เมื่อผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่ยอมเปลี่ยนแปลง จะทำอย่างไร ?


หรือที่ว่าผู้นำทางการเหล่านั้นติดกรอบ น้ำล้นถ้วย ไม่อยากลดชั้นมาเรียนรู้ร่วมกับคนระดับที่ต่ำกว่า ชอบสไตล์ command & control เป็นจริง คงต้องคิดหาหนทางส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับกลุ่มนี้ต่อไป ทำนองเรียนแบบไม่ไม่เรียน สอนแบบไม่สอน ฯลฯ
เมื่อวาน(24 มี.ค.)ได้ฟังการพูดคุยในเวทีพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือแกนนำระดับหมู่บ้านตำบลของตำบลบางจาก ซึ่ง อบต.บางจากจัดขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือแกนนำที่เข้าร่วมประมาณ 160 คน แบ่งเป็นกลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำกลุ่มและองค์กรต่างๆ รวมทั้งผู้นำอย่างเป็นทางการ ( สมาชิก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน)
เป็นการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือแกนนำระดับหมู่บ้านตำบลจะไปศึกษาดูงานการจัดการตนเองของชุมชนปลากะตักที่จังหวัดภูเก็ต
หนึ่งวันเต็มๆสำหรับเรียนรู้ก่อนไปศึกษาดูงาน ช่วงเช้าเรียนรู้ว่าเป้าหมายของกลุ่ม องค์กร ตนเองคืออะไร ทำได้ดีหรือไม่ดีในกิจกรรมใด แต่ละกิจกรรมใกล้ถึงเป้าหมายแล้วยัง ลองให้คะแนนกันดู ตนให้คะแนนตน ประเมินตนเอง ทบทวนเป้าหมาย รวมทั้งประเด็น เนื้อหา และสิ่งที่ตนเองตั้งจะไปเรียนรู้จากที่จะไปศึกษาดูงาน แล้วนำผลการศึกษาเรียนรู้ร่วมกันแต่ละกลุ่มย่อยนั้นขึ้นชาร์ตขึ้นจอให้เห็น ๆ น้องบู๊ด ว่าที่ ร.ต.เฉลิมพล บุญฉายา รน.ดำเนินรายการ จากนั้นตอนบ่ายก็อภิปรายกันเป็นคณะกันถึงทักษะ เครื่องมือ ที่จำเป็นสำหรับการไปศึกษาดูงาน เรียนรู้ในระหว่างเรียน(ระหว่างศึกษาดูงาน) รวมทั้งเรียนรู้หลังจากกลับมาแล้ว เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่จากการไปศึกษาดูงาน
ทุกคนที่ไปจะต้องทำการบ้านบันทึกสิ่งประทับใจคนละหนึ่งอย่างเป็นอย่างน้อย มาเล่ามาถ่ายทอดคนที่ไม่ได้ไป คิดกันไว้ว่าจะจัดในรูปเสวนาพร้อมนิทรรศการ ซึ่งวันเวลายังไม่ได้กำหนด แต่เร็วๆนี้แน่ เวทีนั้นจะพูดคุยถึงการประยุกต์ใช้ความรู้และประสบการณ์การไปศึกษาดูงาน การวางแผนขับเคลื่อนงานและการเรียนรู้ต่อเนื่องนั่นเอง 
ทางฝ่ายผู้จัดคือ อบต.คาดหวังว่าแกนนำหมู่บ้าน กลุ่มองค์กรที่ไปศึกษาดูงานครั้งนี้อย่างน้อยหมู่บ้านละ 3 คน กลุ่มองค์กรละอย่างน้อย 3 คน เช่นกัน จะผุดหรือโดดเด่นขึ้นมาให้เห็น สามารถนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง นำการเรียนรู้ชุมชน เป็นคุณอำนวยชุมชนต่อไป จะเห็นผลภายในระยะเวลา 1 ปี
เสวนาครั้งนี้กลุ่ม อสม. กลุ่มสตรีแม่บ้าน กลุ่มองค์กรเข้าร่วมกันหนาตา แต่ผู้นำอย่างเป็นทางการ อย่าง สมาชิก อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน มากันน้อย เป็นเพราะอะไร ผู้เข้าร่วมให้เหตุผลกันต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่าน้ำล้นถ้วยบ้าง บ้างก็ว่าไม่อยากลดชั้นมาเรียนรู้ร่วมกับระดับที่ต่ำกว่าบ้าง ฯลฯ ซึ่งสำหรับผู้เข้าร่วมเสวนาแล้วคาดหวังให้ผู้นำเหล่านี้เข้าร่วมด้วยเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้เอื้อหรืออำนวยความสะดวกให้แก่พวกเขาในการเรียนรู้ ในการเชื่อมโยงกิจกรรม กลุ่ม องค์กร เป็นเครือข่ายใหญ่เครือข่ายย่อยในหมู่บ้านในตำบล
หรือที่ว่าผู้นำทางการเหล่านั้นติดกรอบ น้ำล้นถ้วย ไม่อยากลดชั้นมาเรียนรู้ร่วมกับคนระดับที่ต่ำกว่า ชอบสไตล์ command & control เป็นจริง คงต้องคิดหาหนทางส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับกลุ่มนี้ต่อไป ทำนองเรียนแบบไม่ไม่เรียน สอนแบบไม่สอน ฯลฯ
จะลองขายความคิดนี้ดูในบรรดาทีมงาน
หมายเลขบันทึก: 250666เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2009 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ แวะมาให้กำลังใจ

บางคราคนเราเรียนรู้ได้ในครั้งแรก

บางคนก็ใช้การเรียนรู้หลาย ๆ ครั้งถึงจะมีการปรับเปลี่ยน วิธีคิด หรือพฤติกรรม

คนที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่าง และต่อเนื่อง เมื่อสังคมทำ กลุ่มเหล่านี้ไม่มีหรอกที่จะไม่ทำ เพราะเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน อาจจะต้องใช้เวลาหน่อย แต่ไม่นานหรอก

หากเขาไม่ทำจริง ๆ และเมื่อเราทำทุกวิธีแล้ว แสดงว่าเขาไม่ได้ต้องการให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

คราต่อไปเราก็อย่าไปเลือกเขาเข้ามา หรือเสนอถอดถอนได้ไหมให้เป็นกระบวนการของชุมชนเอง

ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งที่อยากจะทำงานการศึกษาและงานพัฒนาไปด้วยกัน นั่นคือ "คนทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงได้" เป็นหน้าที่ของผู้ก่อการดีอย่างอาจารย์จำนงและคณะรวมทั้งผมด้วยแหละครับที่จะต้องพยายามเรียนรู้ ค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาจัดกระบวนการเพื่อกระเทาะความคิดผู้นำกลุ่มนี้ บางครั้งการให้บทบาทนำในการจัดกระบวนการและสร้างความเป็นเจ้าของร่วมในการเรียนรู้ (จัดวางPosition) ให้เหมาะสมก็อาจจะทำให้ผู้นำ ที่คิดว่าตนต้องเป็นเฉพาะผู้นำเกิดการเรียนรู้ท่ามกลางการทำงาน(หัดเอาในไถ)แต่ทั้งนี้ต้องออกแบบกระบวนการให้แยบยล ก็อาจจะเป็นหนึ่งช่องทางที่น่าลองดูใช่ไหมครับครูนง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท