Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กรณีศึกษาเด็กหญิงมะเฮตีไท้ซาน : รัฐไทยออกสูติบัตรรับรองการเกิดแม้จะเกิดจากบิดาและมารดาซึ่งเป็นคนไร้รัฐจากพม่า


หลายคนดีใจมากที่มะเฮตีไท้ซานได้รับสูติบัตรจากเทศบาลเมืองระนอง

ไม่ทราบว่า มีคนส่งสูติบัตรของมะเฮตีไท้ซานมาให้ท่านทั้งหลายเก็บไว้แล้วหรือยัง กรณีนี้ น่าจะเป็นประวัติศาสตร์การทำงานของเรา เป็นกรณีที่เขายุติกันได้อย่างมีความสุขระหว่างคุณชาติชายและคุณสุรินทร์ โดยใช้กฎหมายนิยมเป็นตัวเชื่อมสัมพันธภาพด้วยกัน (โปรดดูคำบอกเล่าของคุณชาติชายในระหว่างการร้องขอสูติบัตรให้แก่เด็กหญิงมะเฮตีไท้ซาน)

ในปีนี้ ภารกิจหนึ่งที่เราทั้งหลายน่าจะทำต่อไป ก็คือ การผลักดันพัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนการเกิดให้สมบูรณ์มากขึ้นจนแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐให้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด อ.แหววขอเสนอว่า การเข้ามาช่วยกันเขียนงานเกี่ยวกับการจดทะเบียนการเกิดในลักษณะของ Cases and Material น่าจะช่วยให้คนทำงานมีคู่มือที่ชัดเจนมากขึ้น ในแง่คำอธิบายกฎหมายที่วีนัสพยายามจะทำในรูป Pocket Book หรือหนังสือสั่งการ (อันนี้เก๋) เป็นสิ่งที่ทำได้แล้ว และเป็นพื้นฐานความรู้ที่ใช้ต่อยอดได้  ในส่วนที่ควรทำต่อไป ก็คือ การป้อน “กรณีศึกษา” มาช่วยกันคิดและเขียน ซึ่งโอกาสแรกที่จะทำงานกัน ก็คือ งานต่อยอดองค์ความรู้แม่อายของเอ๋เพชรนำมาซึ่งกรณีศึกษา ๑๐๐ กรณี ให้เราได้จัดการ อย่างน้อย การรับรองจุดเกาะเกี่ยวในขณะที่เกิด ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของการรับรองการเกิดในแต่ละกรณีจะทำให้เราเห็นอุปสรรคของการใช้กฎหมายว่ามาจากไหนบ้าง ? และโอกาสที่สอง ก็คือ กรณีศึกษาที่เราพบในอันดามันจากงานต้องตี๋มาถึงงานเตือนมิวไหม ซึ่งกรณีมะเฮตีไท้ซาน ก็เป็นกรณีหนึ่งที่เราควรจะนำมาเขียน จะเป็นไปได้ไหมที่เราจะมีกรณีศึกษาที่หลากหลายที่สุดเกี่ยวกับการจดทะเบียนการเกิดในปีนี้

นอกจากนั้น ปีนี้ เราน่าจะผลักดันการศึกษาเรื่องการจดทะเบียนการเกิดโดยกฎหมายของรัฐต่างประเทศได้แล้วนะ ด้วยวิทยานิพนธ์ของด๋าวนะ การค้นคว้ากฎหมายต่างประเทศ ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศในการพิสูจน์สัญชาติ เราไม่น่าจะมองการจัดการคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติโดยกฎหมายไทยอย่างเดียว ในวันนี้ หากเราใช้กฎหมายของรัฐต่างประเทศได้ เราก็จะจัดการปัญหาคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทยได้ อาทิ กรณีนายคำตุ่น โดยบุญมี  หรือกรณีนางแสงเดือน ทานะสมบัติ โดยชลฤทัย   คราวนี้ล่ะ เราจะเห็นว่า สูติบัตรที่รัฐไทยออกให้คนต่างด้าวจะช่วยคนต่างด้าวนี้ในการพิสูจน์ตนตามกฎหมายของรัฐต้นทางของบุพการี  สำหรับสูติบัตรที่รัฐไทยออกเพื่อมะเฮตีไท้ซานอาจนำแม่หนูน้อยไปสู่การกลับสู่ความเป็นคนสัญชาติในวันหนึ่ง....สาธุ

อาจารย์แหววเห็นด้วยที่คุณกานต์เสนอให้คุณชาติชายบันทึกวิธีปฏิบัติในการร้องขอสูติบัตรให้แก่เด็กหญิงมะเฮตีไท้ซาน  กานต์บอกว่า “ดีใจมากครับที่ได้เห็นความสำเร็จเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น (ดีใจยิ่งกว่าถูกหวย) เป็นไปได้มั้ยที่จะขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากคุณชาติชาย ว่าในการไปแจ้งเกิดของมะเฮตีนั้น ต้องทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะในประเด็น การมอบอำนาจให้ไปแจ้งเกิด ประเด็นต้องนำตัวเด็กและพ่อแม่ไปยืนยันหรือไม่ (อยากรู้ด้วยว่าในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทะเบียนผู้รับแจ้งการเกิด จะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ระหว่างเด็กที่มีหนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล กับเด็กที่ไม่มี) จะได้เก็บรวบรวมไว้ตามที่อาจารย์แหววแนะนำ”

คุณชาติชายจะกรุณาหน่อยได้ไหมคะ ???

 

หมายเลขบันทึก: 246583เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.แหวว ครับ ผมตอบคำถามคุณกานต์ ไว้ที่บล็อกของผมที่ http://gotoknow.org/blog/papermoon เรื่อง "แจ้งเกิดหน่อยจ้า" ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท