การบาดเจ็บในนักวิ่ง....


การวิ่งทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรง แต่ทำไมน้า....เดินไม่สวยเลย

นักวิ่งมักได้รับบาดเจ็บที่ระบบโครงร่างได้แก่ กล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด ข้อต่อ กระดูก เป็นต้น ซึ่งมักเกิดจากการใช้งานเนื้อเยื่อเหล่านี้ซ้ำๆ และหนักเกินไป เป็นลักษณะสะสมตัว  การบาดเจ็บจากการใช้งานเกินนี้มีปัจจัยเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

* แรงกระแทกที่เท้า ขณะวิ่งมากกว่าเดิน 3 เท่า และเกิดในช่วงเวลาสั้นมาก (0.02วินาที)ถ้าวิ่ง 1กม.ร่างกายจะรับแรงเกือบ 80 ตัน

*ระยะทาง ถ้าวิ่ง50กม./สัปดาห์จะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากกว่าการวิ่ง 10กม./สัปดาห์ ถึง 5 เท่าการเพิ่มระยะทางการวิ่งมากเกินไปทำให้บาดเจ็บง่ายเช่นกัน

*กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหลัง ต้นขาด้านหลัง และน่อง

*กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรง ที่พบบ่อยคือ กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้นขาด้านหน้า

* วัสดุดูดซับแรงกระแทก ในรองเท้าวิ่งเสื่อมสภาพ(วิ่ง100กม. เสื่อม25%)

*เปลี่ยนพื้นวิ่งทันที โดยไม่ได้ลดload เช่นจากพื้นคอนกรีตเป็นแอสฟัลท์ หรือสลับกัน

*การผิดรูปของเท้า ที่พบบ่อยคือเท้าแบนหรือปุก ทำให้ฝ่าเท้าแนบกับพื้นเร็วหรือช้าเกินไป เท้ายือหยุ่นมากขาดแรงถีบส่ง หรือเท้าแข็งมากดูดซับแรงกระแทกไม่ดี

บริเวณที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยในนักวิ่งคือส่วนขา โดยเฉาะข้อเข่า ขาท่อนร่าง และเท้า สรุปภาวะที่พบบ่อยได้ดังนี้

ภาวะปวดสะบ้า: ปัจจัยเสี่ยง *การผิดรูป เช่น ขาท่อนบนบิดเข้า เข่าชิด ขาท่อนล่างบิดออก เท้าแบน (เหมือนขาเป็ด) *การตึงของกล้ามเนื้อ ต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อและพังพืดด้านนอกต้นขา (ITB)

อาการ: ปวดด้านหน้าเข่า หรือลึกเข้าไปในบริเวณสะบ้า บางครั้งเสียวและมีเสียงครืดคราด จะปวดมากเมื่อนั่งนาน (เช่น ดูหนังนั่งรถ)ขึ้นลงบันได จะคลายเมื่อเหยียดเข่า สะบ้าเคลื่อนอยู่ด้านนอก

การรักษาทางกายภาพบำบัด : ช่วงแรกต้องลดปวดโดย ประคบเย็น ขยับข้อสะบ้า หรือกระตุ้นไฟฟ้าจัดสะบ้าให้อยู่ในแนวตรงโดยพันผ้าเทปกาว ต่อมาถ้ามีปัญหาโครงสร้างเช่นเท้าแบนต้องใช้แผ่นรองฝ่าเท้า และฝึกกล้ามเน้ือเพื่อเสริมส่วนโค้งของฝ่าเท้า ยืดกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงฝึกกล้ามเนื้อด้านในของสะบ้าให้แข็งแรง

การขัดสีด้านนอกต้นขา    เข่าโกง เท้าแบนเพิ่มระยะทางวิ่งเร็วไป เปลี่ยนไปวิ่งบนพื้นแข็งทันทีรองเท้าเสื่อมสภาพขาดความยืดหยุ่น เป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งสิ้น อาการ: ปวดด้านนอกเหนือกึ่งกลางเข่าและกดเจ็บชัดเจน พวกที่เป็นมากจะปวดเสียวที่เป็นน้อยไม่ปวดเมื่อเดินแต่ปวดเมื่อวิ่งและบอกตำแหน่งไม่ชัดเจน การรักษา:ช่วงแรกประคบเย็น ต่อมายืดกล้ามเนื้อนวดแบบกดย้ำและรักษาด้วยความร้อน เมื่อจะกลับไปวิ่งต้องค่อยๆปรับระยะทางวิ่ง เลือกพื้นที่วิ่ง และเปลี่ยนรองเท้า

ภาวะปวดหน้าแข้ง  ปัจจัยเสี่ยงคือการผิดรูปของเท้าแบน ขาท่อนล่างบิดออก หรือพื้นรองเท้าแข็ง  อาการ ปวดด้านใน กึ่งกลางหน้าแข้งหรือตำ่ลงมาเกือบถึงตาตุ่มกดเจ็บที่เนื้ออ่อนไม่ใช่ที่กระดูกเริ่มแรกจะปวดหลังวิ่งถ้ายังฝืนวิ่งต่อจะปวดขณะวิ่งเดินหรือขึ้นบันได การรักษาคล้ายกับกรณีเมื่อกี้..

การอักเสบของเอ็นร้อยหวาย : เกิดจากพื้นรองเท้าแข็งหรืออ่อนเกินไปวิ่งบนทางลาดชันพื้นรองเท้าเตี้ย อาการจะกดเจ็บที่เอ็นร้อยหวายปวดมากตอนเช้าหรือเริ่มวิ่งเมื่อทำกิจวัตรไปเรื่อยๆจะลดลงแต่พอหยุดวิ่งจะปวดกล้ามเนื้อน่อการรักษา ประคบเย็นเสริมส้นรองเท้าชั่วคราวต่อมายืดกล้ามเนื้อใช้รองเท้ามีส้นสูงพอสมควรเลี่ยงการเดินวิ่งบนพื้นลาดชัน

ถุงน้ำเอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการเสียดสีบริเวณเอ็นร้อยหวายรองเท้าคับเกินไป

อาการกดเจ็บบวมบริเวณด้านในเอ็นร้อยหวายเหนือรอยต่อระหว่าส้นเท้าอารักษาประคบเย็น นวดอุลตร้าซาวด์คลายส้นรองเท้า

การอักเสบของพังผืดยึดฝ่าเท้าเกิดจากเท้าแบนอาการปวดและกดเจ็บฝ่าเท้าโดยเฉพาะส้นเท้าด้านในอาจร้าวไปอุ้งเท้า ปวดมากตอนเช้าเริ่มลงน้ำหนักหรือเดินการรักษานวดด้วยก้อนน้ำแข็งพันผ้าเทปกาวต่อมาเสริมฝ่าเท้าและฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเท้า

ในนักวิ่งอาจเกิดการบาดเจบอื่นๆได้อีกเช่นกระดูกหน้าแข้งร้าว กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาฉีกข้อเท้าพลิก ปวดหลัง หากท่านมีความผิดปกติดังกล่าว ปรึกษาได้ที่ งานกายภาพบำบัดนะคะ...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2525เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2005 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท