ความหลากหลายของพืชและสัตว์


ความหลากหลายของพืชและสัตว์

                                                                   ใบความรู้       

 เรื่อง   ความหลากหลายของพืชและสัตว์   

 ความหลากหลายของพืช  

          พืชที่พบเห็นอยู่รอบๆ ตัวเรามีอยู่มากมายหลายชนิด  นักวิทยาศาสตร์จึงจัดจำแนกพืชไว้เป็นกลุ่ม  เพื่อไห้สะดวกในการศึกษาโดยกำหนดเกณฑ์ในการจำแนกไว้  ดังนี้

          1. พืชมีดอก- พืชไม่มีดอก  เป็นการจำแนกพืชโดยพิจารณาจากอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์

                1.1 พืชมีดอก คือ พืชที่ใช้ดอกในการสืบพันธุ์ ซึ่งจัดเป็นพืชกลุ่มใหญ่ เช่น  มะม่วง  เงาะ  มะละกอ  กุหลาบ  พลูด่าง  ชบา  กล้วยไม้  ฯลฯ

                 1.2 พืชไม่มีดอก  คือ  พืชที่ไม่มีดอกในการสืบพันธุ์ พืชกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากเท่ากับพืช  มีดอก เช่น  มอส   เฟิร์น  สน  ปรง  ผักกูด  ผักแว่น  ชายผ้าสีดา  กระแตไต่ไม้

          2. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว-พืชใบเลี้ยงคู่   การจำพืชนอกจากใช้เกณฑ์มีดอกหรือไม่มีดอกแล้ว ยัง สามารถแบ่งพืชได้เป็น 2 ประเภทโดยพิจารณาจากส่วนประกอบต่างๆของพืช

                 2.1 พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นพืชที่มีใบเลี้ยงออกจากเมล็ดเพียงใบเดียวและถ้าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เจริญเติบโตขึ้นก็สามารถสังเกตจากลักษณะของราก  ลำต้น  และใบ  ได้ดังนี้               

                          -  เส้นใบเรียงแบบขนาน

                          -  ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน

                          -  ไม่มีการเจริญออกทางด้านข้าง

                          -  มีระบบรากฝอย

                  2.2  พืชใบเลี้ยงคู่  เป็นพืชที่มีใบเลี้ยงงอกออกจากเมล็ด  1 คู่  และถ้าเจริญเติบโตขึ้นจะสามารถสังเกตจากลักษณะของ  ราก  ลำต้น  และใบ  ดังนี้

                          -  เส้นใบเรียงเป็นร่างแห

                          -  ลำต้นไม่มีข้อปล้อง

                          -  มีการเจริญออกทางด้านข้าง

                          -  มีระบบรากแก้ว

  

 ความหลากหลายของสัตว์

          สัตว์ชนิดต่างๆสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่โดยใช้โครงร่างแข็งภายในร่างกายของสัตว์ดังนี้

         1. สัตว์มีกระดูกสันหลัง  คือ  สัตว์ที่มีกระดูกเป็นข้อๆ อยู่ภายในร่างกายและทำหน้าที่เป็นแกน กลางลำตัว  แบ่งเป็น  5 ประเภทดังนี้

1.1  ปลาได้แก่ ปลาฉลาม  ปลาช่อน  ปลาทู  ฯลฯ

1.2  สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ได้แก่  กบ  อึ่งอ่าง  คางคก  ฯลฯ

1.3  สัตว์เลื้อยคลาน  ได้แก่  งู  เต่า  จิ้งจก  ฯลฯ

1.4  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ได้แก่  ช้าง  ม้า  แมว  ฯลฯ

1.5  สัตว์ปีก  ได้แก่  ไก่  เป็ด  นก  ฯลฯ

         2. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  จะมีปริมาณมากกว่าสัตว์มีกระดูกสันหลัง  นักวิทยาศาสตร์ได้ จำแนกประเภทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามลักษณะได้ดังนี้

              2.1  ฟองน้ำ   ได้แก่   ฟองน้ำแก้ว   ฟองน้ำหินปูน

              2.2  ลำตัวกลวงหรือลำตัวมีโพรง  ได้แก่  แมงกะพรุน  ปะการัง  ไฮดรา  ดอกไม้ทะเล

              2.3  หนอนและพยาธิตัวแบน  ได้แก่  พยาธิใบไม้  พยาธิตัวตืด

              2.4  หนอนและพยาธิตัวกลม  ได้แก่  พยาธิไส้เดือน  พยาธิตัวจี๊ด

              2.5  ลำตัวเป็นปล้อง  ได้แก่  ไส้เดือนดิน  ปลิงน้ำจืด  ทากดูดเลือด

              2.6  สัตว์ทะเลผิวขรุขระ  ได้แก่  ดาวทะเล  ปลิงทะเล  เม่นทะเล

              2.7  หอยและหมึกทะเล  ได้แก่  หอยแครง  หอยแมลงภู่  หอยทาก  หอยโข่ง  หอยขม

              2.8  สัตว์ที่มีขาเป็นข้อ  ได้แก่  ยุง  แมลงวัน  แมงมุม  แมงป่อง  ปู  กุ้ง  กิ้งกือ  ตะขาบ ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 246670เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ได้ความรู้ค่ะ

ได้ความรู้มากค่ะ

ได้ความมากค่ะ

ได้ความรู้ค่ะ

สนุกมากเลยค่ะ

หนูเข้าใจเรื่องนี้ค่ะ

ได้ความรู้มากค่ะ

ได้ความรู้มากครับ

ดีใจมากค่ะที่ได้อ่านเรื่องนี้ค่ะ

ได้ความรู้มากครับ

สนุกมากครับ

เรื่องนี้สนุกมากค่ะ

อ่านเรื่องนี้มีความรู้มากค่ะ

สนุกมากครับ

ได้ความรู้เรื่องนี้ครับ

มันมั่วอ่าครับ

ย่อให้ได้ป่ะครับ

งุงิ

ความรู้อ่ะได้มาก

แต่มันมากอาจารให้มาสรุปสรุปยากอ่ะ

ช่วยหน่อยนะส่งวันจันทร์หน้าอ่ะ

นะคร๊าบอาจารย์

ได้ทำการบ้านอย่างมีความสุข อิอิ

ดีใจมากเลยค่ะที่ได้อ่านเรื่องนี้

กฤษณะพงศ์ สุชะนะชา

เเวะมาค้นหาความรู้บ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท