ความพยายามแปลงสิ่งที่ทำอยู่ให้เข้าหลักการชุมชนแนวปฏิบัติ "เกิดอะไรขึ้น" (ตอน 1)


หนึ่งในความพยายามแปลงสิ่งที่มีอยู่เป็น ชุมชนแนวปฏิบัติ

         ประชุมประสานงานการเจ้าหน้าที่ มีอยู่คู่งานด้านบุคคล ตั้งแต่ดิฉันทำงานมา (สิบสี่ปี) เป็นการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานมาพบปะกัน ทุกๆ 2เดือน เพื่อบอกเล่าเรื่องการทำงาน แลกเปลี่ยนมุมมองต่อระเบียบ สร้างกติกา กำหนดวิธีปฏิบัติ พัฒนาแนวทางการทำงานไปในแนวเดียวกัน เราคุยกันตลอดเวลาในเรื่องของการทำงาน ผู้เข้าร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านบุคคลของคณะ หน่วยงานที่กระจายกันอยู่ตามคณะ หน่วยงานรวมสัก 45 ทั้งมหาวิทยาลัย  ในคราวประชุมครั้งล่าสุดเมื่อ 24 เมย.49 ประชุมพลางดิฉันก็สังเกตไปเรื่อยๆ  ข้อสังเกตพวกเราหมายถึงผู้ที่อยู่ส่วนกลาง(สำนักงานอธิการบดี) มีหัวหน้างานทุกงานเป็นองค์ประชุมดูหน้าตาเคร่งขรึม สูงวัยและทรงภูมิมากขึ้น ในขณะที่น้องๆ ที่ทำงานที่คณะ หน่วยงานดูหน้าใสวัยเด็ก(ผู้ใหญ่ที่คณะไม่ค่อยมาในระยะหลัง คงจะเบื่อเรา) เฝ้ารอรับฟังความเห็นของรุ่นพี่ๆ อย่างใจจดใจจ่อตามวาระที่จัดไว้ หลายๆครั้งในที่ประชุมแห่งนี้ที่ดิฉันพยายามที่จะสอดแทรกเรื่องการจัดการความรู้เข้าไปในกลุ่ม โดยเริ่มจากครั้งที่ 1 ด้วยการพูดคุย การจัดการความรู้  ครั้งที่ 2 คุยหลักการชุมชนแนวปฏิบัติ และครั้งที่ 3 คุยเรื่องการหาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ  กี่ครั้ง กี่ครั้งมันก็ไม่ได้ไม่โดนใจซักที ไม่มีการแลกเปลี่ยนกัน ดูแล้วที่ประชุมจะพุ่งเป้าไปสู่วาระการประชุม จนดิฉันขัดใจ ลองนั่งทบทวน วิเคราะห์ดู  เกิดจาก

1.ติดภาพเก่า ซึ่งเป็นองค์ประชุม มีประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมและมีคนในส่วนกลาง(สำนักงานอธิการบดี)ที่มักจะโต้ตอบกับลูกข่ายแบบ ต้องแบบฉันซิจึงจะถูก บรรยากาศแบบเท่าเทียมจึงเกิดได้ยากเพราะส่วนกลางทำตนเป็นแม่ข่ายประชุมชี้แจงลูกข่าย ประมาณนั้น 

2.ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีรูปแบบการประชุม มีวาระ มีการรับรองรายงานการประชุม มีการจดบันทึก มติ แนวปฏิบัติ มีวาระเพื่อทราบ เพื่อพิจารณา ที่ดูจะเป็นทางการจังเลย  

3.แม้เราพยายามพยายามกลายเวทีนี้ให้เป็นชุมชนการเจ้าหน้าที่ แต่ก็ ติดที่ผู้จัดเองติดรูปแบบการประชุมเดิม ๆ และไม่ยอมทิ้งการประชุมแบบเดิม ซึ่งดิฉันอยากให้ทิ้งและเปลี่ยนบรรยากาศ ให้เป็นการแลกเปลี่ยนกันแบบใหม่ (ทุกคนเท่าเทียม) พร้อมแลกเปลี่ยนโดยไม่ติดที่อายุมากกว่าต้องถูกเสมอ และพิสูจน์ได้ว่าจุดเกิดของที่ประชุมประสานงานฯ ไม่ใช่ PASSION ของชุมชน

             แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ เราเลือก 1 หัวข้อขึ้นมาแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันเรื่อง functional competency ซึ่งคนเข้าร่วมประชุมเป็นคนเดิมนี่หล่ะ  บรรยากาศต่างกันมาก  จากเหตุการณ์นี้ทำให้เรียนรู้ว่า หัวปลาแต่ละครั้ง ต้องชัด  ผู้จัดและผู้ร่วมกระบวนการต้องชัดเจนกับหัวปลาซะก่อนหวังจะให้ได้หัวปลาทั้งฝูงไม่ดี  ไม่เราท้อซะก่อน ก็ผู้เข้าหล่ะที่จะมึนกับเรา

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25360เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
     ได้อ่านของพี่เมตตาทุกครั้งรู้สึกว่า KM ที่เป็นรูปแบบอย่างไร้รูปแบบ Get อะไร ๆ จากพี่ได้เยอะจริง ๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท