ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงผลิตเชื้อราเขียว


ศูนย์เรียนรู้

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงผลิตเชื้อราเขียว

             ถ้าพูดถึงเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหรือราเขียว เกษตรกรหลายรายที่ได้ไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก รวมถึงที่เข้าร่วมในโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง หมู่ 3 .โคกหม้อ (ศูนย์เครือข่าย) ได้รับความรู้จากการอบรมและเกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด โดยใช้หัวเชื้อที่ได้รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งแจกฟรี

            การผลิตและขยายเชื้อไตรโครเดอร์ม่าชนิดสดบนปลายข้าว ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่จากการทดสอบของสมาชิกและนำมาแบ่งปันความรู้กันคือ คุณบุญธรรม  เชาว์โชติ เกษตรกรหมู่ 8 .โคกหม้อ อ.ชุมแสง ได้เล่าให้ฟังว่าการใช้หัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลกจะมีอายุการเก็บรักษาเพียง 6 เดือน ทำให้ต้องไปขอที่ศูนย์บริหารฯ ซึ่งไม่สะดวกในการเดินทาง คุณบุญธรรม ได้ทดลองใช้เชื้อหัวบริสุทธิ์ที่มีขายตามท้องตลาดที่มีชื่อทางการค้าว่าไตรซานซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวทดแทน พบว่าการขยายไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดบนปลายข้าวได้ผลเชนเดียวกันกับการขยายจากหัวเชื้อจากทางศูนย์บริหารฯ ทุกประการ  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าช่วงแรก 2-3 วันแรกเชื้อจะเกิดสีเขียวช้ากว่าเล็กน้อย  แต่หลังจากวันที่ 3 ไปแล้วเชื้อจะเดินอย่างรวดเร็วและมีลักษณะที่เขียวสดมากกว่า 

            สรุป องค์ความรู้ที่ได้จากการผลิตและขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดบนปลายข้าว เกษตรกรสามารถใช้เชื้อหัวบริสุทธิ์ที่มีขายตามท้องตลาดทดแทนหัวเชื้อชนิดขวดแบนจากศูนย์บริการศัตรูพืช ซึ่งมีอายุการเก็บรักษาเพียง 6 เดือน ส่วนหัวเชื้อบริสุทธิ์อายุการเก็บรักษาประมาณ 2 ปี 

คำสำคัญ (Tags): #ศูนย์เรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 254037เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท