ท่อนาโนคาร์บอนช่วยผู้ป่วยที่กระดูกเกิดความเสียหาย


งานวิจัยนี้เป็นแนวทางที่ดีในการเยียวยารักษาผู้ป่วยที่กระดูกเกิดความ เสียหายอันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น จากการตัดก้อนเนื้อ จากการบาดเจ็บ จากการพัฒนาของกระดูกผิดปรกติ และสามารถใช้ในการปลูกถ่ายกระดูกในทางทันตกรรมได้อีกด้วย

ท่อนาโนคาร์บอนช่วยผู้ป่วยที่กระดูกเกิดความเสียหาย

 

 บทความนี้เผยแพร่ที่

http://www.mtec.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64&Itemid=59

แปลและเรียบเรียงโดย : มาริสา คุณธนวงศ์


เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เซลล์กระดูกสามารถเจริญบนท่อนาโนคาร์บอนได้ ในปัจจุบันท่อนาโนคาร์บอน เป็นหนึ่งในวัสดุที่มีความแข็งที่สุดเท่าที่เคยพบมา ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าท่อนาโนคาร์บอนนั้นสามารถนำมาพัฒนา เพื่อให้เนื้อเยื่อปลูกถ่ายมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องปลูกถ่ายกระดูก เนื่องมาจากกระดูกแตกหักหรือผู้ที่เป็นโรค เช่น โรคกระดูกพรุนหรือมะเร็งที่กระดูก

กระดูกประกอบด้วยส่วนที่เป็นแร่ธาตุหรือสารอนินทรีย์และ ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ ส่วนประกอบหลักๆได้แก่ ผลึกของไฮดรอกซีแอปาไทต์ที่มีแคลเซียมจำนวนมาก และ เส้นใยคอลลาเจน

วารสาร Nano Letters ฉบับที่ 8 มีนาคม 2006 ของl,k8, American Chemical Society ตีพิมพ์งานวิจัยของ Laura Zanello ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางชีวเคมี ที่ UCR (University of California at Riverside) และทีมงาน ได้แก่ Bin Zhao และ Hui Hu นักศึกษาปริญญาโท และศาสตราจารย์ Robert C. Haddon ที่มีความเชี่ยวชาญทางเคมี,วิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม โดย Haddon มีผลงานวิจัยที่แสดงถึงความเข้ากันได้ทางเคมีของท่อนาโนคาร์บอน กับเซลล์กระดูก Haddon และทีมงาน พบว่าท่อนาโนคาร์บอนที่มีผนังชั้นเดียว ซึ่งใส่สารตัวเติมเป็นโมเลกุลของสารอินทรีย์ที่อุดมไปด้วย ซัลเฟอรัส หรือฟอสฟอรัส สามารถเลียนแบบบทบาทของเส้นใยคอลลาเจนทำหน้าที่เป็นโครง (scaffold) ให้ผลึกไฮดรอกซีแอปาไทต์ (hydroxyapatite) เจริญเป็นกระดูกได้

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมุ่งที่จะพัฒนาวัสดุที่ทำหน้าที่ เป็นโครงสำหรับการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อช่วยให้กระดูกเจริญ Haddon กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างท่อนาโนคาร์บอนกับวัสดุโครงชนิดอื่น เช่น พลาสติก พบว่าท่อนาโนคาร์บอนมีความแข็งแรงสูงกว่า ความยืดหยุ่นดีเยี่ยม และความหนาแน่นต่ำ ด้วยสมบัติต่างๆที่เหนือกว่าเหล่านี้ ทำให้การสร้างวัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรงสูง อย่างกระดูก เป็นไปได้ตามอุดมคติ

การทดลองของ Zanello เป็นการต่อยอดงานวิจัยของ Haddon โดย Zanello ทดสอบและพบว่าท่อนาโนคาร์บอนเป็นโครงที่ด ีสำหรับให้เซลล์กระดูกเจริญ มีการทดสอบเปรียบเทียบว่าท่อนาโนคาร์บอนชนิดใด ที่เข้ากับเซลล์สร้างกระดูก(osteoblast) ได้ดีที่สุด โดยใช้ท่อนาโนคาร์บอนที่ได้รับการปรับสมบัติทางเคมี และท่อนาโนคาร์บอนที่ไม่ได้รับการปรับสมบัติทางเคมี ผลปรากฏว่า ท่อนาโนคาร์บอนที่ไม่ได้รับการปรับและมีค่าทางไฟฟ้าเป็นกลาง เป็นท่อนาโนคาร์บอนที่เหมาะสม ดีที่สุดสำหรับการเจริญของกระดูก

เนื่องจากท่อนาโนคาร์บอนเป็นวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้ มันประพฤติตัวเป็นโครงสร้างที่เสถียร และไม่ถูกต่อต้านจากร่างกายพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ทำให้เซลล์สร้างกระดูกสามารถเจริญเข้าไปในท่อ เหมือนกับการสร้างกระดูกตามธรรมชาติได้ และสามารถทำงานได้เหมือนกระดูกที่เกิดตามธรรมชาติ

ชาวอเมริกันประสบปัญหากระดูกหักแตกร้าว ถึง 5.6 ล้านรายต่อปี และ ศัลยแพทย์ต้องศัลยกรรมกระดูกเกือบครึ่งล้านรายต่อปี เนื้อเยื่อกระดูกเป็นวัสดุปลูกถ่ายที่มีความต้องการใช้มากเป็นลำดับที่สอง รองจากโลหิต(การถ่ายโลหิต)

งานวิจัยนี้เป็นแนวทางที่ดีในการเยียวยารักษาผู้ป่วยที่กระดูกเกิดความ เสียหายอันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น จากการตัดก้อนเนื้อ จากการบาดเจ็บ จากการพัฒนาของกระดูกผิดปรกติ และสามารถใช้ในการปลูกถ่ายกระดูกในทางทันตกรรมได้อีกด้วย


จากภาพแสดงให้เห็นว่าไฮดรอกซีแอปาไทต์จัดระเบียบโครงสร้างได้อย่างดี เหมาะสมที่จะให้กระดูกเจริญตามธรรมชาติ

Ref: http://www.devicelink.com/mddi/archive/05/10/SingleWallNanotubes3.jpg

จากภาพแสดงให้เห็น กระดูกที่เจริญบนโครงของท่อนาโนคาร์บอน

Ref: University of California at Riverside

โครงสร้างท่อนาโนคาร์บอน

Ref:Penn State University

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข่าวจาก University of California, Riverside Mar 24, 2006
ที่มา


ท่อนาโนคาร์บอน ค้นพบครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2534 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ  สุมิโอะ อีจิมะ (Sumio Iijima)

1. โครงสร้างของนาโนคาร์บอน

 โมเลกุลของท่อนาโนคาร์บอนประกอบขึ้นจาก ธาตุคาร์บอนเช่นเดียวกับ เพชร แกรไฟต์ ถ่าน และฟูลเลอรีนส์ (Fullerenes) แต่มีโครงสร้างการจัดเรียงอะตอมที่แตกต่างกัน  โครงสร้างของท่อนาโนคาร์บอนมีลักษณะเป็นแผ่นเกิดจากการเรียงตัวของคาร์บอน แบบโมเลกุลเดี่ยวเป็นแถวยาว และม้วนตัวเป็นท่อซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยมาก เสมือนเป็นเส้นยาวๆในแนว 1 มิติ ท่อนาโนคาร์บอนยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่อนาโนคาร์บอนผนังชั้นเดียว (Single wall nanotube, SWNT) และ ผนังหลายชั้น (Multi-wall nanotube, SWNT)

2. สมบัติของท่อนาโนคาร์บอน

ท่อนาโนคาร์บอนมีน้ำหนักเบา มีค่าความหนาแน่นเพียง 1.33-1.40 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร และยังเป็นคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวมากถึง 1,250 ตารางเซนติเมตร/กรัม มากกว่าแอคทีฟคาร์บอน หรือคาร์บอนที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาถึง 2 เท่า
มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ หรือมีค่าโมดูลัสของยังสูง (Young?s Modulus) มีความแข็งแกร่งกว่าเหล็กกล้า มีความทนทานต่อแรงดึง (Tensile Strength)  มีสมบัติการนำไฟฟ้าได้ดีกว่าตัวนำไฟฟ้าทุกชนิด มีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำคล้ายกับซิลิกอน มีสมบัติการนำความร้อนได้และยังมีสมบัติพิเศษอื่นๆอีกด้วย เช่น สามารถหดโค้งงอได้เหมือนสปริง สามารถหดกลับจากรูปหนึ่งไปยังอีกรูปหนึ่งอย่างฉับพลัน

3. การประยุกต์ใช้ท่อนาโนคาร์บอน

ใช้ทำโพรบวัด (probing tip) เพื่อเพิ่มความสามารถแยกแยะ (resolution)ให้กับกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม
ใช้เป็นส่วนประกอบใน รถยนต์ เครื่องบิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ หรือแม้กระทั่งใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุน หรือทำเบ้าหล่อวัสดุเซรามิก (nanoceramic fibers) ในปัจจุบัน นักวิจัยคิดค้นเพื่อที่จะนำท่อนาโนคาร์บอนไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพ ให้กับอุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อีกมากมาย 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ไฮดรอกซีแอปาไทต์ (Hydroxyapatite) วัสดุทดแทนกระดูก:

http://www.mtec.or.th/Th/news/cool_stuff/cool2.html

นาโนเทคโนโลยี :

http://www.tiche.org/nano.pdf

ท่อนาโนคาร์บอน :

  • http://www.azom.com/details.asp?ArticleID=1290
  • วารสารไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่12 เล่ม3 , ปีที่12 เล่ม4
  • Industrial Technology Review 2543 ฉบับ 69

 
ข่าวโดย : มาริสา คุณธนวงศ์ 

 


หมายเลขบันทึก: 246350เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท