หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551:อนาคตที่ต้องรับรู้(2)


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

              ได้เขียนถึง หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ในส่วนที่ครูและผู้เกี่ยวข้องน่าจะได้รับทราบ เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การใช้หลักสูตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

              อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์ประกอบ ที่อยากจะเสนอในส่วนที่สำคัญเพิ่มเติม  ประกอบด้วย

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้

๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

๒.  ซื่อสัตย์สุจริต

.  มีวินัย

๔. ใฝ่เรียนรู้

๕. อยู่อย่างพอเพียง

.  มุ่งมั่นในการทำงาน

๗.  รักความเป็นไทย

.  มีจิตสาธารณะ

นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง   

มาตรฐานการเรียนรู้

                การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

๑.      ภาษาไทย

๒.    คณิตศาสตร์

๓.     วิทยาศาสตร์

๔.     สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๕.     สุขศึกษาและพลศึกษา

๖.      ศิลปะ

๗.     การงานอาชีพและเทคโนโลยี

๘.     ภาษาต่างประเทศ

ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม            ที่พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญ                ในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึง
การทดสอบระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด

ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่นักเียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น               ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้                                 ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน 

. ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ          (ประถมศึกษาปีที่ ๑ มัธยมศึกษาปีที่ ๓)           

. ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(มัธยมศึกษาปีที่ ๔- ๖) 

ในส่วนที่เพิ่มเติมจะมีสิ่งที่ต่างและเหมือนกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  อยากให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษาเปรียบเทียบและได้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เกิดรูปธรรมต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 249556เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2009 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 08:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณค่ะ ท่าน ผอ.
  • ครูอ้อย ยังไม่ได้เขียน โครงสร้างและคำอธิบายรายวิชาเลยค่ะ
  • เขาทวงให้ส่ง มีนาคม วันที่ 25 ค่ะ

ได้ความรู้ครับ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ชอบที่สุดคือมีจิตสาธารณะค่ะท่านผอ.เขตขา

P ท่านผอ.- ประสิทธิ์ - หนูกุ้ง คะ

ขอบคุณท่านนะคะที่แวะไปให้กำลังใจผู้น้อย

เมื่อเทียบแล้วศน.แอ้ดก็เท่ากับลูกน้องในปกครองของท่าน

ขอบคุณค่ะที่แวะไปให้ขวัญและกำลังใจถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง

ขอให้ท่านปลอดภัยและมีความสุขในการทำงานนะคะ

ครูนราธิวาส ชื่นชม ผอ.ประสิทธิ์ ทำงานหนัก ออกเยี่ยมครูที่เสี่ยงภัยแล้ว ยังมีเวลามาเขียนงานได้อ่านสม่ำเสมอ ให้กำลังใจในการทำงานแบบตรงไปตรงมาและเป็นกันเองครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • ส่งความสุขค่ะ

เย้ๆ

ผอฺคะ ตอนนี้ทำหลักสูตร ๕๑ อย่ค่ะ แต่ติดเรื่องตัวอย่างหน่วยการเรียนร้ภาษาไทยป.๖ยังทำไม่ได้เลยค่ะ ส่งวันนี้แล้ว

ช่วยด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท