฐมองการลงทุนในการส่งเสริมการศึกษา ใช้วิธีอุดหนุนจัดโรงเรียนพิเศษ โรงเรียนในฝัน โรงเรียนห่างไกล เป็นต้น  3) ท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คุณหญิงกษมา วรรณ ณ อยุธยา กล่าวว่าใน 6 ปีที่ผ่านมาเรายังไปไม่ถึงซึ่งที่เราอยากไป ตอนแรก ๆ เราทำในสิ่งที่เป็นเข่ง ๆ สิ่งที่จำเป็นของส่วนใหญ่ซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่ง และเมื่อมาถึงขณะนี้หรือจุดนี้ ต้องมองแต่ละเรื่องอย่างละเมียดละมัย ต้องปรับการมองและการกระทำให้ละเอียดขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2545เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2005 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากได้แนวคิดดีๆ เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท