การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552 ตอนที่ 6 สไตล์ LTC ของ ศูนย์ฯ 9


บทบาทของกรมอนามัยจริงๆ แล้ว คือ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแล

 

เรื่อง LTC ของ ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก

โครงการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน เขต 9 เลือกจังหวัดสุโขทัย มี รพท. 2 แห่ง คือ รพ.สุโขทัย และ รพ.ศรีสังวร รพช. ที่เลือก เป็น รพ.ศรีสัชณาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. นำร่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพระยะยาว โดยชุมชนและท้องถิ่นเป็นฐาน ใน รพท. และ รพช.
  2. พัฒนาบุคลากรดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  3. ให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ชมรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน

ผลผลิตที่ต้องการ คือ

  1. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
  2. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางด้านการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ได้รับการอบรม
  3. ให้อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านได้รับการอบรม เรื่องของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
  4. ได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ สภาพปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

ในเรื่องสถานการณ์และสภาพปัญหา พบว่า

  • ประชากรผู้สูงอายุของจังหวัดสุโขทัย เมื่อ 3 ปีย้อนหลัง ปี 2549 ร้อยละ 11.63 ปี 2550 ร้อยละ 12.56 และ 2551 (เป็นปีที่เริ่มดำเนินการ) เป็น ร้อยละ 13.45 ก็จะเป็น Aging society
  • การเจ็บป่วย พบว่า มารับบริการ 5 อันดับแรก โรคแรก เป็นโรคความดันโลหิตสูง สองเป็นไขมันในเลือด สามเป็นเบาหวาน สี่เป็นเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต และห้า เป็นเรื่องระบบทางเดินหายใจ

เราจำแนกประเภทผู้สูงอายุจากการทำกิจวัตรประจำวัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

ผู้สูงอายุประเภทที่หนึ่ง ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ และช่วยเหลือคนอื่นได้ มีร้อยละ 82.07 ประเภทที่สอง ที่ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ช่วยคนอื่นไม่ได้ ร้อยละ 15.86 ประเภทที่สามที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มีร้อยละ 2.07

กลวิธีในการดำเนินงาน เริ่มจาก

  • ศูนย์ประสานงานกับ สสจ.สุโขทัย และคัดเลือก รพ.นำร่อง 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สุโขทัย รพ.ศรีสังวร และ รพ.ศรีสัชณาลัย
  • จากนั้น สสจ. defend งบประมาณ PP area based ให้กับ 3 รพ. โดยแบ่ง เป็นค่าตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดสรรงบฯ ในการ ลปรร. และงบฯ สำหรับการนิเทศติดตาม
  • จากนั้น รพ. ไปตรวจสุขภาพ ผลการตรวจสุขภาพพบว่า
    ... ผู้สูงอายุของสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.69 รพ.สุโขทัย ทำได้ 1,034 ราย อายุ 60-69 ร้อยละ 43.54 อายุ 70-79 ร้อยละ 45.29 และ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.17
    ... เรื่องภาวะโภชนาการเกิน โดยวัดรอบเอว พบว่า มีภาวะโภชนาการเกินร้อยละ 42.22 เป็นผู้ชาย 15% ผู้หญิง 84% ดัชนีมวลกายพบว่า เกิน 22.18 ในภาพรวมของจังหวัด
  • การคัดกรองโรค มี 3 โรค พบว่า ผู้สูงอายุ เป็น
    ... Hypertension ร้อยละ 36.91
    ... เบาหวานร้อยละ 24.47
    ... สมองเสื่อม ตรวจคัดกรองทั้งหมด 81.21% พบว่า positive 19 จาก 81% เราได้ประสานกับ Neuro ศัลย ของ รพ.พุทธชินราช ทาง รพ. โดยคุณหมอศิวฤทธิ์ ก็จัดโปรแกรมที่จะไปอบรมให้กับพยาบาล เพื่อเป็นการทดสอบความแม่นยำของการคัดกรอง
  • หลังจากนั้น มีการพัฒนาบุคลากร อบรมพยาบาล จาก 3 รพ. หลัก เมื่อวันที่ 17-19 พค. 51 จัดที่ โรงแรม Topland และใช้ห้องแลป ของคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร
    ... มีการประเมิน pre-test / post-test
    ... มีการทำ work shop ที่คณะพยาบาลศาสตร์ ม.นเรศวร
    ... มีคุณหมอนิพัทธ์ เป็น เวชศาสตร์ครอบครัวของ รพ.พุทธฯ
    ... มีน้องกายภาพฯ มาให้ความรู้
    ... มีการประชุมกลุ่ม ถอดบทเรียน
  • จากนั้น อบรมอาสาสมัคร 2 รุ่น เดือน กย. ที่สุโขทัย
    ... มีการประเมิน Pre-Post test
    ... มีการประเมินความพึงพอใจ
    ... เราแบ่งเป็นฐาน มีการทดลองหยิบจับ Forcep อสม. รู้สึกภูมิใจ มีการเช็ดตัวลดไข้ มีการเคลื่อนย้ายคนป่วย โดยทีม EFS ของ รพ.สุโขทัย มาฝึกกันทำ มีการประเมิน ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ 60% ขึ้นไป ร้อยละ 97 และมีคะแนนเพิ่มร้อยละ 93
    ... และมีการนิเทศติดตามหลังการอบรม ใช้ทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง และเราร่วมกันพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยใช้ชุมชนและท้องถิ่นเป็นฐาน
  • จากนั้น มีการพาไปศึกษาดูงาน โดยคัดเลือกอาสาสมัครที่เป็นแกนนำ กับพยาบาลวิชาชีพ ที่เข้าร่วมอบรมกับเราในรุ่นแรก ประมาณ 20 คน ไปศึกษาดูงานในพื้นที่ที่เป็นนำร่องของ JICA เมื่อปี 2550 คือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนไปเราได้แวะที่ลำปาง ดูที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ ที่วัดทุ่งบ่อแป้น และไปที่วัดห้วยเกี๋ยง ไปดูที่ รพ.ขุนตาล และไปดูที่ รพ.แม่สรวย ก็ได้รับความรู้กลับมามากมาย
  • หลังจากนั้น อาสาสมัครของเรา ก็กลับเอามาดำเนินการในพื้นที่ และเราได้ไปนิเทศติดตาม

การนิเทศติดตาม เมื่อ 15-19 ธค.ที่ผ่านมา ทั้ง 3 รพ.

ที่สุโขทัย ไปที่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ท่านที่เป็น อสม. ที่ได้รับรางวัลดีเด่น มีการเยี่ยมบ้านที่เป็นรูปธรรม และมีการสรุปรายงานออกมาให้เราเห็น

นอกจากนั้น เราทำที่วัด เนื่องจากสุโขทัย มีวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น 2 แห่ง คือ วัดท่ากษีร และวัดสวรรคาราม ไปชักชวนพระคุณเจ้า เจ้าอาวาส มาทำโครงการ LTC ปรากฎว่า ล่าสุดที่เราทราบมา วัดสวรรคาราม ทำโครงการพระเยี่ยมโยม โดยเจ้าอาวาส ขี่จักรยานไปเยี่ยมโยมที่บ้าน และเอาผ้าห่มที่ได้รับบริจาค จากเครื่องไทยธรรมต่างๆ ไปแจกญาติโยมด้วย

ศูนย์ฯ ได้วิเคราะห์รูปแบบการดูสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย 8 แนวทาง เริ่มจาก

  1. เขาจะมีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน - เป็นกิจกรรมการประชุม ระดมความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะกำหนดกฎ กติกา ในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ ของแต่ละคน และความรับผิดชอบของทุกคน
  2. การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม - มีกิจกรรมการประชุม แนวทางการสื่อสาร การประชุม ลปรร. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานเป็นทีม และบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่าย เพิ่มพลัง และความเข้มแข็งในการ ลปรร.
  3. การบริหารจัดการ - มีการแบ่งงาน / พื้นที่ในการดูแล การรวมกลุ่มจัดตั้งทีม และมีการจัดทำแผนเยี่ยมบ้าน การจัดทำข้อมูลผู้สูงอายุ และการคัดกรองโรค นอกจากนั้น มีแผนจัดลำดับการเยี่ยม set priority ว่า คนไหนจะเยี่ยม ก่อน-หลัง มีการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ มีเรื่อง ของการวางแผนใช้ยานพาหนะ เพื่อที่จะไปเยี่ยม มีการจัดวางแผนระบบการส่งต่อ เพื่อที่จะให้กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน หรือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของเขา เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  4. การพัฒนาผู้นำ และทีมงาน - เป็นเรื่องของการพัฒนาผู้นำ และทีมงาน มีเรื่องประชุมอบรม การศึกษาดูงาน เพื่อที่จะนำสิ่งดีดี มาปรับใช้กับพื้นที่ของตน
  5. การสร้างกระบวนการเรียนรู้
  6. การสื่อสารประชาสัมพันธ์
  7. การเสริมความรู้ให้กับคนในชุมชน
  8. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ทั้งหมด setting ที่บ้าน และในเรื่องของการบริการ ออกเยี่ยมโดยอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการกำหนดการเยี่ยมปฏิบัติการ และ set ลำดับความสำคัญของการเยี่ยมตามประเภท ของผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุประเภทที่ 3 ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เขาจะได้รับการเยี่ยมก่อน จากนั้นในส่วนที่สอง ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เขาจะเยี่ยมในลำดับต่อๆ มา

นอกจากนี้ การดำเนินงานเรื่อง Day care ที่อำเภอศรีสัชณาลัย ประธานชมรมได้ไปขอสถานที่เก่าของสำนักเทศบาล เป็นอาคาร และวางแผนที่จะทำ Day care ผู้สูงอายุ โดยเทศบาลทำแผน ให้ค่าตอบแทนแก่อาสาสมัคร แล้วก็ set งบประมาณค่าอาหารกลางวัน และมีรถ รับ-ส่ง มีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมชัดเจน และจะดำเนินต่อในปี 52 ต่อไป

ปัจจัยความสำเร็จของการทำงานที่สุโขทัย เราเชื่อว่า

  • เรื่องความเข้มแข็ง ของเครือข่ายกับทีมงาน ได้แก่ สสจ. และ รพ. ทั้ง 3 แห่ง หรือ สอ. รวมถึง อปท. ในส่วน รพ.ศรีสังวร อปท. เป็นตัว work
  • อันที่สองคือ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ทำให้เขาสามารถดำเนินกิจกรรมไดในทิศทางเดียวกัน
  • อันที่สาม เราได้รับงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ ทำให้เราทำงานได้คล่องขึ้น

สิ่งที่จังหวัดสุโขทัยจะดำเนินการต่อไป คือ จะขยายผลไปยังอำเภออื่นๆ ให้ครอบคลุม

  • จากรายงานการคัดกรองสุขภาพที่ทำไปได้โรงพยาบาลละ 1,000 ราย จะขยายให้ครอบคลุม 100% ของผู้สูงอายุทั้งหมด สำหรับอำเภอนำร่อง
  • เขาไปบูรณาการกับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน เช่น อำเภอศรีสำโรง อปท. ออกไปตั้งหน่วยบริการกายภาพบำบัดของ รพ.ศรีสังวร เพื่อสนับสนุนเรื่องการ rehab และท้ายที่สุดที่เขาทำ คือ ผลักดันวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น คือ วัดคลองทาราม กับวัดท่าเกษม จัดตั้งเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุนำร่อง

ปี 2552 ศูนย์ฯ จะขยาย ไปชี้แจง 4 จังหวัดที่เหลือ ฉายภาพให้เห็นว่า สุขภาพผู้สูงอายุของสุโขทัยเป็นอย่างไร ปรากฎว่า ทั้ง 4 จังหวัด ตอบรับ และคิดว่าประมาณ มีค. เขาก็จะส่งข้อมูลให้ศูนย์ฯ และศูนย์ฯ จะได้วิเคราะห์ต่อไป

อาจารย์หมอนู เสริมตรงนี้ว่า

จุดประสงค์ของการตรวจสุขภาพเชิงรุก ก็คือ เราต้องการค้นหาคนประเภทไหน ก็คือ คนประเภทที่ไม่เคยตรวจสุขภาพเลย ก็เลยไม่ทราบว่าเป็นโรคหรือไม่เป็น แต่การตรวจ เราก็ได้คนทั้ง 3 ประเภทมาด้วย คือ คนที่รู้ว่าเป็นโรคแล้วและรักษาประจำ คนที่รู้ว่าเป็นโรคแล้ว-รักษาบ้าง-ไม่รักษาบ้าง และคนที่รู้ว่าเป็นโรคแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการรักษา

คนที่รักษาประจำคงไม่มีปัญหาอะไร และที่เหลือ คนไม่เคยตรวจสุขภาพเลย กับคนที่รักษาบ้าง ไม่รักษาบ้าง ท่านจะทำอย่างไร คนเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่เราจะต้องทำกันต่อไป

เรื่องการคัดกรองสมองเสื่อม แบบทดสอบที่ให้ไปในโครงการไม่ได้บังคับ แต่ใครทำได้ก็ดี แบบทดสอบนี้ เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของประเทศไทย ได้ดัดแปลงมาจากต่างประเทศ และทางสมาคมโรคสมอง approve แล้วว่า ใช้ได้ แต่ทั้งนี้ คนที่ทำการคัดกรองต้องมีการ training

เราก็มาเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาตรฐาน จากการสำรวจประชากรสูงอายุด้วยการตรวจร่างกาย ในปี 2547 ก็พบว่า ตัวเลขคน 3 กลุ่ม ใกล้เคียงกัน แต่เรื่องคนสมองเสื่อมนั้น เขาทดสอบแล้ว ปรากฎว่า ภาพรวม 60 ปีขึ้นไป มีประมาณ 1.8%  60-69 ปี มี 0.6% และ 70-79 มี 2.1% และ 80 ปีขึ้นไป 9.5% มันเพิ่อมมากขึ้นตามอายุ เพราะฉะนั้น ถ้าเราดูตัวเลขตรงนี้ เราก็น่าจะทดสอบ 70 ปี ถึง 80 ปีขึ้นไป เพราะว่า 60-70 ปี คงไม่ต้องทดสอบ

และที่บอกว่า 20% นั้น เราแยกอายุหรือไม่ เพราะว่า ภาพรวม 60 ปี เขาบอกว่ามีแค่ 2% แล้วอันนี้สาเหตุมันน่าจะเกิดจากอะไร เกิดจากคนคัดกรอง หรือเรื่องอะไร ท่านก็ต้องไปพิจารณาต่อไป ลองไปทดสอบโดยมา training คนที่ไปทดสอบ และแยกช่วงอายุ

มาถึงเรื่อง การทดสอบการช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ เราใช้ ADL ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อ ในชีวิต กินข้าวได้ หรือไม่ได้

จากที่เราทำงานกับญี่ปุ่น เขาเสนอว่า การที่จะคัดกรองการช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ เขาทำเป็นรูปภาพ แทนคำพูด ประโยชน์ก็คือ คนที่เป็นอาสาสมัคร หรือคนที่ไม่อยู่ในวงการสุขภาพ ก็สามารถคัดกรองแบบง่ายๆ นี้ได้ เขาก็จับ 3 ประเด็นใหญ่ คือ เรื่องความสามารถในการเคลื่อนไหว ขึ้นลงบันได้ได้หรือไม่ ต้องใช้ไม้เท้าไหม หรือว่านอนอยู่บนเตียง นั่งบนเตียงได้ นอนอย่างเดียว กินอาหารเป็นยังไง การขับถ่ายเป็นยังไง และเรื่องสำคัญก็คือ สมอง จิตใจเป็นอย่างไร ซึ่งเราอาจนำของเขามาดัดแปลงใช้ได้กับอาสาสมัคร และมาเปรียบเทียบดู

ของญี่ปุ่นเขาแบ่งคนเป็น 9 ประเภท ตามลักษณะเคลื่อนไหว ได้หรือไม่ได้ การกินอาหาร การขับถ่าย และภาวะความจำ หรือสมองไม่ดี เขาประเมินออกมาได้เป็นคน 9 ประเภท ของเราแบ่งเป็น 3 ประเภท

เรื่องของวัดเยี่ยมโยม เป็นสิ่งที่ทำไมทำตรงนั้น ท่านมีแรงจูงใจอะไร และโยมตกใจไหม ที่พระไปเยี่ยมถึงบ้าน

อันต่อไป คือ เทศบาลจะทำ Day care ซึ่งถือเป็นการดูแลในสถาบัน (Institutional care) เทศบาลเขาก็ไม่ได้ไปสร้างอะไรใหม่ ของเดิมก็มีอยู่แล้ว ไปดัดแปลงของเดิมได้ เช่น เทศบาลที่นครศรีธรรมราช เอาคุกเก่า ที่เขาไม่ได้ใช้งานแล้ว เอามาเป็นที่สำหรับ Day care สำหรับผู้สูงอายุ ไม่ต้องไปสร้างใหม่ ที่สุราษฎร์ เอา รร.ประถมเดิม ซึ่งเขายุบไปแล้ว เพราะว่าเด็กมีน้อย ก็เอามาเป็นสถานดูแลค้างคืน ของ ผส. และใกล้ๆ กันนั้นเขาก็มีบ่อน้ำร้อนตามธรรมชาติ ก็อาจเป็น spa ได้ด้วย ซึ่งเราก็ไม่ต้องไปทำอะไร ปรับปรุงของเดิม

และประเด็นที่สำคัญ คือ บทบาทของกรมอนามัย กับคน 3 กลุ่ม เราก็ดูว่า เราดูเรื่อง long term care ซึ่งจะประกอบไปด้วย ประเด็นการให้บริการ อย่างที่ทำผ่านมาก็จะมี เพื่อการฟื้นฟูสมรรรถภาพ เพราะว่า ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงอายุ คือ การมีหลายโรค และเป็นโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ควบคุมได้ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดอัมพาต อัมพฤกษ์เมื่อไร มีปัญหาทันที ต้องการการฟื้นฟู ต้องการการดูแล เพราะฉะนั้น การดูแลมี 2 อย่าง ดูแลในสถานบริการ ดูแลในชุมชน (ที่บ้าน ครอบครัว) เพราะฉะนั้น บทบาทของกรมอนามัยจริงๆ แล้ว คือ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแล ไม่มีใครอยากไปอยู่ที่โรงพยาบาล หรือยากจนมากๆ ก็ไม่อยากไปอยู่สังคมสงเคราะห์ เขาอยากอยู่ที่บ้านทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถฟื้นฟูที่บ้าน ชุมชน วัด โรงเรียน อนามัย อบต. เขาได้ ก็เป็นการประหยัด เพราะฉะนั้น บทบาทของกรมอนามัย ก็ทำได้ทั้ง 3 กลุ่ม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และที่เราทำก็ใช้ชุมชนเป็นฐาน และส่งเสริมให้รูปแบบที่ชุมชนเป็นฐาน หนึ่ง น่าจะเป็นแบบการดูแลชั่วคราว ที่เรียกว่า Respite care ก็คือ ดูแลเฉพาะกลางวัน สอง ดูแลระหว่างทาง (Half way care) คือ ระหว่างที่ discharge จากโรงพยาบาล และยังไม่สามารถเข้าบ้านได้ คนไข้อยู่ในภาวะที่โรงพยาบาล ต้อง discharge เพราะเขาต้องรับคนใหม่เข้ามา แต่ยังกลับบ้านไม่ได้ ตรงนี้ จะหาคนดูแลไม่ได้ จะอยู่ที่ไหน ชั่วคราวอีกอันหนึ่ง คือ คนดูแล จะมี burden มาก เพราะว่าเขาอยากจะพักผ่อนบ้าง จะทำอย่างไร ถ้าเรามีอาสาสมัคร เราก็ไปดูแลแทนเขาที่บ้าน หรือเขามาฝากไว้ที่สถานที่ดูแล อย่างที่เทศบาล อบต. ทำ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ว่าจะทำอย่างไร

รวมเรื่อง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ปี 2552

  

หมายเลขบันทึก: 250881เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • กิจกรรมน่าสนใจ
  • การดูงานคิดว่าช่วยได้มากทีเดียว
  • ไม่ใช่อะไร...กำลังจะพาทีมไปดูงานเหมือนกันค่ะ...
  • P
  • อิอิ ไปเลยจ้า
  • ลปรร. กันในหมู่เฮา เชียร์อยู่แล้ว
  • อูย ย ย ลืมตัว
  • เดี๋ยวน้องดาวว่า นอนดึกอีกแล้ว
  • ก้อ วันนี้ ภาระกิจเยอะ เพิ่งได้เริ่มเองนะ

อ่านบันทึกคุณหมอนนท์ทีไรก็มีความสุขกับการได้รับรู้เรื่องราวดีๆทุกทีเลยค่ะ วันนี้ได้มีเวลาทักทายบ้างแล้ว  เห็นด้วยและอยากให้เกิดทั่วไทยจริงๆค่ะ สำหรับ "บทบาทของกรมอนามัยจริงๆ แล้ว คือ การใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแล"

  • P
  • ขอบคุณค่ะ
  • และทุกคนที่มา ก็ได้รับการชื่นชมจาก ผอ.สำนักฯ คุณหมอสมศักดิ์ ด้วยค่ะ ว่า ... เห็นว่าทุกคนทำงานกันเก่งขึ้น และก็เข้าถึงชุมชน
  • อนาคต ผู้สูงอายุเรา ก็จะต้องมีสุขภาพดีนะคะ
  • รวมถึงพวกเราด้วยละค่ะ อิอิ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องของผู้สูงอายุ : LTC เป็นกำลังใจที่มีค่า และเป็นสิ่งดีงามที่ท่านกรุณามอบให้กับทีมงาน LTC ของจังหวัดสุโขทัยและศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก เรายินดีต้อนรับสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาดูงานในพื้นที่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท