สมศ.ประเมินอะไรเกี่ยวกับดนตรี


สมศ.ประเมินมาตรฐานดนตรีอย่างไร

สมศ. ประเมิน (สิ่งใด)มาตรฐานด้านดนตรี

สำหรับการประเมินคุณภาพมาตรฐานระดับชาติ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในรอบแรก (.. ๒๕๔๓๒๕๔๘)

………………………………….

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยเกี่ยวกับการศึกษา  ให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ซึ่งได้รับการตอบสนองอย่างเป็นรูปธรรม  คือการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒  ได้กำหนดอย่างชัดเจนถึงความมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่ต้องมุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เป็นประจำทุกปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก  โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชน  เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมินอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในทุกระยะ ๕ ปี 

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้เป็นกรอบในการประเมินคุณภาพภายนอก และเป็นแนวทางให้หน่วยงานและสถานศึกษามุ่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๔ มกราคม  ๒๕๔๓ มีทั้งหมด ๒๗ มาตรฐาน  ๙๑ ตัวบ่งชี้ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ

มาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน มี ๑๒ มาตรฐาน ๓๘ ตัวบ่งชี้ เน้นพัฒนาการด้านจิตใจ

สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถตามศักยภาพและมีความสุข

มาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการ มี ๖ มาตรฐาน ๒๙ ตัวบ่งชี้ เน้นในด้านกระบวนการบริหารจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอน

มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัย มี ๙ มาตรฐาน ๒๔ ตัวบ่งชี้ เป็นการกำหนดคุณลักษณะหรือสภาพความพร้อมของผู้บริหาร ครู หลักสูตร อาคารสถานที่ และชุมชน

มาตรฐานทั้ง ๒๗ มาตรฐาน ๙๑ ตัวบ่งชี้นั้น  เป็นทิศทางให้สถานศึกษาที่มีศักยภาพ  และ มีความพร้อม  ได้มุ่งมั่นพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น   และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกในระยะต่อไป  แต่ในช่วง ๕ ปีแรก หรือรอบแรกของการประเมิน ได้มีการคัดเลือกมาตรฐานมาเพียง ๑๔ มาตรฐาน ๕๓ ตัวบ่งชี้ โดยจัดแบ่งออกเป็น ๓ ด้าน คือ มาตรฐานด้านผู้เรียน  ๗ มาตรฐาน ๒๒ ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านครูมี ๒ มาตรฐาน ๕ ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านผู้บริหารมี ๕ มาตรฐาน ๒๖ ตัวบ่งชี้

ในจำนวนมาตรฐานด้านผู้เรียน ๗ มาตรฐาน ๒๒ ตัวบ่งชี้นั้นปรากฏมาตรฐานที่ต้องประเมินเกี่ยวข้องกับดนตรี คือ มาตรฐานที่ ๑๒ กำหนดมาตรฐานดังนี้

 

มาตรฐานที่  ๑๒    ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรีและกีฬา

ตัวบ่งชี้   มีความชื่นชมและร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ  ดนตรีและกีฬา

 

          ในช่วงแรกของการประเมินมาตรฐานด้านสุนทรียภาพ ด้านดนตรี สังเกตได้ว่า มาตรฐานกำหนดสุนทรียภาพดนตรีรวมไว้กับ  ศิลปะ  และกีฬาผลการประเมินในช่วงแรก  จึงไม่ชัดเจนนัก ทั้งตัวบ่งชี้เพียงตัวเดียวที่กำหนดว่ามีความชื่นชมและร่วมกิจกรรม ศิลปะ ดนตรี กีฬา

 

เมื่อดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้มีการทบทวน และในการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ ๓/๒๕๔๗ เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๕/๒๕๔๗ เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๗  ได้พิจารณาการปรับระบบและหลักเกณฑ์  ด้วยเห็นว่า การประเมินในระดับตัวบ่งชี้ตม ๑๔ มาตรฐาน ๕๓ ตัวบ่งชี้ นั้น  ผู้ประเมินต้องใช้การวินิจฉัยสูงมาก  จึงมีมติให้ปรับปรุงตัวบ่งชี้ในทุกมาตรฐานให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น  โดยคงมาตรฐานการศึกษาในรอบแรกไว้ ๑๔ มาตรฐานเหมือนเดิม

          ในส่วนมาตรฐานที่ ๑๒  มีการปรับปรุงมาตรฐานและตัวบ่งชี้ใหม่ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ปรากฏดังนี้

มาตรฐานที่  ๑๒    ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรีและกีฬา

มี ๓ ตัวบ่งชี้ คือ

๑๒.๑ ผู้เรียนมีความชื่นชม และชอบกิจกรรมด้านศิลปะ

เกณฑ์การพิจารณา

                   ๑๒..๑ ร้อยละของผู้เรียนที่มีความชื่นชมและร่วมกิจกรรมศิลปะเป็นประจำอย่างน้อย ๑ อย่าง

                   ๑๒..๒ ร้อยละของนักเรียนที่มีความรักและสนใจงานศิลปะ และการวาดภาพ

                   ๑๒..๓ ร้อยละของนักเรียนที่มีผลงานด้านศิลปะและการวดภาพที่ตนเองภูมิใจ

                   ๑๒..๔ ร้อยละของผู้เรียนที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์งานศิลป์ได้

 

 

 

 

          ๑๒.๒ ผู้เรียนมีความชื่นชมและชอบกิจกรรมด้านศิลปะ

เกณฑ์การพิจารณา

                   ๑๒..๑ ร้อยละของผู้เรียนที่มีความชื่นชมและร่วมกิจกรรมดนตรีเป็นประจำอย่างน้อย ๑ อย่าง

                   ๑๒..๒ ร้อยละของนักเรียนที่ชอบฟังดนตรี

                   ๑๒..๓ ร้อยละของนักเรียนที่ชอบการร้องเพลง

                   ๑๒..๔ ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์

 

๑๒.๓ ผู้เรียนมีความชื่นชม และชอบกิจกรรมด้านกีฬา/นันทนาการ

เกณฑ์การพิจารณา

                    ๑๒..๑ ร้อยละของผู้เรียนที่มีความชื่นชมและร่วมกิจกรรมกีฬา/นันทนาการเป็นประจำอย่างน้อย ๑ ประเภท

                   ๑๒..๒ ร้อยละของนักเรียนที่ชอบดูกีฬาและดูกีฬาเป็น

                   ๑๒..๓ ร้อยละของนักเรียนที่รู้แพ้รู้ชนะ  มีน้ำใจนักกีฬา

                   ๑๒..๔ ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ

 

เกณฑ์การประเมินคุณภาพตัวบ่งชี้ จากค่าร้อยละเฉลี่ย (เกณฑ์ประเมินคุณภาพทั้ง ๓ ตัวบ่งชี้)

 

ปรับปรุง

พอใช้

ดี

ผู้เรียนต่ำกว่า ร้อยละ ๕๐

มีคุณลักษณะ

ตามเกณฑ์การพิจารณา

ผู้เรียนระหว่างร้อยละ ๕๐๗๔

มีคุณลักษณะ

ตามเกณฑ์การพิจารณา

ผู้เรียนร้อยละ ๗๕

มีคุณลักษณะ

ตามเกณฑ์การพิจารณา

 

          ในการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน ที่กำหนดว่าผู้เรียนมีสุนทรียภาพทางด้านดนตรี ตามกรอบมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกนั้น สถานศึกษาต้องเตรียมดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ตามกรอบมาตรฐานดังนี้

          . แสดงความตระหนักที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพตามตัวบ่งชี้ด้านดนตรี ที่มาตรฐานกำหนด โดยสถานศึกษาต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้เกี่ยวข้องอย่างน้อย ๓ กลุ่ม (ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู  ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง)  มีความตระหนักในการพัฒนาผู้เรียนตามตัวบ่งชี้ ของมาตรฐาน พร้อมทั้งมีหลักฐานยืนยัน  เช่น นโยบายของสถานศึกษา  รายงานการประเมินตนเอง เป็นต้น ที่แสดงว่าสถานศึกษามีความตระหนักเด่นชัด  ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ จะถือว่า ความตระหนักไม่เด่นชัด

          . แสดงการปฏิบัติหรือความพยายามในการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพ ทางดนตรี ซึ่งการมีข้อมูลยืนยันการปฏิบัติหรือความพยายามในการปฏิบัติที่เด่นชัด ใน ๕ ประเด็นสำคัญ คือ

               .๑ แผนกลยุทธ์  ธรรมนูญโรงเรียน  แผนการจัดโครงสร้างองค์กรของสถานศึกษาที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐาน  ซึ่งพิจารณาจากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา  การพูดคุยและสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง และข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน เป็นต้น

               .๒ มีการจัดโครงการ/กิจกรรมสำคัญทางด้านการบริหาร  การเรียนการสอนและโครงงาน กิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตามตัวบ่งชี้ที่มาตรฐานกำหนด  ซึ่งจะพิจารณาจากแผนของสถานศึกษา รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

               .๓ มีภาคีเข้าร่วมหลากหลาย โดยเฉพาะผู้เรียนเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมนั้นมากน้อยเพียงใด

               .๔ มีโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามตัวบ่งชี้ที่มาตรฐาน กำหนดอย่างเป็นระบบและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ที่แสดงความยั่งยืนของการพัฒนาผู้เรียน

               .๕ ผลการประเมินโครงการ/กิจกรรม ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด และเป็นที่พึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง   โดยผู้เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ พึงพอใจ   ต่อผลของโครงการ/กิจกรรมนั้น

          . ผู้เรียนมีสุนทรียภาพทางดนตรีมากหรือน้อยเพียงใด  จะพิจารณาระดับคุณภาพของ   ผลสำเร็จของแต่ละตัวบ่งชี้ ตามมาตรฐาน จากค่าร้อยละ หรือร้อยละเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ดังนี้

                   ร้อยละ  ๗๕  ขึ้นไป      ระดับคุณภาพ   ดี

                   ร้อยละ ๕๐๗๔          ระดับคุณภาพ   พอใช้

                   ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐        ระดับคุณภาพ   ปรับปรุง

          การสรุปผลการประเมินระดับคุณภาพของสถานศึกษา  จะดำเนินการดังนี้

                .๑ แจกแจงความถี่ของระดับคุณภาพของผลสำเร็จของตัวบ่งชี้  ระดับคุณภาพของตัวบ่งชี้ที่มีความถี่สูงสุดถือเป็นฐานนิยมของระดับคุณภาพนั้น  ถ้าระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมอยู่ในระดับปรับปรุง  จะสรุประดับคุณภาพนี้ระดับปรับปรุง แต่ถ้าระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมอยู่ในระดับพอใช้ หรือดี ต้องพิจารณาจำนวนความถี่ของระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมต่อไป

               .๒ พิจารณาความถี่ของระดับคุณภาพผลสำเร็จของตัวบ่งชี้ที่เป็นฐานนิยม ในกรณีที่เป็นฐานนิยมอยู่ในระดับพอใช้  และมีความถี่ของระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมไม่ต่ำกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนตัวบ่งชี้ในมาตรฐาน  จะถือว่าระดับคุณภาพของผลสำเร็จอยู่ในระดับพอใช้ แต่ถ้าความถี่ของระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมต่ำกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนตัวบ่งชี้นั้น จะพิจารณาความตระหนัก และการปฏิบัติของสถานศึกษา  ถ้าสถานศึกษามีความตระหนักและการปฏิบัติที่เด่นชัด  ตามเกณฑ์คุณภาพที่แสดงความตระหนัก และเกณฑ์คุณภาพที่แสดงการปฏิบัติหรือความพยายามในการปฏิบัติในมาตรฐาน จึงจะถือว่ามาตรฐานที่ ๑๒ นี้อยู่ในระดับพอใช้ ถ้าสถานศึกษาไม่มีความตระหนักและการปฏิบัติที่เด่นชัด จะอยู่ในระดับปรับปรุง

              .๓ พิจารณาความถี่ของระดับคุณภาพความสำเร็จของตัวบ่งชี้ที่เป็นฐานนิยม ในกรณีระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมอยู่ในระดับดี  และมีความถี่ของระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยม ไม่ต่ำกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนตังบ่งชี้ ในมาตรฐานนั้น จะถือว่าระดับคุณภาพของมาตรฐานอยู่ในระดับ ดี  แต่ถ้าความถี่ของระดับคุณภาพที่เป็นฐานนิยมต่ำกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนตัวบ่งชี้ในมาตรฐาน  จะพิจารณาความตระหนัก และการปฏิบัติที่เด่นชัด ตามเกณฑ์คุณภาพที่แสดงความตะหนักและเกณฑ์คุณภาพ ที่แสดงการปฏิบัติหรือความพยายามในการปฏิบัติในแต่ละมาตรฐาน  จึงจะถือว่ามาตรฐานที่ ๑๒ นี้อยู่ในระดับดี ถ้าสถานศึกษาไม่มีความตระหนักและการปฏิบัติที่เด่นชัด การสรุปผลจะอยู่ในระดับ พอใช้

จะเห็นว่า การประเมินมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) มีเกณฑ์การประเมินที่มีความชัดเจน ถึงแม้ว่าผู้ประเมินอาจจะไม่มีความรู้ด้านดนตรีมากนัก แต่เกณฑ์การประเมินจะสรุปโดยใช้หลักคณิตศาสตร์ (ฐานนิยม เป็นตัวตัดสิน โดยดูจากตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ที่กำหนด) จึงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่สถานศึกษาจักต้องกังวลใจมากนัก และที่สำคัญในการประเมินคุณภาพภายนอก  จะมีความแตกต่างจากการประเมินอื่น ๆ ด้วยวิธีการที่        ผู้ประเมินใช้ในลักษณะของกัลยาณมิตร  ทั้งผู้รับการประเมินยังสามารถโต้แย้งในสิ่งที่ผู้ประเมิน ประเมินแล้วไม่ตรงตามข้อมูล ข้อเท็จจริงที่สถานศึกษาดำเนินการได้ด้วย จึงนับเป็นมิติใหม่ ของการประเมินคุณภาพ ซึ่งเป็นคุณภาพในระดับชาติ

อย่างไรก็ตาม ในการประเมินรอบแรก (.. ๒๕๔๓ -๒๕๔๘) นั้น จะเป็นการประเมินเพื่อหาจุดเด่น จุดพัฒนา ยังไม่เป็นการตัดสินว่าผลการประเมิน ในระดับผ่านหรือไม่ผ่าน สิ่งที่นำเสนอจึงน่าจะเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติ  พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา  ตลอดทั้งเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนามาตรฐานอื่น ๆ เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพในรอบต่อไป (ปีการศึกษา ๒๕๔๘) ที่จะมีการตัดสินว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน เพื่อผลการประเมินคุณภาพด้านจะออกมาในด้านผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี กีฬา ถึงแม้ว่าเป็นเพียงมาตรฐานหนึ่ง ในจำนวน ๒๔ มาตรฐาน ก็ตาม

ดนตรี เป็นมาตรฐานสำคัญมาตรฐานหนึ่ง ที่สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญในการประกันคุณภาพภายใน เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก  การพัฒนาผู้เรียนให้มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ทั้งด้านทักษะและเนื้อหา ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน จึงเป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้น และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย พัฒนาคม และพัฒนาชาติไทยด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 252487เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท