เปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้กลายเป็นแม่เหล็กจิ๋วด้วยอนุภาคนาโน


เทคนิคนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคลู คีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่จำเป็นต้องดูดไขกระดูกออกมาตรวจเป็นประจำเพื่อตรวจหาสัญญาณที่บ่งบอกว่า ยังมีเซลล์ของโรคหลงเหลืออยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อายุยังน้อย จำเป็นต้องดูดไขกระดูกหลายๆครั้งเพื่อให้มีปริมาณตัวอย่างที่เพียงพอต่อการตรวจ

เปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้กลายเป็นแม่เหล็กจิ๋วด้วยอนุภาคนาโน

 

บทความนี้เผยแพร่ที่

http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=417&Itemid=59

แปลและเรียบเรียงโดย : มาริสา คุณธนวงศ์

    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่หยุด ยั้ง ก่อให้เกิดผลงานวิจัยใหม่ๆขึ้นมากมาย และเมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก สร้างสรรค์ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็น มะเร็ง พวกเขาคิดค้นวิธีการเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้กลายเป็นแม่เหล็กจิ๋วได้โดยอาศัย อนุภาคนาโน

          ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย แพทย์จะต้องนำไขกระดูกออกมาตรวจวินิจฉัยอยู่บ่อยครั้งเพื่อตรวจสอบความคืบ หน้าของโรค ซึ่งผลของการตรวจไขกระดูกก็อาจจะไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ตรวจไม่พบเซลล์มะเร็ง หรือผลเป็นลบ ก็อาจจะสรุปไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วผลที่เป็นลบดังกล่าวนี้เชื่อถือได้มากน้อย เพียงใด ผลอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป เนื่องจากในตัวอย่างอาจจะมีเซลล์มะเร็งจำนวนน้อยเกินกว่าที่จะตรวจพบได้ หรือไม่ก็เซลล์มะเร็งนั้นอาจจะเกิดการสูญหายไปทั้งหมด ทำให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก และ บริษัท Senior Scientific รวมทั้งบริษัทที่อยู่ในเมืองแอลบูเคอร์คี (Albuquerque) เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนิวเม็กซิโก มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการใช้อำนาจดึงดูดของแม่เหล็ก

          แนวความคิดที่จะเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้กลาย เป็นแม่เหล็กจิ๋วโดยใช้อนุภาคนาโนและใช้แม่เหล็กดูดมันออกมา โดยเริ่มจากนำอนุภาคนาโนของเหล็กออกไซด์ ซึ่งมีสมบัติเป็นแม่เหล็ก เคลือบด้วยแอนตี้บอดี้ที่เฉพาะเจาะจงกับสารเคมีที่พบเฉพาะในเซลล์มะเร็งเท่า นั้น เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย อนุภาคนับแสนจะรวมตัวกันอยู่รอบๆเซลล์มะเร็ง และเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้กลายเป็นแม่เหล็กจิ๋ว พวกเขาคิดว่าจะใช้เข็มที่มีแม่เหล็กอยู่ที่ปลาย ดูดเซลล์มะเร็งออกมาได้

          แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันทำงานได้จริงหรือ ไม่? หลักการนี้มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด? พวกเขาเริ่มการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ตัวอย่างเซลล์ที่เป็นลูคีเมียที่มีอนุภาคนาโนติดอยู่ ซึ่งแขวนลอยอยู่ในเลือด หรือ สารที่สังเคราะห์ขึ้นโดยเลียนแบบของเหลวในร่างกาย จากนั้นเซลล์ลูคีเมียจะถูกแม่เหล็กดูดออกมาได้ภายใน 2-3 นาที พวกเขาใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อยืนยันจำนวนของเซลล์มะเร็ง

          เทคนิคนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคลู คีเมียหรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่จำเป็นต้องดูดไขกระดูกออกมาตรวจเป็นประจำเพื่อตรวจหาสัญญาณที่บ่งบอกว่า ยังมีเซลล์ของโรคหลงเหลืออยู่หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่อายุยังน้อย จำเป็นต้องดูดไขกระดูกหลายๆครั้งเพื่อให้มีปริมาณตัวอย่างที่เพียงพอต่อการตรวจ

          งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Physics in Medicine and Biology ปีที่ 52 ฉบับที่ 14 หน้าที่ 4009-4025 21 กรกฎาคม 2550 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พวกเขากำลังเริ่มทดสอบทางคลินิกกับอาสาสมัคร และกำลังต้องการหุ้นส่วนเพื่อผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวในทางการค้าอีกด้วย พวกเขาคาดว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้ได้จริงอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้อุปกรณ์นี้ตรวจหาเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งรังไข่ที่ลามไปยังส่วนต่างๆของร่างกายซึ่งมีปริมาณน้อยมาก น้อยเกินกว่าที่จะตรวจพบด้วยเข็มตรวจมะเร็งทั่วไปได้

 

ภาพแสดง ส่วนปลายเข็มแม่เหล็ก ภาพที่อยู่ด้านซ้ายจะประกอบด้วยแท่งแม่เหล็กทรงกระบอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มม.ยาว 2 มม. 2 ท่อน คั่นด้วยโลหะที่ไม่เป็นแม่เหล็ก 2 มม. และมี แท่งเหล็กกล้าไร้สนิมที่ไม่มีสมบัติเป็นแม่เหล็กยาว 17 ซม. ต่อกับแท่งแม่เหล็กอันล่างและหุ้มทั้งหมดด้วยท่อที่เป็นโพลิอิมีด ส่วนภาพที่อยู่ด้านขวาเป็นปลอกหรือท่อโพลิอีมีดยาว 5 ซม.ที่ใช้สำหรับสวมที่ปลายเข็ม (credit : UNM)

 

 

Reference :

ที่มาข่าว : http://www.primidi.com/2007/07/13.htm


ข่าวโดย : มาริสา คุณธนวงศ์ 

 

หมายเลขบันทึก: 246357เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท