เกิดอะไรขึ้นที่ Mobile Unit จ.นครสวรรค์ ?


มุ่งสู่สุขภาวะ

   ในเดือนนี้ผู้เขียนได้ออกหน่วย Mobile Unit ของมหาวิทยาลัยไปที่ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ของเราได้จัดทีมทันตแพทย์ออกไปให้บริการทั้งสิ้น 6 ท่าน ผู้ช่วยทันตแพทย์อีก 5 ท่าน รวมถึง จนท.ที่ไปช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ และคนขับรถอีก 3 ท่าน

   ขอเล่าย้อนไปหน่อยว่า ในช่วงปีแรกๆ ที่ผู้เขียนมาทำงานและได้ไปออกหน่วย Mobile ของมหาวิทยาลัย ปกติจะมีคนไข้มารับบริการเป็นจำนวนมาก เรียกว่าพอตกบ่ายต้องรีบปิดรับคิว เพราะทำไม่ทันกันจริงๆ ทำให้ยังมีผู้ป่วยตกค้างไม่ได้รับการรักษาอีกเป็นจำนวนมาก แต่มาครั้งนี้กลับตาลปัตรเพราะว่ามีคนไข้มารับบริการน้อยลงมากจนน่าแปลกใจ เดาว่า 2 วันนี้ มีคนไข้มาทำฟันรวมๆ ไม่น่าจะเกิน 150 คน ทั้งที่ปกติทำกันมากกว่า 200 คน เอ! แล้วมันจะคุ้มไหมเนี่ย.. อุตส่าห์ขนคน ขนข้าวของออกไปตั้งมากมาย ทำได้แค่นี้เอง

   ในทางกลับกัน หากมองในมุมกลับ ถ้าเราไม่เอาเรื่องความคุ้มค่าของสิ่งที่ลงทุนไปกับผลที่เป็นจำนวนตัวเลขมาคิด ผู้เขียนก็คิดว่าคุ้มค่าอยู่ไม่น้อยเพราะพวกเรามีเวลาให้กับคนไข้แต่ละคนมากขึ้น งานรักษาในโรงพยาบาลเองเราก็เฝ้าหวังว่าเมื่อไรคนไข้จะลดน้อยลง เมื่อไรคนไข้จะสามารถดูแล ป้องกัน และรักษาตัวเองได้ในเบื้องต้น งานของหมอจะได้ลดน้อยลง เมื่อหมอไม่ต้องรีบร้อนเพราะเร่งตรวจ & รักษาก็จะมีเวลาพูดคุยกับคนไข้มากขึ้น

   เป็นที่ทราบกันดีว่า งานทันตกรรมเป็นงานที่คนไข้มักจะกลัวเพราะเสียงเครื่องมือที่ดังหวีดลั่น แต่ครั้งนี้เราได้เห็นทันตแพทย์สาวค่อยๆ ปลอบโยนเด็กน้อยที่กำลังจะร้องไห้งอแงด้วยความกลัว ให้คลายความกังวลใจลง (อ้อ..ปกติเธอเป็นคนใจดี แต่เมื่องานมากก็เลยไม่มีเวลาได้แสดงบทนางฟ้าเท่าไร) ได้ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบกันมากขึ้น มองเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของกันและกันมากขึ้นด้วย เพราะ "ใจได้สัมพัทธ์ใจ"

   เมื่อเรามีเวลาพูดคุยกันมากขึ้น หมอก็จะเข้าใจการเจ็บป่วยของคนไข้มากขึ้น สามารถให้คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง คนไข้ก็ได้พูด-ได้เล่าในสิ่งที่ตนเองอยากจะเล่า เขาก็จะรู้สึกพึงพอใจ เกิดการยอมรับ รวมทั้งสามารถซักถามและปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอได้ดียิ่งขึ้น เป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่มองกันอย่างเป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น

   ท่านผู้อ่านว่าจริงไหมคะ ?

หมายเลขบันทึก: 248668เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2009 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงค่ะ

ถ้าเรามองมุมกลับ

อาจเป็นเพราะว่าเรา(หมายถึงทันตแพทย์) ได้ให้ความรู้ กับผู้ป่วย จนสามารถดูแลตนเองได้ เลยไม่มีโรคให้รักษา อิอิ

ดีไหมอ่ะค่ะ

มองอีกมุมนะคะ อย่าว่ากัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท