ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ และ อีกมากมาย 12


ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ

ที่มาของคำว่าหนัง X และหนัง โป๊

มีที่มาจากคำว่า expose ครับซึ่งแปลว่าเผยออกมา หรือ ไม่ปิดบังซ่อนเร้น
คนไทยมาเรียกสั้น ๆ จากคำหน้าและคำหลังครับ
จาก ex กลายเป็น X
จาก pose กลายเป็น po อ่านว่า โป๊

 

สมิหลา แปลว่า ?

สมิหลา แปลว่า ลมพัด ครับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2493
ถ้ากด wiki และ samira
ก็จะพบครับ

ที่มา ทำไมจึงเรียกว่า เสือร้องไห้ 

ทำไมจึงเรียกว่า เสือร้องไห้ ตามตำนานเล่าขานกันมาว่า ในอดีตกาลครั้งเสือเป็นเจ้าป่าเมื่อล่าวัวได้ เนื้อส่วนที่เสือจะกัดกินเป็นอันดับแรกคือเนื้อส่วนอ กของวัวที่หวานนุ่ม เมื่อคราวมนุษย์ล่าเนื้อบ้างก็กระทำเช่นเดียวกับเสือ ทำให้เสือเมื่อมาเห็นซากวัวที่โดนมนุษย์แล่เอาเนื้อส ่วนอกไปกินแล้ว จึงร้องไห้โฮด้วยความเสียดาย การย่างเนื้อส่วนนี้จึงเรียกว่า เนื้อย่างเสือร้องไห้ ด้วยประการฉะนี้แล

ขอแถมอาหารจานเด็ดอีกจานครับ เนื้อย่างรสเด็ด หรือ เสือร้องไห้ เป็นอาหารที่ใช้จิ้มกับน้ำจิ้มรสเด็ดของแจ่วฮ้อนได้โ ดยตรงเลยทีเดียว เนื้อส่วนที่จะนำมาย่างนั้นจะเป็นเนื้อส่วนอกของวัวท ี่อ่อนนุ่มมีมันปนเล็กน้อย
นำเนื้อส่วนอกมาแล่ชิ้นหนาตามยาว หมักด้วยซอสปรุงรส ทิ้งไว้สัก 15 นาที ย่างด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำเนื้อหยดลงบนไฟดังฉ่าๆ (นี่แหละน้ำตก) อย่าให้สุกมากนักเดี๋ยวจะเหนียว นำมาหั่นตามขวางขนาดพอดีคำ จิ้มด้วยน้ำจิ้มรสเด็ดดังกล่าว แซบอีกแล้วครับท่าน สุดจะบรรยาย (น้ำลายไหลจริงๆ)

Gucci มีที่มาอย่างไร

กุชชี่ เป็นชื่อของนักธุรกิจจากชนชั้นสูงในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี่ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่ชื่อเสืยงต้นตํารับกุชชี่คือ กุชชิโอ กุชชี่โอ กุชชี่( Guccio Gucci) ซึ้งเรี่มเป็นที่รุ้จักในศตวรรษที่ 20 จากการดําเนินธุรกิจ Valigeria Guccio Gucci ซึ้งเป็นกระเป๋าเดินทางหนังแท้ ในปี 1938 เขาเปิดสาขาในกรุงโรม และทําธุรกิจที่นิวยอร์กในปี 1953 ต่อมาลูกชายของเขา อัลโด กุชชี่ ซึ้งเกิดในปี 1905 ก็กลายเป็นหนุ่มหล่อพ่อรวย และได้แต่งงานกับ เจ้าหญิงไอรีน จากประเทศกรีก เมื่ออายุ 22 ปี และมีลูกชาย 3 คน ต่อมาอัลโด้ก็คิดผลิตเครื่องประดับต่าง ๆ ซึ้งทําให้ชื่อเสืยงโด่งดังยี่งขึ้นโดยมีอักษร G เป็นโลโก้ของบริษัทโดยเฉพาะกระเป๋าถือที่มีหูทําด้วยไม้ไฝ่ ก็มีคนดัง ๆ นิยมถือกัน เช่น เกรช เคลลี่ แจ็กกี้ เคเนดี้ และโซเฟีย ลอเรน

แต่หลังจากที่กุชชี่โอถึงแก่กรรมก็มีการแก่งแย่งมรดกกันในครอบครัว อัลโดเสียชีวิตในปี 1990 และหลานชายของเขาก็ได้มรดกไปครึ้งหนึ่งและถูกยิงตาย ต่อมาบริษัทยักษ์ใหญ่ฝรั้งเศส PPR ได้เทกโอเวอร์กุชชี่ จึงทําให้พวกเรายังเห็นยี่ห้อกุชชี่ทุกวันนี้นะครับ แถวๆ สยามพากอน เซ็นทรัลเวลิด์ ก็มีแบรนด์เนมนี้ขายนะครับ ลองย่องเข้าไปชมได้นะครับ สวัสดีครับ

ที่มา ข้าวใหม่ปลามัน

ข้าวใหม่ปลามัน เป็นสำนวนไทยที่มีที่มาจากการเป็นสังคมเกษตรกกรรมและความเป็นชาติที่มีการดำเนินขีวิตสัมพันธ์กับธรรมชาติของคนไทย
นั่นคือในช่วงเดือนห้าเดือนหกฝนตกเข้าสู่ฤดูทำนา ซึ่งจะทำนาเรื่อยมาตั้งแต่เดือนห้าจนสิ้นปี ในช่วงนี้ข้าวที่คนไทยกินคือข้าวเก่าที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปีที่แล้วหรือจากในฤดูเก็บเกี่ยวเมื่อช่วงเดือนอ้ายที่ผ่านมา ซึ่งถือกันว่าเป็นข้าวเก่า ในช่วงนี้(ช่วงกินข้าวเก่า)ปลาที่เคยตกค้างอดอยากอยู่ตามบึงตามห้วยที่หนองน้ำแห้งลงในหน้าแล้งที่ผ่านมา พอย่างเข้าสู่ฤดูฝนก็จะว่ายออกสู่แม่น้ำลำคลองท้องทุ่ง หากินได้เต็มที่ให้หายอดอยากอีกครั้งหนึ่ง ปลาในช่วงครึ่งปีหลังคือช่วงกินข้าวเก่านี้จะเป็นฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ไม่ค่อยจะมีเนื้อและไม่มีมันกินไม่อร่อย
แต่พอถึงเดือน 11 เดือน12 ข้าวตกท้องน้ำนองบริบูรณ์ปลาหากินได้มากขึ้นแล้ว พอดีเข้าเดือนอ้ายฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งในช่วงเดือนอ้ายเดือนยี่ไปถึงเดือนสี่เดือนห้านี้คนไทยจะได้กินข้าวใหม่ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งถือว่าอร่อยกว่าข้าวเก่า ซึ่งในช่วงเดือนเดียวกันนี้น้ำเริ่มลดก็พอดีเป็นช่วงที่ปลาพ้นฤดูวางไข่ไปแล้วและได้หากินมาในช่วงหน้าฝน ปลาช่วงเดือนอ้ายไปถึงเดือนสี่เดือนห้าถือว่ามีมันมากกินอร่อย ในช่วงเวลาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นช่วง ข้าวใหม่ปลามัน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคนไทย อยู่ดีกินอร่อย อยู่ดีคือหลังฤดูเก็บเกี่ยวก็ได้พักผ่อนหลังจากเหนื่อยจากการทำนามาก็มีสตุ้งสตังค์ กินอร่อยก็คือมีข้าวใหม่ ๆ ปลามัน ๆ กิน จึงเอาสำนวนนี้มาเปรียบเทียบกับความรักหรือการครองคู่ที่แรกรักแรกอยู่ด้วยกันจะมีความสุขเหมือนได้กินข้าวใหม่ปลามันนั่นเอง

ผงกะหรี่ ทำมาจากอะไร


ผงกะหรี่

แกงกะหรี่เป็นอาหารยอดนิยมไปทั่วโลก ก็เพราะเจ้าผงเครื่องแกงนี้



ผงกะหรี่เป็นผงเครื่องเทศที่ครัวของหลายชาติใช้ในการทำแกงกะหรี่ ดังที่มีกะหรี่ไทย กะหรี่ญี่ปุ่น กะหรี่จีน กะหรี่เวียดนาม กะหรี่ฝรั่ง กระทั่งกระหรี่อินเดียที่เป็นของแท้ดั้งเดิม แรกเริ่มทีเดียว กะหรี่ (kari หรือ karhi) เป็นภาษาทมิฬที่ชาวอินเดียใต้ใช้เรียกแกงประเภทเผ็ดชนิดหนึ่งที่มีน้ำ ทว่า นอกจากแกงเผ็ดประเภทน้ำมากแล้ว คนอินเดียใต้เขาก็ยังมีแกงเผ็ดประเภทน้ำข้น และประเภทแกงแห้งอีกต่างหาก แต่ละประเภทก็มีชื่อเรียกเฉพาะกันไป สูตรเครื่องแกงจึงมีหลากหลายมากมาย แต่ไม่ว่าจะเป็นแกงชนิดใด สูตรเครื่องแกงไหน คนอินเดียก็มักบดเครื่องแกงกันสดๆ ผสมเครื่องแกงขึ้นใช้เป็นครั้งคราวไป แต่เมื่อคนอังกฤษเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นราวกว่าสองร้อยปีที่แล้ว เกิดติดอกติดใจกับแกงอินเดียมาก แต่ไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมจึงหลงใหลเฉพาะกับแกงที่ชื่อ kari นักหนา จึงเรียกแกงทั้งหลายของอินเดียว่า “curry”

ผงกะหรี่มีเครื่องเทศหลักเป็น ลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้น และลูกซัด นอกนั้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้ปรับปรุงรสและกลิ่นเพิ่มเติม ได้แก่ เปลือกพริกเผ็ด เปลือกพริกแดง พริกไทย กระวาน กานพลู อบเชย ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ขิง กระเทียม ใบกะหรี่ เมล็ดเทียนสัตตบุษย์ เมล็ดเทียนข้าวเปลือก เมล็ดเทียนตาตั๊กแตน (เมล็ดผักชีลาว) อบเชยเทศ อบเชยจีน เมล็ดพรรณผักกาด (เมล็ดมัสตาร์ด) เมล็ดป๊อบปี้ ดอกอบเชย เมล็ดขึ้นฉ่าย เกลือ และนี่คื่อสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผงกะหรี่จากแห่งหนที่ต่างกันมีรสและกลิ่นไม่เหมือนกัน

ผงกะหรี่อินเดีย เป็นผงกะหรี่มาจากแผ่นดินต้นกำเนิดนั้น มีกลิ่นหอม รสเครื่องเทศแรง

ผงกะหรี่อินเดียสูตรโบราณ จะมีเครื่องเทศป่นผสมที่ต่างกันไปจากผงกะหรี่อินเดียทั่วไป

ผงกะหรี่แบบยุโรป เป็นผงที่มีกลิ่นรสอ่อนลง เพราะเขาใช้เพียงโรยหน้าในสตูต่างๆ

ผงกะหรี่แบบญี่ปุ่น สี กลิ่น รส ของผงกะหรี่จะอ่อนมาก กะหรี่ญี่ปุ่นมีทั้งแบบเป็นผงและเป็นก้อน

ผงกะหรี่แบบจีน มีสีเหลืองสวย รสอ่อน กลิ่นหอม

ผงกะหรี่แบบไทย สีออกเหลืองเข้ม รสแรง กลิ่นหอม

ผงกะหรี่แบบพื้นบ้านของไทย เรียกชื่ออย่างแขกอินเดียว่า มัสล่า อยู่ทางแม่ฮ่องสอนเรียกว่าเป็นผงอเนกประสงค์ทีเดียว

 

ประวัติเมืองแม่ฮ่องสอน ::
สันนิษฐานว่า เมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่เจ้าแก้วเมืองมาจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนขึ้นมาใหม่ แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาอยู่เมื่อใดสมัยใด และอพยพไปอยู่ที่ไหน ผู้คนที่อยู่อาศัยก่อนนั้นมีหลักฐานและเชื่อกันว่าเป็นชนเผ่าลั๊วะ หรือละว้า หลักฐานที่ปรากฏอยู่คือหลุมฝังศพ ซากบ้านร้างซึ่งพบกันแถวบริเวณที่เป็นหอประชุมเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ปัจจุบันคือตลาดโต้รุ่ง และที่โรงเรียนปริยัติธรรม ข้างวัดจองกลางและวัดจองคำ กลุ่มคนที่อยู่อาศัยก่อนนั้นน่าจะถูกไข้ป่าหรือเกิดการรบกัน มีการตายและพวกที่เหลืออพยพไปอยู่ที่ปลอดภัยกว่า
สมัยก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองแม่ฮ่องสอนเดิมเป็นชุมชนบ้านป่า ไม่มีผู้ใดปกครอง มีชาวไทยใหญ่บางส่วนจากชายแดนประเทศสหภาพพม่าที่อพยพเข้ามาทำมาหากิน ทำไร่ทำสวนเป็นบางฤดูกาล ความสำคัญสมัยนั้นเป็นเพียงทางผ่านของกองทัพพม่า ที่เดินทัพไปยังกรุงศรีอยุธยาหรือหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย
ตำนานเมืองแม่ฮ่องสอนกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2374 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทางแคว้นล้านนาไทย เมืองพิงค์นคร หรือเมืองเชียงใหม่ มีพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ ซึ่งต่อมาได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าเป็น พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี ได้ทราบว่าทางตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็คือดินแดนที่เป็นหัวเมืองแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ป่าทึบและเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะช้างป่าที่ชุกชุมมาก จึงมีบัญชาให้เจ้าแก้วเมืองมา ผู้เป็นญาติเป็นแม่กองนำไพร่พล นำช้างต่อหมอควาญ ออกไปสำรวจความเป็นไปของเหตุการณ์ชายแดนด้านตะวันตก พร้อมให้จับช้างป่านำมาฝึกสอนใช้งานต่อไป
เจ้าแก้วเมืองมา ก็ได้รวบรวมไพร่พลช้างต่อและหมอควาญช้างออกเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือลัดเลาะตามลำห้วย มุ่งสู่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน ใช้เวลาเดินทางไม่นานนักก็เข้าสู่หมู่บ้านเวียงปายหรืออำเภอปายในปัจจุบัน ที่นี่เจ้าแก้วเมืองมาและคณะพักอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก็เดินทางต่อ คราวนี้มุ่งสู่ทิศใต้ลัดเลาะตามลำน้ำปายขึ้นสู่ภูเขาสูงอีกครั้งหนึ่ง
การเดินทางช่วงนี้ใช้เวลามากกว่าเดิมก็ลงสู่แม่น้ำปายอีกครั้ง เมื่อถึงแม่น้ำปายก็พบมีชุมชนเล็ก ๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก เป็นคนไตหรือไทยใหญ่ บริเวณหมู่บ้านติดแม่น้ำปาย มีป่าที่ราบว่างเปล่ามากมาย เห็นว่าทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านนี้ดีมาก สามารถขยายให้เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โตได้ในภายหน้าและที่อยู่ใกล้บ้านยังมีดินโป่งเป็นแห่ง ๆ มีหมูป่าลงมากินดินโป่งชุกชุมมาก เหมาะสำหรับตั้งเป็นหมู่บ้านเป็นอย่างดี
เจ้าแก้วเมืองมาจึงได้รวบรวมผู้คนที่อยู่กระจัดกระจายให้มาอยู่รวมกัน ให้มีการคัดเลือกนายบ้านเรียกว่า "เหง" ก็ได้ "นายพะก่าหม่อง" คนไทยใหญ่เป็นเหง (กำนันปกครองหมู่บ้านและให้ชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านโป่งหมู" ) ต่อมากลายเป็นบ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เจ้าแก้วเมืองมาพร้อมกับพะก่าหม่องได้เดินทางต่อขึ้นไปทางทิศใต้ นำช้างที่คล้องไปจำนวนหนึ่ง เดินทางมาถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน เป็นที่เหมาะสมดี ลำน้ำไหลผ่านจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำปาย และยังมีลำธารไหลขนานทางทิศเหนืออีก เห็นว่าเป็นทำเลดีเหมาะที่จะตั้งเป็นที่ฝึกสอนช้างและตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน จึงได้ตั้งคอกฝึกสอนช้างริมลำน้ำนั้น และกลายเป็นหมู่บ้านไทยใหญ่อีกแห่งหนึ่ง แต่มีผู้คนอาศัยอยู่น้อยกว่าบ้านโป่งหมู หลังจากที่เจ้าแก้วเมืองมาคล้องช้างได้มากพอควร ฝึกสอนอยู่จนเห็นว่าควรเดินทางกลับได้ จึงได้ตั้งให้ "แสนโกม" บุตรเขยของพะก่าหม่อง เป็น "ก้าง" (ผู้ใหญ่บ้าน) ปกครองดูแลและตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแม่ร่องสอน" ต่อมาคำว่า "แม่ร่องสอน" ได้เพี้ยนมาเป็น "แม่ฮ่องสอน" ส่วนลำธารอีกแห่งหนึ่งทางทิศเหนือเรียกว่า "ลำน้ำปุ๊" เนื่องจากพบว่ามีน้ำผุดขึ้นมาจากดิน
บ้านแม่ร่องสอนเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา มีชนชาวไทยใหญ่อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น เนื่องจากระยะนั้นประมาณปี พ.ศ. 2399 ได้เกิดจลาจลทางหัวเมืองไตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทำให้ชาวไทยใหญ่ที่รักสงบอพยพมากขึ้น ถึงปี พ.ศ. 2409 เกิดการรบกันในหัวเมืองไทยใหญ่ ระหว่าง เจ้าฟ้าเมืองนาย กับเจ้าฟ้าโกหล่านแห่งเมืองหมอกใหม่ เจ้าฟ้าโกหล่านสู้ไม่ได้ จึงได้อพยพครอบครัวมาอยู่กับแสนโกมที่บ้านแม่ร่องสอน พร้อมกับภรรยาชื่อ "นางเขียว" บุตรชื่อ "ขุนโหลง" หลานชื่อ "ขุนแอ" และหลานสาว "เจ้านางนุ" และเจ้านางเมี๊ยะ" มาอยู่ด้วย
ถึงปี พ.ศ. 2417 บ้านแม่ร่องสอนกลายเป็นชุมชนใหญ่ มีผู้คนเข้ามาอาศัยจนเห็นว่าจะจัดตั้งเป็นเมืองขึ้นได้แล้ว "เจ้าอินทวิชายานนท์" เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงได้ตั้งให้ "ชานกะเล" ชาวไทยใหญ่เป็นเจ้าเมืองคนแรกมีบรรดาศักดิ์เป็น "พญาสิงหนาทราชา" ครองเมืองแม่ฮ่องสอนใน พ.ศ. 2417 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
ต่อมาปี พ.ศ. 2427 หลังจากทำนุบำรุงบ้านเมืองมาได้ 10 ปี พญาสิงหนาทก็ถึงแก่กรรม ผู้ที่ครองเมืองแม่ฮ่องสอนต่อมาคือ "เจ้านางเมี๊ยะ" ครองเมืองแม่ฮ่องสอนอยู่ 7 ปี ได้นำความเจริญมาสู่เมืองแม่ฮ่องสอนเป็นอันมาก และถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2434
เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนต่อมาคือ "ปู่ขุนโท้ะ" ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พญาพิทักษ์สยามเขต" ครองเมืองแม่ฮ่องสอนระหว่างปี พ.ศ. 2434-2448 ก็ถึงแก่กรรม
เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนต่อมาคือ "ขุนหลู่" บุตรของปู่ขุนโท้ะ ได้ปกครองแทนและได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "พญาพิศาลฮ่องสอนบุรี" ครองเมืองแม่ฮ่องสอนระหว่างปี พ.ศ. 2448-2484 ต่อมาเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จึงไม่ได้มีการแต่งตั้งอีก
ใน พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสหเทพปลัดทูลฉลอง กระทรวงมหาดไทยขึ้นมาตรวจราชการ ในหัวเมืองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ปรึกษากับพระยาริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่เจ้าผู้ครองนครเมืองในมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ จัดระเบียบการปกครองใหม่ คือรวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองยวม (แม่สะเรียง) และเมืองปาย เข้าเป็นหน่วยปกครองเดียวกันเรียกว่า "บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก" ตั้งที่ว่าการแขวง (เทียบเท่าเมือง) ที่เมืองขุนยวม โดยตั้งให้นายโหมดเป็นนายแขวง (แจ้งความเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 กรกฎาคม ร.ศ. 119)
ใน พ.ศ. 2446 ย้ายที่ว่าการจากเมืองขุนยวมไปตั้งที่เมืองยวม (แม่สะเรียง) และเปลี่ยนชื่อจากบริเวณเชียงใหม่ตะวันตกเป็นบริเวณพายัพเหนือ ในปี พ.ศ. 2453 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองยวม และเมืองปาย ตั้งเป็นเมืองจัตวาขึ้นกับมณฑลพายัพ และย้ายที่ว่าการเมืองมาตั้งที่เมืองแม่ฮ่องสอนพร้อมกับโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรสุรราช (เปลื้อง) เป็นเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน) เป็นคนแรก พ.ศ. 2476 เลิกการปกครองที่เป็นมณฑลและตั้งเป็น "จังหวัดแม่ฮ่องสอน" บริหารราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ที่มาของวันเด็ก


เอาล่ะค่ะวันนี้ ก็เป็นวันดีอีกวันนึง ที่บรรดาเด็กๆ ต่างก็ตั้งหน้าตั้งตารอคอย นั่นก็คือ วันเด็กแห่งชาติ ซึ่งในวันนี้ เด็กๆ จะได้รับของขวัญ ของรางวัล ได้เล่นเกมและแสดงความสามารถในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย
แล้วก็ได้สนุกสนานกันอย่างเต็มที่ เรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีจริงๆ ว่าแต่มีใครคนไหนรู้บ้างหรือปล่าวคะว่า วันเด็กเริ่มขึ้นมาได้อย่างไร ดิฉันเองก็ไม่รู้ แต่แล้ววันหนึ่ง ดิฉันเกิดเปิดไปเจอข้อความในหนังสือเล่มหนึ่ง จึงได้พบประวัติของวันเด็กวันนี้จึงถือโอกาสมาเล่าให้ฟังซะเลยละกัน จะได้ฟังไว้เพื่อประดับความรู้ไงล่ะคะ เอาล่ะค่ะ ประวัติความเป็นมาเล็กๆน้อยๆของวันเด็กก็มีอยู่ว่า “เมื่อเดือนกันยายน ปีค.ศ. 1925 ผู้แทนเยาวชนจากทั่วโลก รวมแล้วได้ 54 ประเทศ ได้เดินทางเพื่อไปร่วมประชุมวันเยาวชนสากลโลก ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การประชุมครั้งนี้ พวกเขาได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องของเยาวชนให้มากขึ้น ทั้งเรื่องของการศึกษา สุขภาพ และจิตใจของเยาวชน ด้วยผลการประชุมครั้งนี้ เรียกว่าได้รับการตอบรับที่ดีมากทุกประเทศต่างให้ความสนใจกับหัวข้อนี้ ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดวันเด็กโลกขึ้น คือวันที่ 1 มิถุนายนของทุกปีอ๊ะๆ อย่าเพิ่งทำหน้างงกันนะคะ ก็เพราะด้วยความไม่สะดวกของประเทศต่างๆนั่นเองแหละค่ะ ทำให้พวกเขาตกลงกันว่า วันเด็กของทุกประเทศจะไม่ตรงกันต้อง แล้วแต่สถานการณ์และความสะดวก และเพราะงี้เอง ประเทศไทยเราจึงมีวันเด็กใน เสาร์ที่สองของเดือนมกราไงล่ะคะทุกๆคน

คนตาบอดฝันได้หรือไม่ ?

คนตาบอดที่ตาบอดแต่กำเนิดหรือก่อนวัยห้าขวบ ฝันเป็นเสียง ไม่มีภาพ มีแต่รสสัมผัส ความรู้สึก และ เสียงบรรยายเท่านั้น ส่วนคนที่ตาบอดหลังจากเจ็ดขวบ ในฝันจะเห็นเป็นภาพ ยิ่งตาบอดเมื่ออายุมากเท่าไร ฝันก็จะคล้ายคนตาดีมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ฝันของคนหูหนวก ก็จะไม่มีเสียง แต่ภาพในฝัน และ คุณภาพของสีในฝัน จะล้ำลึกกว่าคนปกติ และ เหมือนกับคนตาบอด ฝันจะมีรสสัมผัส ความรู้สึก มากกว่าคนปกติ
หมายเลขบันทึก: 251414เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หนูไม่เคยกินเลย เราอยากกินเอาอร่อยด้วย อิอิอิ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท