ห้องเรียนในแบบของการเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัยที่ปากพูน


ผมเห็นสภาพการเรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งเรียนรู้รายบุคคล ทีม กลุ่ม เรียนรู้การบำบัดฟื้นฟูอาการผู้ป่วยของตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น แบบชุมชนบำบัด ในวิถีชีวิต วิถีชุมชน อย่างเป็นธรรรมชาติ อย่างนี้ถือว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย

สืบเนื่องจากบันทึกนี้ครับ เข้าพบนายกคุยเรื่องศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ทำให้ผมเห็นว่าภารกิจของท่านนายก อบต.ปากพูน นั้นมีมากมายเหลือเกิน คุยกับผมยังไม่ทันได้เท่าไหร่เลย ก็มีคนมาตามว่าห้องประชุมข้างๆพร้อมแล้ว เชิญท่านนายกไปเปิดและนำเสวนาโครงการพลังสุขภาพจิต เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เป็นโครงการที่สถานีอนามัยปากพูน ร่วมมือกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช

วันนั้นทำให้ผมโชคดีที่ได้ตามท่านนายกไปนั่งในห้องประชุม ได้เห็นบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติที่สุดของผู้ป่วยจิตเวชในตำบลปากพูน ซึ่งเป็นวิธีชุมชนบำบัด

เนื่องจากที่ตำบลปากพูนเขาใช้โมเดลประเทศตำบลของ สรส.(สถาบันสร้างเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข) ที่ ดร.ทรงพล เจตนาวณิชย์ เป็น ผอ.สถาบัน วันนั้นจึงได้เห็นรัฐมนตรีจิตเวชชุมชนของตำบลปากพูนนำผู้ป่วย ญาติ มาตั้งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในเรื่องความก้าวหน้าและสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย

เดือนหนึ่งรัฐมนตรีจิตเวชชุมชนก็จะนัดหมายผู้ป่วย ญาติมาพบปะกันเอง และผู้รู้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มให้กันและกันครั้งหนึ่ง สถานที่คือสถานีอนามัยปากพูนเป็นหลัก ผู้รู้ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป วันนั้นที่ผมไปเป็นคิวของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช ทั้งอาจารย์และนักศึกษา

ผมเห็นบรรยากาศการพูดคุยกันในเวทีแล้วรู้สึกว่าออกรสออกชาติดี โดยเฉพาะช่วงที่นายก อบต.พูดอย่างเป็นกันเองกับทุกคน ผู้ป่วย ญาติ มีความหวังมีความสุข

หลังไมค์แล้ว นายกเล่าให้ผมฟังว่า ผู้ป่วยบางราย ญาติเองก็เอาไม่อยู่เมื่อตอนออกอาการอาลวาดไล่ทำร้ายคนอื่นบ้าง รื้อฝาบ้านบ้าง แต่เมื่อนายกพูด ผู้ป่วยหยุดทันที บางครั้งนายกไปไม่ได้ แต่เมื่อญาติพี่น้องของผู้ป่วยโทรศัพท์แจ้งท่านนายก ท่านนายกก็โทรศัพท์ไปคุยกับผู้ป่วยจนผู้ป่วยหยุดพฤติกรรมคลุ้มคลั่งได้ ท่านนายกบอกว่าของพรรค์นี้ต้องมีควาญ ท่านเปรียบเสมือนควาญช้างอะไรทำนองนั้น ควาญเท่านั้นที่จะพูดรู้เรื่อง นายกย้ำ

 

ผมเห็นสภาพการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทั้งเรียนรู้รายบุคคล ทีม กลุ่ม เรียนรู้วิธีบำบัดฟื้นฟูอาการผู้ป่วยของตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น แบบชุมชนบำบัด ในวิถีชีวิต วิถีชุมชน อย่างเป็นธรรรมชาติ อย่างนี้ถือว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ในความเห็นของผม ผมว่าใช่เลยเป็นรูปแบบการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

ท่านละ คิดว่าแบบนี้เป็นรูปแบบการเรียนรู้หรือการศึกษาตามอัธยาศัยได้ไหมครับ 

หมายเลขบันทึก: 245906เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ นายหัว(ครูนง)

รีบมาต้อนรับรัฐมนตรีจิตเวชชุมชน คนงานโรงบาลรายงานตัวครับผม

สวัสดี พี่บัง

วีรศักดิ์ ขันแก้ว ที่เขียนเรื่องสั้นวันก่อนที่พูดถึงนั่นนะ เพื่อนผมตอนเรียน ม.แปด ที่พัทลุงครับ คนแถวบ้านพี่บังนี่ ใช่ไหม อ้างชื่อได้เลยครับ

สวัสดีครับนายหัว ครูนง ใช่แล้วครับวีรศักดิ์ ขันแก้ว (น้องดำ)คนบ้านผม มีปนิธานอันแน่วแน่ ลาออกจากคณะทรัพฯ มอ. เพื่อเขียนหนัง หลายปีผ่าน มีผลงานหลายเล่ม บางแล้วผมก็พิสูจน์อักษรให้ ต้นฉบับหลายเรื่องได้อ่าน เป็นเพื่อนเสมือนญาติครับ

ชายบ้าและหญิงใบ้พิมพ์ครั้งที่ สามอยากแนะนำให้ลองอ่านดู มันเป็นเสียงของคนชายขอบที่คนทั่วในสังคมไม่ได้ยิน โดยเฉพาะตัวเอกคือผลพวงของ 14 ตุลาที่เป็นวีรชนในนาม แต่ความเป็นจริงคือคนบ้าที่หลายคนหลีกหนี (อ้ายกรีสอนให้ผมอ่านเรื่องแม่ของแมกซิม กอกี้ร์)ครับ

พี่บังครับ

ที่แท้พี่บังก็คือญาติของเพื่อนผมนี่เอง...สาวย่านถึงกันหมดจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท