ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม ของสมศ.


แนวทางและวิธีการในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม ของสมศ.

           สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งสถานศึกษาภาครัฐ และเอกชนในทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จึงได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก (พ.ศ.2544-2548)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาแต่ละแห่งได้รับสารสนเทศเพิ่ทเติมในการประเมินตนเองและก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้เหมือนกันทุกสถานศึกษา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินในรอบสอง(พ.ศ.2549-2553) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพภการศึกษาของสถานศึกษาและคาดหวังจะกระตุ้นให้สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างก้าวกระโดดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

            ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สามซึ่งจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2554-2558 นั้น สำนักงานจะมีการวางแผนที่จะพัฒนาระบบการประเมินในรอบที่สาม ซึ่งทางสำนักงานจึงมีความต้องการที่จะทราบความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากทุกท่าน ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างมากในการวางแผนการพัฒนาระบบการประเมินในรอบที่สามได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 250105เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นายฐิติวัสส์ พรหมรัตน์

บางมาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานด้านผู้บริหาร สมศ ควรใช้การประเมินแบบ Milestone เป็นการกำหนดค่าความสำเร็จจะทำให้เห็นภาพการบริหารชัดเจนขึ้น มากกว่าใช้การประเมินเพียงแค่ มี หรือไม่มี เช่น มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แล้วนำแผนไปใช้อย่างไรบ้าง ครบกระบวนการ PDCA หรือไม่ จะทำให้การประเมินมีคุณภาพยิ่งขึ้น

สำหรับครู ก็สามารถนำการประเมินแบบ Milestone มาใช้ได้ จะทำให้เห็นภาพว่า เมื่อครูรู้เป้าหมายการศึกษา มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ นำแผนไปใช้ มีการติดตามประเมินผล มีการนำผลการประเมินไปใช้ ตลอดจนการมีการทำวิจัยในชั้นเรียน จะเห็ํนภาพชัด เและเป็นการยุติกรรมกับครูด้วย ไม่ใช่แบบประเมินในปัจจุบัน ๗ ข้อ ขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง ครูคนนั้น ก็ได้ ศูนย์ ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับครู

นายฐิติวัสส์ พรหมรัตน์

จากการเข้าร่วมประชุมโครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๒ ในหัวข้อเรื่อง ปฏิรูปการศึกษารอบสอง การประเมินรอบสาม: ปรับแต่ง หรือปรับรื้อระบบ ?? ในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ช่วงระดม "แนวคิดและทิศทางการปฏิรูปและการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน " โดยมี ดร.จำรัส นองมาก เป็นประธา่นรับฟังความคิดเห็น ได้กำหนดกรอบในการประเมินรอบสาม กำหนดแนวทางการประเมินออกเป็น ๓ กลุ่ม และมีน้ำหนักคะแนน ดังนี้

๑. การกำกับดูแลและขับเคลื่อนการดำเนิงานสถานศึกษา โดยคณะกรรมการสถานศึกษา น้ำหนักคะแนนร้อยละ ๑๐

๒. การบริหารจัดการโดยผู้อำนวยการ คุณภาพการเรียนการสอนโดยเน้นผู้ีเรียนเป็นสำคัญ น้ำหนักคะแนนร้อยล ๑๕

๓.ผลการจัดการศึกษา ได้แก่ พลเมืองดี เก่ง มีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต น้ำหนักคะแนนร้อยละ ๗๕

ในความคิดเห็นของผมคิดว่า ในข้อ ๒ ควรปรับปรุงข้อความว่า การบริหารจัดการ ด้านคุณภาพการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้บริหารและครู น้ำหนักคะแนนควรอยู่ที่ระดับร้อยละ ๒๕ เพราะเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ผู้บริหารและครูจะได้ร่วมมือกันผลักดันเผื่อให้เกิดผลดีกับผู้เรียน และเป็นส่วนที่สำคัญคือครูผู้สอน จะได้พัฒนากระบวนการเีรียนรู้ เทคนิควิธีการสอนและเทคโนโลยีในการพัฒนาผู้เรี่ยน ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งต่อข้อ ๓

ข้อ ๓ ควรปรับน้ำหนักคะแนนจาก ๗๕ เหลือเพียง ๖๕ คะแนน เพราะผลของการพัฒนาผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการสอน และเทคโนโลยี ที่ผู้บริหารและครูร่วมกันจัดให้กับผู้เรียน

แถมทอง จริยะนรวิชช์

๑.การประเมินรอบสาม ด้านครู อยากเห็น สมศ. กระตุ้นครูมีผลงานทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ครูผู้สอนทุกคนควรมีแผนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระที่สอนอย่างน้อย ๑ กลุ่มสาระที่ต้องมีการจัดเตรียมสื่อ/แบบฝึกทักษะที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน และควรมีการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ที่มาจากองค์ความรู้ในชุมชนแหล่งเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยถ่ายทอดความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ผญา กลอนหมอลำ สุภาษิต การทอผ้า วัฒนธรรมไทย/พื้นเมือง เพื่อสืบสานองค์ความรู้ด้านต่างๆที่มีในชุมชนไว้ให้ลูกหลานศึกษา/อ้างอิง

๒.ถ้าครูทำได้จะมีหนังสือส่งเสริมผู้เรียนรักการอ่าน อ่านนอกเวลา ห้องสมุดจะมีชีวิตชีวา มีหนังสือหลากหลายจากฝีมือครูและผู้เรียนและภูมิปัญญา ทุกฝ่ายจะภาคภูมิใจและชื่นชมผลงานตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท