แบบฝึกหัดเพื่อการรู้จักการจัดการตนเอง(3)


สติ-สมาธิจะช่วยทำให้ภาวะภายในของเราตั้งอยู่ในความสงบสมดุล

 

การฝึกสติ-สมาธิอย่างเป็นประจำจะช่วยในเรื่องการสังเกตตัวเองได้เที่ยงตรงเท่าทัน สามารถมองเห็นโลกและตัวเองอย่างตรงตามความเป็นจริง
ไม่บิดเบี้ยวผิดเพี้ยนตามอำนาจของอคติส่วนตัว
ทั้งนี้ผู้มีสติ-สมาธิที่เข้มแข็ง  ่จะสามารถมองเห็นอาการกิเลสและอุปาทาน
ในขณะที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และแม้แต่ในขณะที่กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ การรู้ตัวทั่วพร้อมเช่นนี้จะช่วยทำให้ภาวะภายในของเราตั้งอยู่ในความสงบสมดุล

ข้อปฏิบัติประจำวัน

ขอให้นึกถึงบุคคลที่มักปรากฏอยู่ในห้วงความคิดคำนึงของเราอยู่เสมอ หรือบุคคลที่มักจะสร้างความไม่พอใจ ความโกรธ ความรำคาญ ความกังวลใจให้กับเราอยู่บ่อยๆ แล้วให้สังเกตว่าในขณะที่จิตเรากำลังจดจ่ออยู่กับบุคคลผู้นี้อยู่นั้น ความคิดคำนึงนั้นออกมาในรูปแบบเช่นไร ?
มีภาษาถ้อยคำที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง ?
ภาพของเขาที่ปรากฏในใจเราเป็นเช่นไร ?
เราเห็นเขากำลังทำอะไรอยู่ ?
ในจินตนาการของเราเขากำลังคิดหรือรู้สึกอย่างไรกับเรา ?
ความคิดคำนึงของเรานี้ออกมาในทางร้ายหรือดี แง่บวกหรือลบ?

ณ.จุดนี้ ขอให้เราหยุดการคิด(ถึงผู้อื่น)ข้างต้น แล้วหันกลับมาดูตัวเองอีกครั้ง โดยเริ่มดูใจตัวเองทีละขั้นตอน เริ่มจากขั้นตอนแรกก่อนที่ความคิดของเราจะไปจับอยู่ที่บุคคลผู้นั้น ขอให้สังเกตว่าเรารู้สึกอย่างไรในช่วงนั้น เรารู้สึกไม่สบายใจ อึดอัดใจ ไม่พอใจ โกรธ หรือเครียดบ้างหรือไม่ ?

หลังจากนั้นให้ตามดูอารมณ์ของเราเมื่อมีผู้อื่นเข้ามาในใจเรา เราสามารถสังเกตเห็นการเชื่อมโยงระหว่างสภาวะภายในของเราเองกับสิ่งภายนอก
ที่เกิดจากการโยนใส่ของเราหรือไม่ ?

ในชั่วขณะนั้นเอง ที่เราจับได้ทันถึง " กลไกการโยนใส่ " ที่เรากำลังทำต่อบุคคลอยู่นั้น ขอให้หยุดตัวเองและหายใจลึกๆ สังเกตว่าเรากำลังรู้สึกอย่างไรในใจเรา ? ความรู้สึกนี้อาจสร้างความอึดอัดไม่สบายใจ ที่รุนแรงจนบดบังกลไกการโยนใส่ที่เกิดขึ้นภายในตัวเราเช่นกันจนเรามองไม่เห็นมัน สังเกตให้ดีๆ จะเห็นความเชื่อมโยงของมันหรือไม่? (ในกรณีผู้ที่ไม่สามารถรู้ถึงความรู้สึกตัวเองได้ ขอแนะนำให้เอามือข้างหนึ่งวางไว้ที่หน้าอกเหนือบริเวณหัวใจ เพื่อช่วยดึงความใส่ใจของตน)

หลังจากที่เราได้รู้จักและเท่าทันอารมณ์ (กิเลส) ของตัวเองได้ดีขึ้นแล้ว ขอให้กลับไปคิดถึงบุคคลผู้นั้นอีกครั้ง มันอาจช่วยได้ที่จะคิดถึง ภาษาถ้อยคำเฉพาะที่อธิบายสภาวะอารมณ์ของเรา ซึ่งอาจเจือจางลงแล้วในขณะนี้ สังเกตอีกทีว่าเรามองเห็นเขาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นไหมในตอนนี้?

หากเป็นไปได้ ขอให้เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้นี้กับบุคคลผู้เป็นเป้าของการโยนใส่ของเรานี้ ทั้งนี้ควรทำจากความบริสุทธิ์ใจที่ต้องการเข้าใจตัวเองมากกว่าเพื่อกล่าวโทษผู้อื่น (ซึ่งเป็นการโยนใส่ยิ่งขึ้น) เช็คให้แน่ใจก่อนว่าบุคคลนั้นพร้อมและยินดีที่จะรับฟังสิ่งที่คุณจะนำเสนอ ควรจะให้เขาอนุญาตก่อนเสมอแม้เขาจะเป็นเพื่อนสนิทก็ตาม

 

ขยายความจากคำสอนของ
ท่านสันติกโรภิกขุ
เรื่อง แบบฝึกหัดการค้นหาตนเอง
สมาคมนพลักษณ์แห่งประเทศไทย


 

หมายเลขบันทึก: 251158เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2009 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เข้ามาเรียนรู้กลไกการโยนใส่ครับ

หลายครั้งครับ ผมใช้กลไกการโยนใส่ บุคคลที่มักจะสร้างความไม่พอใจ ความโกรธ ความรำคาญ ความกังวลใจให้กับเราอยู่บ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว

แทนที่จะย้อนกลับมาดูตัวเอง กลับไปโยนใส่คนอื่น

จะพยายามครับ

ขอบคุณพี่มากค่ะ สำหรับข้อคิดที่ดีๆ การโยนใส่ เป็นเป้าหมายของคนอีกคน ซึ่งลืมนึกไปถึงคนที่ได้รับ อาจจะรับแบบไม่เต็มใจก็ได้ค่ะ หากเรามองลึกๆในใจเราเอง เราก็เข้าใจความรู้สึกของคนอื่นมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณสำหรับการแนะนำสิ่งดีๆเสมอค่ะ

ขออนุญาติแลกเปลี่ยนนะครับ..

ฝึกเจริญสติในขีวิตประจำวันเหมือนกันครับ ใช้แนวดูจิต หรือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ครับ เห็นกิเลสเยอะครับ แต่ก็คอยรู้สึกตัว สบายๆไปเรื่อยๆครับ ฝึกโดยใช้ปัญญานำสมาธิครับ

ทำสมาธิบ้างถ้าจิตหมดกำลังครับ..ศึกษาจิตใจตัวเองดีที่สุดครับ มองออกนอกหาความมผิดง่าย แต่มองกลับมาข้างในหาไม่ค่อยเจอครับ..ลองมองเข้ามาข้างในมากๆดีกว่าครับ

อนุโมทนาสำหรับธรรมะดีดีครับ

สวัสดีค่ะป้ากันนา

หนูอยากฝึกสมาธิค่ะ แต่โดยส่วนตัวหนูเป็นคนอยู่ไม่นิ่งค่ะ

ไม่รู้จะฝึกได้ยังไงค่ะ อิอิ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ คิดถึงนะคะ

  • สวัสดีค่า  small man   แก้วประภัสสร  Phornphonและน้องอาร์ม
  • ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมบล้อก
  • และแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ  จะได้แชร์ประสบการณ์นะคะ
  • ถ้าจะเอาแบบละเอียดต้องตามไปที่สมาคมค่า

http://newsite.enneagramthailand.com/

  • ขอคุณแนวคิดดีๆ
  • แล้วจะลองทำดูค่ะ
  • มีความสุขมากนะคะ

สวัสดีครับคุณ เก็จถะหวา

  • อ่านคนใจบุญแล้วสุขใจ
  • และทำให้คิด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท